มธ.คว้ารางวัล FRIENDLY DESIGN AWARD 2022 มุ่งสู่ มหาวิทยาลัยของประชาชนเพื่อคนทั้งมวล

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ‘สถาบันการศึกษาเพื่อคนทั้งมวล’ คว้ารางวัล ‘Friendly Design Award 2022’ จากมหกรรมอารยสถาปัตย์ฯ ระดับชาติ เป็นครั้งที่ 5 ติดต่อกัน

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คว้ารางวัล “Friendly Design Award 2022” จากมหกรรมอารยสถาปัตย์และนวัตกรรมสุขภาพเพื่อคนทั้งมวล ครั้งที่ 6 (Thailand Friendly Design Expo 2022) เมื่อวันที่ 15 ธ.ค. 2565 ในประเภท “สถาบันการศึกษาเพื่อคนทั้งมวล” ในฐานะสถาบันการศึกษาที่มีความโดดเด่นด้านการส่งเสริมและสร้างอารยสถาปัตย์ เพื่อให้ทุกคนสามารถเข้าถึง และใช้ประโยชน์ได้อย่างเท่าเทียม เป็นมิตรกับคนทั้งมวล โดยนับเป็นปีที่ 5 ติดต่อกันที่ได้รับรางวัลดังกล่าว รวมถึง รศ.ดร.ชุมเขต แสวงเจริญ รองอธิการบดีฝ่ายบริหารศูนย์รังสิตด้านกายภาพ ยังได้รับรางวัลประเภท "คนต้นแบบ ฑูตอารยสถาปัตย์” เป็นครั้งที่ 6 ติดต่อกันอีกด้วย

รศ.ดร.ชุมเขต แสวงเจริญ รองอธิการบดีฝ่ายบริหารศูนย์รังสิตด้านกายภาพ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) เปิดเผยว่า ในปี 2565 ที่ผ่านมาภายในมหาวิทยาลัย ได้มีการปรับปรุงพื้นที่ทางกายภาพ โดยปรับปรุงทางลาดกว่า 100 จุด เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้ที่ใช้รถเข็นวีลแชร์ รวมถึงยกระดับรถโดยสารไฟฟ้า (EV Bus) ทั้งหมดให้ผู้พิการสามารถเข้าถึงได้ ควบคู่ไปกับการสร้างแอปพลิเคชัน TU Around เพื่อให้นักศึกษาที่มีความพิการทางการมองเห็นตรวจสอบจุดจอดรถตามป้ายผ่านแอปฯ

นอกจากนี้ ธรรมศาสตร์ยังได้พัฒนานวัตกรรมเพื่อสร้างความเท่าเทียมให้กับสังคมไทยผ่านการออกแบบ สิ่งประดิษฐ์ ตลอดจนนวัตกรรมทางสังคมที่สร้างขึ้นมาเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตให้คนทุกกลุ่ม และลดความเหลื่อล้ำทางสังคม เช่น บ้านแสนอยู่ดีสำหรับผู้สูงอายุที่มีความพิการ ของหน่วยวิจัยและออกแบบเพื่อคนทั้งมวล โถปัสสาวะชายเคลื่อนที่ แบบจำกัดกลิ่น จากคณะพยาบาลศาสตร์ รถเข็นไฟฟ้าเพื่อผู้พิการทางขา ผลงานจากคณะวิศวกรรมศาสตร์

รศ.ดร.ชุมเขต กล่าวต่อไปว่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องการสร้างรายได้ และอาชีพสำหรับผู้พิการ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้คนกลุ่มนี้ก้าวพ้นจากความยากลำบากได้ ทางคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง และหน่วยวิจัยและออกแบบเพื่อคนทั้งมวล ซึ่งได้เล็งเห็นในส่วนนี้จึงได้ออกแบบซุ้มอาชีพ หรือคีออส (Kiosk) สำหรับผู้พิการที่ต้องนั่งรถวีลแชร์ให้สามารถเข้าไปขายของได้ โดยจะมีสัดส่วน และรูปแบบที่รองรับการใช้งานสำหรับคนกลุ่มนี้โดยเฉพาะ เพื่ออำนวยความสะดวกในการประกอบอาชีพในพื้นที่จำกัด

“ถือเป็นการเชื่อมโยงกันระหว่างนโยบายของภาครัฐที่อยากจะจ้างงานกับภาคเอกชนที่อยากจะส่งเสริมให้เกิดอาชีพของคนพิการ แล้วก็ในส่วนของเราก็คือผู้ออกแบบที่จะให้บริการวิชาการ จนได้การออกแบบที่ใช้งานได้จริงเป็นรูปธรรม” รศ.ดร.ชุมเขต กล่าว

