ศบค. เผยไทยติดเชื้อ 6.4 พันราย ดับ 49 ราย จำนวนนี้มีถึง 23 ราย ไม่ได้ฉีดวัคซีน ศบค. เผย 5 จังหวัด ทิศทางตัวเลขผู้ป่วยสูง กทม.ปูพรม ตรวจสถานบันเทิงให้ได้มาตรฐานสาธารณสุข ก่อนเสนอ ศบค.ชุดใหญ่ประชุม 26 พ.ย.
22 พ.ย.2564-พญ.อภิสมัย ศรีรังสรรค์ ผู้ช่วยโฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) หรือ ศบค. แถลงสถานการณ์การแพร่ระบาดในประเทศไทยว่า พบผู้ติดเชื้อรายใหม่ 6,428 ราย เป็นการติดเชื้อในประเทศ 5,868 ราย มาจากระบบเฝ้าระวังและระบบบริการ 5,732 ราย มาจากการค้นหาเชิงรุก 133 ราย มาจากเรือนจำ 553 ราย เป็นผู้เดินทางมาจากต่างประเทศ 10 ราย ทำให้มียอดผู้ติดเชื้อสะสมยืนยันตั้งแต่ปี 2563 จำนวน 2,071,009 ราย หายป่วยเพิ่มขึ้น 7,882 ราย ทำให้มียอดหายป่วยสะสมตั้งแต่ปี 2563 จำนวน 1,964,805 ราย อยู่ระหว่างรักษา 85,768 ราย อาการหนัก 1,595 ราย ใส่ท่อช่วยหายใจ 382 ราย เสียชีวิตเพิ่มขึ้น 49 ราย เป็นชาย 29 ราย หญิง 20 ราย เป็นผู้เสียชีวิตที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป 35 ราย มีโรคเรื้อรัง 11 ราย เด็กอายุ 14 ปี เสียชีวิต 1 ราย ที่ จ.ปัตตานี เป็นผู้ไม่เคยได้รับวัคซีน 23 ราย พบผู้เสียชีวิตมากสุดอยู่ใน กทม. 6 ราย ทำให้มียอดผู้เสียชีวิตสะสมตั้งแต่ปี 2563 จำนวน 20,436 ราย ขณะที่สถานการณ์โลก มียอดผู้ติดเชื้อสะสม 257,821,964 ราย เสียชีวิตสะสม 5,167,773 ราย
สำหรับยอดผู้ได้รับวัคซีนของประเทศไทยเมื่อวันที่ 21 พ.ย. มีการฉีดวัคซีนเพิ่มเติม 185,639 โดส รวมยอดฉีดวัคซีนสะสมตั้งแต่วันที่ 28 ก.พ.ทั้งสิ้น 88,989,235 โดส เป็นที่น่าสังเกตว่ามีถึง 10 จังหวัดที่ฉีดวัคซีนเข็มที่หนึ่งครอบคลุมประชากรไม่ถึงร้อยละ 50 ได้แก่ นครพนม หนองบัวลำภู สกลนคร บึงกาฬ กาฬสินธุ์ ยโสธร แม่ฮ่องสอน สุรินทร์ ร้อยเอ็ด สมุทรสาคร ส่วนจังหวัดที่มีการฉีดวัคซีนเข็มที่หนึ่งในกลุ่มผู้สูงอายุและมีโรคเรื้อรังน้อยที่สุด ได้แก่ แม่ฮ่องสอน นครนายก ราชบุรี สุพรรณบุรี ปัตตานี ขอนแก่น กาญจนบุรี ลพบุรี สระบุรี อ่างทอง จึงขอให้จังหวัดเหล่านี้เร่งระดมฉีดวัคซีนให้เพิ่มขึ้น
ส่วน 10 จังหวัดที่มีผู้ติดเชื้อสูงสุดวันที่ 22 พ.ย. ได้แก่ กทม. 815 ราย สงขลา 457 ราย นครศรีธรรมราช 438 ราย ราชบุรี 289 ราย สุราษฎร์ธานี 280 ราย เชียงใหม่ 240 ราย ปัตตานี 194 ราย สมุทรปราการ 164 ราย ชลบุรี 150 ราย ยะลา 146 ราย ทั้งนี้ ต้องจับตาจังหวัดที่มีผู้ติดเชื้อเกินร้อยและมีทิศทางสูงขึ้นคือ เชียงใหม่ รวมถึงจังหวัดที่มีผู้ติดเชื้อไม่ถึงร้อย แต่มีทิศทางการติดเชื้อสูงขึ้น ได้แก่ เชียงราย ลำพูน พิษณุโลก และสิงห์บุรี ขณะที่คลัสเตอร์ที่ต้องจับตาคือ งานบุญ ที่ยังมีพบอยู่ใน จ.ร้อยเอ็ด ซึ่งเป็นงานทอดกฐิน คลัสเตอร์งานศพพบที่ จ.กาญจนบุรี อุดรธานี คลัสเตอร์แคมป์คนงานพบที่ จ.สระแก้ว ขอนแก่น ลำพูน เชียงใหม่ คลัสเตอร์โรงเรียนพบที่ จ.อุบลราชธานี สุราษฎร์ธานี ขณะที่ กทม.ยังพบคลัสเตอร์โรงงาน ตลาด สถานประกอบการ
