ศูนย์สัตว์ป่าบึงฉวาก เร่งช่วย ธันวา ลูกช้างป่าพลัดหลง ป่วยและบาดเจ็บ
18 ธ.ค. 2565 – นายอนันต์ ศรีผุดผ่อง หัวหน้าเขตห้ามล่าสัตว์ป่าบึงฉวาก และศูนย์พัฒนาจัดการสัตว์ป่าบึงฉวาก และ สพญ.ณฐนน ปานเพ็ชร นายสัตวแพทย์ปฏิบัติการ เขตห้ามล่าสัตว์ป่าบึงฉวาก และศูนย์พัฒนาการจัดการสัตว์ป่าบึงฉวาก รายงานผู้บังคับบัญชาเพื่อโปรดทราบ ในการดูแลรักษาช่วยเหลือลูกช้างป่าพลัดหลง มีอาการป่วย และบาดเจ็บ ชื่อ ธันวา เพศเมีย ภายใต้การกำกับการของสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 3 (บ้านโป่ง) และกลุ่มงานจัดการสุขภาพสัตว์ป่า สำนักอนุรักษ์สัตว์ป่า วันที่ 18 ธันวาคม 2565 เขตห้ามล่าสัตว์ป่าบึงฉวาก และศูนย์พัฒนาการจัดการสัตว์ป่าบึงฉวาก
สำหรับการดูแลลูกช้างป่าพลัดหลง เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2565 เวลา 06.00-24.00 น. รายละเอียดมีดังนี้
1.ถ่ายอุจจาระเหลวเป็นเนื้อครีม สีปกติ ปัสสาวะปกติ
2.ทำการให้สารน้ำเข้าทางก้น ป้อนน้ำ และเกลือแร่ให้ถี่ขึ้น ไม่สามารถให้สารน้ำเข้าทางหลอดเลือดดำบริเวณใบหูได้ เนื่องจากการให้สารน้ำทุกวันผ่านทางหลอดเลือดดำบริเวณใบหู จะส่งผลให้เส้นเลือดเสียหาย ต้องรอการหายดีของเส้นเลือด ประมาณ 3-5 วัน
3.อาหารให้กินน้ำต้มข้าว เนื้อข้าวต้มเปื่อย และนม ทุก 2 ชั่วโมง (น้ำข้าวต้ม 500 มิลลิลิตร และเนื้อข้าวต้ม 16 ช้อน ต่อ 1 มื้อ)
4.ทำการให้ยาฆ่าเชื้อแบบกิน
5.ทำการวิตามินแบบกิน
6.ทำการให้ยาลดกรด และยาขับลมแบบกิน
7.ทำการตรวจเช็กระดับกลูโคสในกระแสเลือด 1 ครั้ง อยู่ในระดับ 63 mg/dL (ระดับปกติ 80-120 mg/dL)
8.ยังคงต้องใช้การพยุงตัวช่วยในการลุก นั่ง ยืน เดิน
9.มีเรี่ยวแรงและกำลังมากขึ้น เดินได้ไกลขึ้น (แต่ยังคงต้องพยุงตัว) เมื่อเรียกชื่อมีการร้องตอบพี่เลี้ยงได้มากขึ้น
10.สพญ.ลาดทองแท้ มีพันธุ์สัตวแพทย์ประจำมูลนิธิพระคชบาล เข้าร่วมทำการรักษา
11.นายมานะ เพิ่มพูล ผอ.ส่วนอนุรักษ์สัตว์ป่า สบอ.3 (บ้านโป่ง) เข้าตรวจเยี่ยมลูกช้างป่าธันวา
ทั้งนี้ ทีมสัตวแพทย์ เจ้าหน้าที่เขตห้ามล่าสัตว์ป่าบึงฉวาก และเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติพุเตย ยังคงต้องดูแลลูกช้างป่า (ธันวา) อย่างใกล้ชิด ตลอด 24 ชั่วโมง
การลุกนั่ง ยังคงต้องใช้การพยุงตัวช่วยในการลุก นั่ง ยืน เดิน ช้างป่ามีเรี่ยวแรงและกำลังมากขึ้น เดินได้ไกลขึ้น (แต่ยังคงต้องพยุงตัว) เมื่อเรียกชื่อมีการร้องตอบพี่เลี้ยงได้มากขึ้น
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ตรวจพบ ‘ลูกช้าง’ หลงโขลงที่ทับลานขาหัก ทีมสัตวแพทย์เร่งวางแผนรักษา
นายประวัติศาสตร์ จันทร์เทพ หัวหน้าอุทยานแห่งชาติทับลาน พร้อมด้วยนายสัตวแพทย์ประจำสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 7 (นครราชสีมา) เจ้าหน้าที่ศูนย์ช่วยเหลือสัตว์ป่ากระบกคู่ เทศบาลตำบลจระเข้หิน องค์การบริหารส่วนตำบลจระเข้หิน พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง
'สัตวแพทย์' เผยสาเหตุการตาย 'พลายตุลา' ลูกช้างป่าพลัดหลงแม่ หลังยื้อนาน 10 เดือน
นายอรรถพล เจริญชันษา อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง รักษาราชการแทนอธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช รับรายงานจากนายก้องเกียรติ เต็มตำนาน ผู้อำนวยการสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 2 (ศรีราชา) ถึงกรณีการเสียชีวิตของลูกช้างป่า “ตุลา”
อาการลูกช้างป่า ‘ตุลา’ พบแผลปลายลิ้น สัตวแพทย์ให้ยาต้านไวรัสต่อเนื่อง
สัตวแพทย์ ดผยอาการลูกช้างป่า ยังมีแผลที่ปลายลิ้นเล็กน้อย ไม่มีอาการซึม ไม่มีไข้ อุณหภูมิร่างกายอยู่ที่ 36.6-37.3 องศาเซลเซียส ยังคงปรับการให้นม เป็นกินนมทุก 1 ชั่วโมงครึ่ง
ลูกช้างป่าอายุ 1-2 เดือน พลัดหลงเข้ามาในฐานทหารพราน จ.จันทบุรี
พบลูกช้างป่าพลัดหลงเข้ามาในฐานทหารพราน ฐานฯทุ่งกร่าง ภายในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาสอยดาว