นิด้าโพล เผยผลสำรวจ 'ปิดผับตี 4' ปปช.ส่วนใหญ่ ระบุปิดเวลา 02.00 น. เหมาะสมดีอยู่แล้ว เพราะเป็นเวลาที่ไม่ดึกมากจนเกินไป ควรอนุญาตปิดเวลา 04.00 น. เฉพาะเมืองท่องเที่ยวยอดนิยมของชาวต่างชาติ ช่วยสร้างรายได้จากการท่องเที่ยวในช่วงเศรษฐกิจชะลอตัว
30 ธ.ค.2565 - ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจของประชาชน เรื่อง “ปิดผับตี 4” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 23-27 ธันวาคม 2565 จากประชาชนที่มีอายุ 20 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ ทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,310 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับแนวคิดการขยายเวลาปิดสถานบันเทิง เฉพาะเมืองท่องเที่ยวยอดนิยมของชาวต่างชาติ จากเวลา 02.00 น. ออกไปเป็นเวลา 04.00 น. จากการสำรวจเมื่อถามถึงการเที่ยวสถานบันเทิงยามค่ำคืนของประชาชน พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 58.17 ระบุว่า ไม่เคยไป ขณะที่ ร้อยละ 41.83 ระบุว่า เคยไป
เมื่อถามผู้ที่เคยไป (จำนวน 548 หน่วยตัวอย่าง) ถึงความถี่ในการเที่ยวสถานบันเทิงยามค่ำคืน ในช่วง 1 ปี ที่ผ่านมา พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 56.57 ระบุว่า ไม่เคยไปเลย รองลงมา ร้อยละ 29.56 ระบุว่า มีบ้างแล้วแต่โอกาส/เทศกาล ร้อยละ 6.39 ระบุว่า เดือนละครั้ง ร้อยละ 3.83 ระบุว่า เกือบทุกวัน (3-5 วัน/สัปดาห์) ร้อยละ 2.74 ระบุว่า อาทิตย์ละวัน และร้อยละ 0.91 ระบุว่า ทุกวัน (7 วัน/สัปดาห์)
ด้านความคิดเห็นของประชาชนต่อแนวคิดที่จะขยายเวลาปิดสถานบันเทิง เฉพาะเมืองท่องเที่ยวยอดนิยมของชาวต่างชาติ เช่น กรุงเทพฯ ภูเก็ต พัทยา เชียงใหม่ เป็นต้น จากเวลา 02.00 น. ออกไปเป็นเวลา 04.00 น. โดยภาพรวม พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 48.62 ระบุว่า ปิดสถานบันเทิง เวลา 02.00 น. เหมาะสมดีอยู่แล้ว เพราะ เป็นเวลาที่ไม่ดึกมากจนเกินไป ขณะที่บางส่วนระบุว่า ไม่เป็นการรบกวนเวลาพักผ่อนของผู้ที่พักอาศัยอยู่ใกล้กับสถานบันเทิง รองลงมา ร้อยละ 26.26 ระบุว่า ควรอนุญาตปิดสถานบันเทิง เวลา 04.00 น. เฉพาะเมืองท่องเที่ยวยอดนิยมของชาวต่างชาติ เพราะ เป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยว ช่วยสร้างรายได้จากการท่องเที่ยวให้กับประเทศ และเป็นการช่วยเหลือผู้ประกอบกิจการสถานบันเทิงที่ได้รับผลกระทบช่วงการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ร้อยละ 14.35 ระบุว่า ควรจะอนุญาตปิดสถานบันเทิง เวลา 04.00 น. เหมือนกันทั่วประเทศ เพราะ ควรเป็นมาตรฐานเดียวกันทั้งประเทศ และเป็นการเพิ่มช่วงเวลาในการหารายได้ให้กับผู้ประกอบกิจการสถานบันเทิง และกลุ่มอาชีพที่เกี่ยวข้อง เช่น คนขับรถแท็กซี่ ร้อยละ 7.18 ระบุว่า ควรปิดสถานบันเทิง ก่อนเวลา 02.00 น. เพราะ เวลา 02.00 น. เป็นเวลาที่ค่อนข้างดึกจนเกินไป อาจทำให้เกิดปัญหาอาชญากรรมและอุบัติเหตุได้ง่าย ร้อยละ 3.21 ระบุว่า ไม่ควรอนุญาตให้มีสถานบันเทิงยามค่ำคืนในประเทศไทย เพราะ เวลาช่วงค่ำคืนอาจเกิดอาชญากรรมและอุบัติเหตุได้ง่าย และเป็นการส่งเสียงดังรบกวนการพักผ่อนของผู้พักอาศัยในบริเวณใกล้เคียง และร้อยละ 0.38 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่แน่ใจ