พญ.อภิสมัย กล่าวว่า ช่วงสัปดาห์นี้ กทม.จะลงพื้นที่ตรวจสอบและกำกับสถานบริการ สถานประกอบการคล้ายสถานบริการ สถานบันเทิง ผับ บาร์ คาราโอเกะ ที่มีการลงทะเบียนไว้ทั้งสิ้น 1,443 แห่ง โดยสำรวจไปแล้ว 975 แห่ง จึงขอให้ผู้ประกอบการที่ยังไม่ได้ลงทะเบียนไว้กับ กทม. ให้รีบลงทะเบียนและให้เข้าไปตรวจสอบข้อมูลการปฏิบัติตัวในเว็บไซต์ไทยสตอปโควิด 2พลัส เพื่อศึกษาวิธีการและปฏิบัติตามมาตรการสาธารณสุข เพื่อให้ได้รับมาตรฐาน ถ้าจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนหรือปรับปรุงสถานที่จะคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดเข้าไปดูแลทำให้เหมาะสมเพื่อให้ได้มาตรฐาน SHA+ ต่อไป และสิ่งที่ดำเนินการได้ง่ายที่สุดในตอนนี้คือ สำรวจบุคลากร หากพบยังไม่ฉีดวัคซีนก็ให้เร่งดำเนินการ กรณีรับบุคลากรใหม่ให้สอบถามเรื่องการฉีดวัคซีนเพื่อให้ได้รับวัคซีนสองเข็มอย่างทั่วถึง นอกจากนี้ ในวันศุกร์ที่ 26 พ.ย.จะมีการประชุม ศบค.ชุดใหญ่ โดยให้จับตาว่าจะมีมาตรการใดที่เกิดขึ้นบ้าง
“ในที่ประชุม ศปก.ศบค. ซึ่งมีจังหวัดนำร่องท่องเที่ยวเข้าร่วมประชุม โดยมีการรายงานข้อขัดข้องในการดำเนินการเปิดประเทศที่ผ่านมา อันดับแรกพบว่านักท่องเที่ยวบางรายไม่ปฏิบัติตามมาตรการทางสาธารณสุขของประเทศไทย ส่วนใหญ่คือ การปฏิเสธสวมหน้ากากผ้า หน้ากากอนามัย รวมกลุ่มสังสรรค์รับประทานอาหารร่วมกัน นำไปสู่การติดเชื้อ ต้องขอบคุณสถานประกอบการและโรงแรม ที่ได้รายงานเข้ามายังศบค. และเจ้าหน้าที่ช่วยเป็นตัวแทนประเทศไทย ช่วยสังเกตความผิดปกติ การไม่ปฏิบัติตามมาตรการ มีการตักเตือนในเบื้องต้น ขอความร่วมมือนักท่องเที่ยว จึงขอย้ำว่าภายใต้พ.ร.บ.โรคติดต่อของประเทศไทย การไม่สวมหน้ากากอนามัยในที่สาธารณะ การรวมกลุ่มทำกิจกรรมร่วมกัน ถือเป็นความผิดมีโทษปรับสูงสุด 20,000 บาท”
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
เช็กเลย! ค่าฝุ่น PM2.5 รายพื้นที่ทั่วไทย
ศูนย์สื่อสารการแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศ รายงานการติดตามตรวจสอบคุณภาพอากาศ ประจำวันที่ 16 ธันวาคม 2567 ณ 07:00 น. สรุปดังนี้
คน กทม. เกินครึ่งไม่เห็นด้วยมาตรการเก็บค่าธรรมเนียมรถติด
นย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลการสำรวจ ของประชาชน เรื่อง “สองมาตรการใหม่ คน กทม. จะเอาไง” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 27-29 พฤศจิกายน 2567 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร กระจายระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ รวมจำนวนทั้งสิ้น 1,310 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับความคิดเห็นของคนกรุงเทพมหานคร หากมีการใช้มาตรการจัดเก็บค่าธรรมเนียมการเก็บขยะและค่าธรรมเนียมรถติด
โควิดรายสัปดาห์ ป่วยนอนโรงพยาบาล 557 ราย ไม่มีผู้เสียชีวิต
ยอดผู้ติดเชื้อโควิด-19 รายสัปดาห์ ระหว่างวันที่ 1 - 7 ธันวาคม 2567 ผู้ป่วยรักษาตัวในโรงพยาบาล (รายสัปดาห์)
เช็กเลย! ค่าฝุ่น PM2.5 ทั่วประเทศ 'เหนือ-กทม.' ยังอ่วม
ศูนย์สื่อสารการแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศ รายงานการติดตามตรวจสอบคุณภาพอากาศประจำวันที่ 6 ธันวาคม 2567 ณ 07:00 น. สรุปดังนี้