รศ.เกศินี วิฑูรชาติ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) กล่าวว่า สำหรับสิ่งที่ทำให้ธรรมศาสตร์คว้ารางวัลนี้มาได้อย่างสม่ำเสมอ เป็นเพราะความเข้าใจ และมีจุดมุ่งหมายร่วมกันของบุคลากรทุกระดับในการจะสร้างพื้นที่ที่ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง จึงนำไปสู่การกำหนดในเชิงนโยบายของมหาวิทยาลัยที่ตั้งเป้าหมายไว้ว่าจะเป็นพื้นที่แห่งอนาคตเพื่อคนทั้งมวล (Future Workplace) รวมถึงการสร้างการมีส่วนร่วมกับนักศึกษาที่มีความพิการด้วยการรับฟังความต้องการ หรือปัญหาที่พวกเขาต้องประสบในมหาวิทยาลัย เพื่อที่จะพัฒนาพื้นที่ให้ตอบโจทย์ได้อย่างเกิดประโยชน์สูงสุดกับทุกคน

รศ.เกศินี กล่าวอีกว่า ฐานคิดเหล่านี้ยังมีส่วนทำให้เกิดการต่อยอดสร้างสรรค์นวัตกรรมต่างๆ เพื่อรับใช้สังคม และประเทศชาติ ซึ่งสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDG) ที่ 10 ในเรื่องการลดความไม่เสมอภาคภายในประเทศและระหว่างประเทศ (Reduce inequality within among countries) ด้วย

“เมื่อกระบวนการเหล่านี้มาผสมผสานกัน ทำให้ 5 ปีที่ผ่านมาเราสามารถขับเคลื่อนในเรื่องนี้ได้อย่างก้าวกระโดด รวมถึงมีความต่อเนื่องและยั่งยืน ก้าวไปสู่การเป็นมหาวิทยาลัยเพื่อประชาชนของคนทั้งมวล” อธิการบดี มธ. กล่าว

ทั้งนี้ รศ.ดร.ชุมเขต แสวงเจริญ รองอธิการบดีฝ่ายบริหารศูนย์รังสิตด้านกายภาพ ยังได้รับรางวัล ‘Friendly Design Awards 2022’ ประเภท "คนต้นแบบ ฑูตอารยสถาปัตย์" จากมหกรรมอารยสถาปัตย์และนวัตกรรมสุขภาพเพื่อคนทั้งมวล ครั้งที่ 6 อีกด้วย

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

นักวิชาการ มธ. แนะมาตรการรับมือสาธารณภัยในชุมชนเมืองเก่า

นักวิชาการธรรมศาสตร์ แนะท้องถิ่น-สำนักงานเขต สำรวจข้อมูลใหม่ทุก 5 ปี “สร้างคลังข้อมูลเกี่ยวกับการตั้งถิ่นฐาน” เพื่อเตรียมทรัพยากร วางแผนรับมือเหตุฉุกเฉิน-ภัยพิบัติ หากไม่สามารถแก้ผังเมือง-โครงสร้าง-กรรมสิทธิ์ที่ดิน

90 ปี สถาปนาธรรมศาสตร์ ก้าวสู่ 'มหาวิทยาลัยสมบูรณ์แบบชั้นนำเพื่อสังคมแห่งอนาคต'

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จัดงานสถาปนามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ครบรอบปีที่ 90 พร้อมมอบรางวัลเข็มเกียรติยศ ให้แก่ “อาคม เติมพิทยาไพสิฐ” อดีต รมว.คลัง และ อดีต รมว.คมนาคม ในฐานะผู้ประกอบคุณงามความดีต่อสังคมและประเทศชาติ ขณะที่

นักวิชาการธรรมศาสตร์ ระบุ สว. ชุดใหม่ คือผู้กำหนดภูมิทัศน์การเมืองไทยไปอีก 5 ปี

อาจารรัฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์ ระบุ สว. ชุดใหม่ ยังมีอำนาจมากเกินไป และจะเป็นผู้กำหนดภูมิทัศน์การเมืองประเทศในอีก 5 ปีข้างหน้า

มธ. จัดเสวนารุมสับระบบเลือก สว.ชุดใหม่ เป็นปัญหามากที่สุด ซับซ้อน ทำให้งงอย่างจงใจ

ศูนย์นิติศาสตร์ จัดเสวนาวิชาการ “การเลือก สว. และประชามติรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ กับอนาคตประชาธิปไตยไทย” เนื่องในงานรำลึก 32 ปี พฤษภาประชาธรรม 2535

'ธรรมศาสตร์' เตือน! อย่าตกเป็นเหยื่อมิจฉาชีพ

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) แจ้งเตือนบุคลากร นักศึกษา ศิษย์เก่า ประชาคมธรรมศาสตร์ และประชาชน ระวังตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพ ขณะนี้พบพฤติกรรมของมิจฉาชีพแอบอ้างว่าเป็น “เจ้าหน้าที่กอง

สำรวจบาดแผล 'เด็ก' ในยุคที่กลายมาเป็น 'คอนเทนต์' ของผู้ใหญ่

นักวิชาการธรรมศาสตร์ ชวนสำรวจบาดแผล ‘เด็ก’ ในยุคที่ต้องกลายมาเป็น ‘คอนเทนต์’ เพราะความเปราะบางของเนื้อหาจะทิ้งร่องรอยความบอบช้ำไว้เสมอ