เมื่อพิจารณาเฉพาะความคิดเห็นของผู้ที่เคยไปสถานบันเทิง (จำนวน 548 หน่วยตัวอย่าง) เกี่ยวกับแนวคิดที่จะขยายเวลาปิดสถานบันเทิง เฉพาะเมืองท่องเที่ยวยอดนิยมของชาวต่างชาติ พบว่า ร้อยละ 42.52 ระบุว่า ปิดสถานบันเทิง เวลา 02.00 น. เหมาะสมดีอยู่แล้ว รองลงมา ร้อยละ 30.29 ระบุว่า ควรอนุญาตปิดสถานบันเทิง เวลา 04.00 น. เฉพาะเมืองท่องเที่ยวยอดนิยมของชาวต่างชาติ ร้อยละ 22.26 ระบุว่า ควรจะอนุญาตปิดสถานบันเทิง เวลา 04.00 น. เหมือนกันทั่วประเทศ ร้อยละ 4.20 ระบุว่า ควรปิดสถานบันเทิง ก่อนเวลา 02.00 น. และร้อยละ 0.73 ระบุว่า ไม่ควรอนุญาตให้มีสถานบันเทิงยามค่ำคืนในประเทศไทย
ส่วนความคิดเห็นของผู้ที่ไม่เคยไปสถานบันเทิง (จำนวน 762 หน่วยตัวอย่าง) พบว่า ร้อยละ 53.02 ระบุว่า ปิดสถานบันเทิง เวลา 02.00 น. เหมาะสมดีอยู่แล้ว รองลงมา ร้อยละ 23.36 ระบุว่า ควรอนุญาตปิดสถานบันเทิง เวลา 04.00 น. เฉพาะเมืองท่องเที่ยวยอดนิยมของชาวต่างชาติ ร้อยละ 9.32 ระบุว่า ควรปิดสถานบันเทิง ก่อนเวลา 02.00 น. ร้อยละ 8.66 ระบุว่า ควรจะอนุญาตปิดสถานบันเทิง เวลา 04.00 น. เหมือนกันทั่วประเทศ ร้อยละ 4.99 ระบุว่า ไม่ควรอนุญาตให้มีสถานบันเทิงยามค่ำคืนในประเทศไทย และร้อยละ 0.65 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่แน่ใจ
เมื่อถามถึงความมั่นใจของประชาชนต่อการขยายเวลาปิดสถานบันเทิงในเมืองท่องเที่ยวจะช่วยสร้างรายได้จากการท่องเที่ยวในช่วงเศรษฐกิจชะลอตัว โดยภาพรวม พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 27.86 ระบุว่า ค่อนข้างมั่นใจ รองลงมา ร้อยละ 26.72 ระบุว่า ไม่ค่อยมั่นใจ ร้อยละ 22.90 ระบุว่า ไม่มั่นใจเลย ร้อยละ 21.83 ระบุว่า มั่นใจมาก และร้อยละ 0.69 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ
เมื่อพิจารณาเฉพาะความคิดเห็นของผู้ที่เคยไปสถานบันเทิง (จำนวน 548 หน่วยตัวอย่าง) เกี่ยวกับความมั่นใจต่อการขยายเวลาปิดสถานบันเทิงในเมืองท่องเที่ยวจะช่วยสร้างรายได้จากการท่องเที่ยวในช่วงเศรษฐกิจชะลอตัว พบว่า ร้อยละ 30.11 ระบุว่า ค่อนข้างมั่นใจ รองลงมา ร้อยละ 27.74 ระบุว่า มั่นใจมาก ร้อยละ 22.81 ระบุว่า ไม่ค่อยมั่นใจ ร้อยละ 19.16 ระบุว่า ไม่มั่นใจเลย และร้อยละ 0.18 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ ส่วนความคิดเห็นของผู้ที่ไม่เคยไปสถานบันเทิง (จำนวน 762 หน่วยตัวอย่าง) พบว่า ร้อยละ 29.53 ระบุว่า ไม่ค่อยมั่นใจ รองลงมา ร้อยละ 26.25 ระบุว่า ค่อนข้างมั่นใจ ร้อยละ 25.59 ระบุว่า ไม่มั่นใจเลย ร้อยละ 17.58 ระบุว่า มั่นใจมาก และร้อยละ 1.05 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ
ท้ายที่สุดเมื่อถามถึงความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับการตั้งด่านตรวจเมาแล้วขับ พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 49.54 ระบุว่า จำนวนด่านตรวจเมาแล้วขับปัจจุบันเหมาะสมดีแล้ว รองลงมา ร้อยละ 40.99 ระบุว่า ควรเพิ่มจำนวนด่านตรวจเมาแล้วขับ ร้อยละ 8.32 ระบุว่า ควรลดจำนวน ด่านตรวจเมาแล้วขับ ร้อยละ 1.07 ระบุว่า ควรยกเลิกด่านตรวจเมาแล้วขับทั้งหมด และร้อยละ 0.08 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ
