แฟ้มภาพ
4 ม.ค.2566 - ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากกรณีที่ประชุมคณะรัฐมนตรีวานนี้ (3 ม.ค.) ในช่วงท้ายของการประชุมมีการพิจารณาวาระลับ เรื่องการพัฒนาพื้นที่ทับซ้อนไทย – กัมพูชา โดยพล.อ.ประวิตร วงศ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ได้นำวาระเรื่องนี้เข้ามาหารือใน ครม. โดยการประชุมในวาระนี้ใช้เวลาประมาณ 20 นาที และได้มีการเชิญผู้ที่ไม่เกี่ยวข้องออกนอกที่ประชุม ครม. โดยเมื่อเดือนธ.ค.65 พล.อ.ประวิตร ในฐานะประธาน JTC ไทย-กัมพูชา (ฝ่ายไทย) ได้หารือกับ นายซุย แซม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเหมืองแร่และพลังงานกัมพูชา ในฐานะประธาน JTC ไทย-กัมพูชา (ฝ่ายกัมพูชา) ได้ร่วมกันผลักดันความร่วมมือพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ เพื่อสำรวจแหล่งพลังงานน้ำมันและแก๊สในพื้นที่บริเวณพื้นที่ปิโตรเลียมทับซ้อน ไทย-กัมพูชา (Overlapping Claims Area : OCA) ซึ่งทางกัมพูชายินดีที่จะร่วมมือกับฝ่ายไทยโดยใช้โครงสร้างของ คณะกรรมการร่วม (Joint Committee : JC) ระหว่างไทย -กัมพูชา เพื่อสำรวจแหล่งพลังงานในพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษ รองรับการพัฒนาทางเศรษฐกิจของทั้งสองประเทศต่อไป
ทั้งนี้มีรายงานข่าวจากฝ่ายความมั่นคง ระบุว่า ในการพูดคุยครั้งที่ผ่านมาจะไม่มีการพูดถึงเงื่อนไขเรื่องเขตแดน เพราะถ้าคุยเรื่องเขตแดนจะไปต่อไม่ได้ เพราะเรื่องเขตแดนยังทับซ้อนกันและยังตกลงกันไม่ได้ แต่เมื่อเกิดปัญหาวิกฤตพลังงานจากผลพวงสงครามรัสเซีย-ยูเครนและอีกหลายปัจจัย ทำให้เราต้องดึงเอาพลังงานที่มีอยู่ในพื้นที่มาใช่ร่วมกัน โดยที่ประชนทั้งสองประเทศได้ประโยชน์ร่วมกัน โดยมี 4 เงื่อนไขสำคัญ ได้แก่
1) รัฐบาลเห็นชอบร่วมกัน และต้องประกาศใช้ประชาชนเข้าใจ ไม่ขัดแย้งกันเอง 2)ต้องให้สภาฯให้ความเห็นชอบร่วมกันทั้ง 2 ประเทศ 3) ไม่ขัดต่อกฎหมายระหว่างประเทศ 4)ต้องใช้ประโยชน์ร่วมกัน เช่นแบ่งกันคนละครึ่ง
“อันนี้ก็เป็นส่วนหนึ่งที่เราคุยกันไว้ในเรื่องพลังงาน เปรียบเหมือนมีเงินในกระเป๋า แต่ไม่สามารถเอาออกมาใช้ได้ อันนี้ถือว่าไม่ใช่ความสามารถของรัฐบาล ดังนั้นความสามารถของรัฐบาลก็คือมีเงินอยู่ในกระเป๋าแล้วเอาออกมาใช้ได้ เพราะฉะนั้นข้อตกลงที่เราคุย จากนี้ไปก็จะมีการประชุมหารือตั้งคณะทำงานร่วมกัน หลังเอามาเข้าประชุมวงเล็กในที่ประชุม ครม. วานนี้ (3ม.ค.) สำหรับหน่วยงานที่ต้องขับเคลื่อนหลัก เช่น กระทรวงการต่างประเทศ เพราะเป็นเรื่องเส้นเขตแดนเพราะเป็นพื้นที่ทับซ้อน , กระทรวงพลังงาน เพราะเป็นเรื่องวิกฤตพลังงานที่เกิดขึ้น เป็นต้น” แหล่งข่าวฝ่ายความมั่นคง ระบุ
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'ภูมิธรรม' แบ่งงาน 'บิ๊กแป๊ะ-บิ๊กรอย-สุรสิทธิ์-ธิติรัฐ' ลุยงานมั่นคง
นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม ได้นำนายธิติรัฐ อดิศรพันธ์กุล รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ฝ่ายการเมืองของนายภูมิธรรม พล.ต.อ.รอย อิงคไพโรจน์ ที่ปรึกษารองนายกฯ
‘แม้ว’ หวง ‘MOU44’
“ทักษิณ” เหน็บคนไม่รู้เอ็มโอยู 44 คืออะไร แต่ขอตีไว้ก่อน ไม่เห็นมีอะไรให้ตื่นเต้น ยันสนิทกับฮุน เซน สมัยเผาสถานทูต แต่ผลประโยชน์ประเทศต้องมาก่อน
'ทักษิณ' เมินโดนขุด MOU 44 มาโจมตีรัฐบาล บอกไม่มีอะไรน่าตื่นเต้น
นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ถึงกรณี MOU 2544 ว่าด้วยพื้นที่อ้างสิทธิทับซ้อนทางทะเลไทย-กัมพูชา หรือ เอ็มโอยู 44 ที่ถูก หยิบยกขึ้นมาเป็นประเด็นอีกครั้ง
‘อดีตรองหน.เพื่อไทย’ เตือนสติ ‘ไว้ใจ-ศรัทธา’ คือพื้นฐานเสถียรภาพความมั่นคงรัฐบาล
สามารถ แก้วมีชัย อดีตรองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย เตือนสติรัฐบาล
โฆษก มท. แจงมติครม.เร่งแก้ปัญหาคนไร้สถานะทางทะเบียน 4.8 แสนราย ไม่ใช่ให้สัญชาติคนต่างด้าว
น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล เลขานุการ รมว.มหาดไทย และโฆษกกระทรวงมหาดไทย กล่าวถึงกรณีที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้มีมติอนุมัติหลักเกณฑ์เพื่อเร่งรัดการแก้ไขปัญหาสัญชาติ และสถานะให้แก่บุคคลที่อพยพเข้ามา
ครม. ไฟเขียวหลักเกณฑ์เร่งรัดแก้ปัญหาสัญชาติกว่า 4.8 แสนคน
นายจิรายุ ห่วงทรัพย์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยถึงกรณีที่สภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) เสนออนุมัติหลักเกณฑ์ เพื่อเร่งรัดให้มีการแก้ไขปัญหาสัญชาติ, สถานะของกลุ่มบุคคลที่อพยพเข้ามาในไทยเป็นเวลานาน และกลุ่มบุตรที่เกิดขึ้นในราชอาณาจักรไทย