2 ม.ค. 2566 – นางสาวนพวรรณ หัวใจมั่น โฆษกกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) ฝ่ายการเมือง เปิดเผยว่า กระทรวงดีอีเอสเดินหน้าขับเคลื่อนนโยบายการแก้ไขปัญหาข่าวปลอมอย่างต่อเนื่อง โดยเป็นการทำงานบูรณาการร่วมกันกับทุกหน่วยงานราชการ ในการรับแจ้งเบาะแสจากประชาชนผ่านช่องทางต่างๆ ของศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ในช่องทางเพจเฟซบุ๊ก เว็บไซต์ ทวิตเตอร์ และ Line Official และติดตามการสนทนาบนโลกออนไลน์ (Social Listening) เกี่ยวกับข่าวปลอม
โดยในรอบปี 2565 ภาพรวมผลการดำเนินการของศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม (วันที่ 1 ม.ค.2565 – 31 ธ.ค. 2565) จากการรับแจ้งเบาะแสและติดตามการสนทนาบนโลกออนไลน์เกี่ยวกับข่าวปลอม พบว่ามีข้อความข่าวที่ต้องคัดกรอง517,965,417 ข้อความ หลังจากคัดกรองพบข้อความข่าวที่ต้องดำเนินการตรวจสอบ 14,859 เรื่องแบ่งเป็น โดยหมวดหมู่นโยบายรัฐ 3,772 เรื่อง ตามมาด้วย หมวดหมู่สุขภาพ 2,344 เรื่อง หมวดหมู่เศรษฐกิจ 634 เรื่อง และหมวดหมู่ภัยพิบัติ 450 เรื่อง
สำหรับข่าวปลอม และข่าวบิดเบือนที่มีการแชร์วนซ้ำบ่อยที่สุดในรวม 10 ลำดับในรอบปี 2565 ได้แก่
อันดับ 1 เรื่อง เคี้ยวเม็ดมะละกอสุกแล้วกลืนโดยไม่ต้องกินน้ำตาม วันละ 3 เม็ด รักษามะเร็งระยะสุดท้าย เห็นผลใน 1 เดือน
อันดับ 2 เรื่องปรากฏการณ์ APHELION (อะฟี’ลิอัน) โลกจะอยู่ไกลจากดวงอาทิตย์ ระยะทาง 5 นาทีแสง หรือ 90,000,000 กิโลเมตร
อันดับ 3 เรื่อง อย. แพ้คดี หลังไฟเซอร์ถูกบังคับให้เปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับผลข้างเคียงของวัคซีน
อันดับ 4 เรื่องกสทช. โทรแจ้งประชาชนขอระงับสัญญาณเบอร์โทรศัพท์ และจะติดแบล็คลิสต์ไม่สามารถเปิดเบอร์ใหม่ได้
อันดับ 5 เรื่องหากสแกน QR Code จากใบนัดนำจ่ายสิ่งของส่งทางไปรษณีย์ สามารถถูกดูดเงินในบัญชีได้
อันดับ 6 เรื่องวันที่ 22 – 28 ส.ค.65 จะเกิดพายุ 9 ลูกพร้อมกัน และล้อมประเทศไทยจนทำให้น้ำท่วมกรุงเทพฯ
อันดับ 7 เรื่องยาพาราเซตามอลมีส่วนผสมของไวรัสแมคชูโป
อันดับ 8 เรื่อง สธ. เตือนไข้หวัดใหญ่ครั้งนี้มีความร้ายแรงมาก ให้งดการเดินทาง และกิจกรรมทุกประเภท
อันดับ 9 เรื่องควรหยุดฉีดวัคซีนโควิด 19 เพราะจะทำให้เสียชีวิตได้
อันดับ 10 เรื่องผลิตภัณฑ์ N DRO CARE MOUTH SPRAY ต้านไวรัส แบคทีเรียและเชื้อโรค ปกป้องไข้หวัด ลดการอักเสบ และดักจับเชื้อไวรัสก่อนลงปอด
ดังนั้น ขอเชิญชวนประชาชนในการทำงานร่วมกับรัฐบาล และศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม เพื่อช่วยกันแก้ปัญหาข่าวปลอม เมื่อได้รับข่าวสารข้อมูลผ่านโซเชียล ควรตรวจสอบให้รอบด้าน เลือกเชื่อ เลือกแชร์ โดยขอความร่วมมือไม่ส่งหรือแชร์ข่าวปลอมต่างๆต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่างๆ เพราะจะสร้างความตื่นตระหนก และความเสียหายต่อส่วนรวม และสามารถติดตามและแจ้งเบาะแสข่าวปลอมได้ผ่านช่องทางต่างๆ ของศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ดังนี้ LINE @antifakenewscenter เว็บไซต์ https://www.antifakenewscenter.com/ ทวิตเตอร์ https://twitter.com/AFNCThailand และช่องทางโทรศัพท์โทรสายด่วน GCC 1111 ต่อ 87.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ทัวร์ลงหนักมาก! เพจวอชด็อก ปั่นเฟกนิวส์ ถูกถล่มตายคาบ้าน
เพจมูลนิธิวอชด็อก ไทยแลนด์ Watchdog Thailand Foundation - WDT โพสต์ข้อความอ้างว่า #ความจริงของช้างในสิ่งที่คนไทยส่ว
สั่งศูนย์ต้านเฟกนิวส์ สอบเพจรับบริจาคเงินช่วยเหตุบัสไฟไหม้
'ประเสริฐ' สั่งศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ตรวจสอบเพจเปิดรับบริจาคเงินช่วยนักเรียนบัสมรณะ ขอประชาชนอย่าหลงเชื่อตกเป็นเหยื่อมิจฉาชีพ
'ศปช.' สยบลือว่อนเนต! ยันไม่มีพายุใหญ่ถล่มไทย ทำน้ำท่วมหนักซ้ำปี 54
'ศปช.' สยบข่าวลือว่อนเนต พายุขนาดใหญ่ถล่มไทยเหมือนปี 54 ไม่เป็นความจริง ขออย่าแชร์ต่อ เผยสัปดาห์หน้าไทยหลายพื้นที่เข้าสู่ปลายฝนต้นหนาวแล้ว
กรมอุตุฯ สยบเฟกนิวส์ ยืนยันพายุโซนร้อน 'ซีมารอน' ไม่กระทบไทย
กรมอุตุนิยมวิทยา ชี้แจงกรณีข่าวลือที่เผยแพร่ผ่านทางโซเชี่ยลเน็ตเวิร์คในขณะนี้ว่า พายุโซนร้อนซีมารอน (Cimaron) ซึ่งอยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิกตอนนี้ คาดว่าจะเคลื่อนขึ้นไปทางตอนใต้ของประเทศญี่ปุ่
'ปกรณ์วุฒิ' ข้องใจ 'ดีอี' จัดงบซ้ำซ้อน ปภ. ทำระบบเตือนภัยผ่านมือถือ
นายปกรณ์วุฒิ อุดมพิพัฒน์สกุล สส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาชน (ปชน.) อภิปรายว่า แม้ตนจะเคยอภิปรายไว้ในวาระ 1 แล้วว่างบประมาณในส่วนของโครงการแจ้งเตือนฉุกเฉินแห่งชาติหรือเซลล์บรอดแคสต์ ซ้ำซ้อนกับกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) ของกระทรวงมหาดไทย