เมื่อพิจารณาเฉพาะความคิดเห็นของผู้ที่เคยไปสถานบันเทิง (จำนวน 548 หน่วยตัวอย่าง) เกี่ยวกับการตั้งด่านตรวจเมาแล้วขับ พบว่า ร้อยละ 51.83 ระบุว่า จำนวนด่านตรวจเมาแล้วขับปัจจุบันเหมาะสมดีแล้ว รองลงมา ร้อยละ 37.04 ระบุว่า ควรเพิ่มจำนวนด่านตรวจเมาแล้วขับ ร้อยละ 10.04 ระบุว่า ควรลดจำนวนด่านตรวจเมาแล้วขับ และร้อยละ 1.09 ระบุว่า ควรยกเลิกด่านตรวจเมาแล้วขับทั้งหมด ส่วนความคิดเห็นของผู้ที่ไม่เคยไปสถานบันเทิง (จำนวน 762 หน่วยตัวอย่าง) พบว่า ร้อยละ 51.83 ระบุว่า จำนวนด่านตรวจเมาแล้วขับปัจจุบันเหมาะสมดีแล้ว พบว่า ร้อยละ 47.90 ระบุว่า จำนวนด่านตรวจเมาแล้วขับปัจจุบันเหมาะสมดีแล้ว รองลงมา ร้อยละ 43.83 ระบุว่า ควรเพิ่มจำนวนด่านตรวจเมาแล้วขับ ร้อยละ 7.09 ระบุว่า ควรลดจำนวนด่านตรวจเมาแล้วขับ ร้อยละ 1.05 ระบุว่า ควรยกเลิกด่านตรวจเมาแล้วขับทั้งหมด และร้อยละ 0.13 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
โพลชี้ ปี 67 คนเหนื่อยหน่าย ‘รายได้ต่ำ-เศรษฐกิจตก’
ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ หรือ นิด้า เปิดเผยผลการสำรวจ ของประชาชน เรื่อง “เหนื่อยหน่ายกับอะไรบ้าง ในปี 2567 ที่ผ่านมา”
คน กทม. เกินครึ่งไม่เห็นด้วยมาตรการเก็บค่าธรรมเนียมรถติด
นย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลการสำรวจ ของประชาชน เรื่อง “สองมาตรการใหม่ คน กทม. จะเอาไง” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 27-29 พฤศจิกายน 2567 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร กระจายระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ รวมจำนวนทั้งสิ้น 1,310 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับความคิดเห็นของคนกรุงเทพมหานคร หากมีการใช้มาตรการจัดเก็บค่าธรรมเนียมการเก็บขยะและค่าธรรมเนียมรถติด
ผลโพลสูสี คนอยากแก้ กับ ไม่อยากแก้ 'รธน.' มีใกล้เคียงกัน
ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลการสำรวจของประชาชน เรื่อง “ประชามติและการแก้ไขรัฐธรรมนูญ” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 2-3 ธันวาคม 2567 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ ทั่วประเทศ
‘เทพไท’ สะท้อนประสบการณ์ตรง ‘ยุบพรรค-ตัดสิทธิ์การเมือง’ ทำได้แค่ไหน
ในฐานะผู้มีประสบการณ์ตรง และถูกศาลอาญาพิพากษาตัดสิทธิ์ทางการเมือง 10 ปี จนถูกคณะกรรมการเลือกตั้ง(กกต.) ห้ามใช้สิทธิ์ลงคะแนนเลือกตั้งในทุกกรณี
'นิด้าโพล' ชี้ประชาชน กว่า 61% ไม่เห็นด้วยกับโทษยุบพรรค ในคดีล้มล้างการปกครอง
ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลการสำรวจของประชาชน เรื่อง “ยุบพรรค ตัดสิทธิทางการเมือง” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 25-26 พฤศจิกายน 2567 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ ทั่วประเทศ
โพลชี้คนเกินครึ่งไม่เข้าใจ MOU44 - เกาะกูด
นิด้าโพลเผยผลสำรวจประเด็น MOU 44 และเกาะกูด พบว่าประชาชนไม่เข้าใจเลย สูงถึง 58.86% และส่วนใหญ่ไม่ต้องการเข้าใจข้อโต้แย้งและสถานการณ์ที่ชัดเจน ส่วนคนที่เข้าใจมากและค่อนข้างเข้าใจ ชี้ 1 ใน 3 ไม่ไว้วางใจรัฐบาลปกป้องผลประโยชน์ของชาติได้