เตรียมรับมืออากาศเปลี่ยนแปลง 10 วันข้างหน้า ใต้ฝนตกหนัก - อีสานเย็นลง

8 ม.ค.2566 – กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์ฝนสะสมรายวัน (ทุกๆ 24 ชม.) 10 วันล่วงหน้า ระหว่าง 8 – 17 ม.ค.66 อัพเดท 2023010712 จากศูนย์พยากรณ์อากาศระยะกลางยุโรป (ECMWF)  โดยระบุว่า วันนี้ (8 ม.ค.66)  ประเทศไทยตอนบน มีเมฆมาก อากาศจะเย็นลงเล็กน้อยในตอนเช้า ยอดดอย  ยอดภู ยังมีอากาศหนาวถึงหนาวจัด  และมีฝนเล็กน้อย บริเวณภาคอีสานตอนล่าง ภาคตะวันออก ส่วนภาคใต้ฝั่งอ่าวไทยมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง  และมีลมแรงบริเวณภาคอีสาน  คลื่นลมยังมีกำลังปานกลางถึงค่อนข้างแรง ทั้งนี้เนื่องจากมวลอากาศเย็นกำลังค่อนข้างแรง แผ่ปกคลุมลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบน 

ประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณปลายแหลมญวน ต้องระวังรักษาสุขภาพจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงในระยะนี้  

สำหรับภาคใต้ จะเริ่มมีฝนเพิ่มขึ้นได้บ้าง บริเวณภาคใต้ฝั่งตะวันออก และตอนล่าง   คลื่นลมมีกำลังแรงขึ้น ชาวเรือ ชาวประมง ต้องเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ

ทั้งนี้ใน ช่วง 9-16 ม.ค.66 มวลอากาศเย็นที่แผ่ลงมาปกคลุม จะเริ่มมีกำลังอ่อนลง  ทำให้อากาศอุ่นขึ้น  มีหมอกในตอนเช้า  และมีฝนเล็กน้อย บริเวณภาคอีสาน จากอิทธิพลของลมตะวันออกที่พัดเข้ามา ใน

ช่วง 9 – 11 ม.ค.66 และคาดว่าจะมีคลื่นกระแสลมตะวันตก เคลื่อนเข้าปกคลุมภาคเหนือ  ส่วนภาคใต้จะมีฝน/ฝนฟ้าคะนองเพิ่มขึ้น 

17 ม.ค.66 จะมีมวลอากาศเย็นจากประเทศจีนแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้ภาคอีสานมีอากาศเย็นลง  (ข้อมูลนี้อาจเปลี่ยนแปลงได้ตามข้อมูลนำเข้าใหม่ ใช้เพื่อประกอบการตัดสินใจ) เฉดสี แสดงถึงปริมาณฝนสะสมทุกๆ 24 ชม. สีฟ้าหมายถึงฝนเล็กน้อย สีแดง : ฝนตกหนัก สีชมพู: ฝนตกหนักมาก.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

อุตุฯ พยากรณ์มรสุมกำลังอ่อนลง ทั่วไทยฝนลด ยังตก 35 จังหวัด

กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้าว่า มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยเริ่มมีกำลังอ่อนลง

กรมอุตุฯ เตือน 43 จว. ยังมีฝนฟ้าคะนอง ‘กทม.’ ชุ่มฉ่ำร้อยละ 60 ของพื้นที่

กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้า มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย

อุตุฯเตือน ภาคอีสาน-ใต้ รับมือฝนตกหนัก

กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้า มรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณประเทศเวียดนามตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยยังคงมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้น