ไทยตอนบนอากาศหนาว 'กรุงเทพ-ปริมณฑล' อุณหภูมิลด 2-4 องศาฯ

17 ธ.ค.2565 - กรมอุตุนิยมวิทยา รายงานลักษณะอากาศทั่วไป พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้า บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังแรงอีกระลอกหนึ่งจากประเทศจีนแผ่ลงมาปกคลุมประเทศเวียดนามตอนบนและประเทศลาวตอนบนแล้ว คาดว่าจะแผ่ลงมาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือในวันนี้ (17 ธันวาคม 2565) ทำให้ในช่วงวันที่ 17-20 ธันวาคม 2565 บริเวณประเทศไทยตอนบนมีอากาศเย็นถึงหนาว และอุณหภูมิจะลดลงกับมีลมแรง ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศที่หนาวเย็นไว้ด้วย รวมถึงระวังอันตรายจากอัคคีภัยที่อาจเกิดขึ้นเนื่องจากอากาศแห้งและมีลมแรงมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามัน มีกำลังแรงขึ้น ทำให้ภาคใต้มีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยมีกำลังค่อนข้างแรง โดยอ่าวไทยตอนล่างมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ชาวเรือในบริเวณดังกล่าวควรเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง ส่วนเรือเล็กบริเวณอ่าวไทยตอนล่างควรงดออกจากฝั่งในระยะนี้ฝุ่นละอองในระยะนี้: ประเทศไทยมีการสะสมฝุ่นละออง/หมอกควันเล็กน้อยถึงปานกลาง เนื่องจากลมที่พัดปกคลุมมีกำลังอ่อนลง ออกประกาศ 17 ธันวาคม 2565

พยากรณ์อากาศสำหรับประเทศไทย06:00 น. วันนี้ ถึง 06:00 น. วันพรุ่งนี้

ภาคเหนือ อากาศเย็นถึงหนาวในตอนเช้า กับมีลมแรง และอุณหภูมิจะลดลง 1-3 องศาเซลเซียสอุณหภูมิต่ำสุด 15-18 องศาเซลเซียสอุณหภูมิสูงสุด 26-31 องศาเซลเซียสบริเวณยอดดอยอากาศหนาวถึงหนาวจัดอุณหภูมิต่ำสุด 6-12 องศาเซลเซียสลมตะวันออก ความเร็ว 10-25 กม./ชม.

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อากาศเย็นถึงหนาวในตอนเช้า กับมีลมแรง และอุณหภูมิจะลดลง 3-5 องศาเซลเซียสอุณหภูมิต่ำสุด 12-17 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28-29 องศาเซลเซียสบริเวณยอดภูอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 6-11 องศาเซลเซียสลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม./ชม.ภาคกลาง อากาศเย็นในตอนเช้า กับมีลมแรง และอุณหภูมิจะลดลง 2-4 องศาเซลเซียสอุณหภูมิต่ำสุด 16-18 องศาเซลเซียสอุณหภูมิสูงสุด 29-31 องศาเซลเซียสลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-25 กม./ชม.

ภาคตะวันออก อากาศเย็นในตอนเช้า กับมีลมแรง และอุณหภูมิจะลดลง 3-5 องศาเซลเซียสอุณหภูมิต่ำสุด 17-21 องศาเซลเซียสอุณหภูมิสูงสุด 30-32 องศาเซลเซียสลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20-35 กม./ชม.ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร

ภาคใต้(ฝั่งตะวันออก) ตอนบนของภาค อากาศเย็นในตอนเช้า และอุณหภูมิจะลดลง 1-2 องศาเซลเซียสตอนล่างของภาค มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่งบริเวณจังหวัดชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาสอุณหภูมิต่ำสุด 19-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28-32 องศาเซลเซียสตั้งแต่จังหวัดสุราษฎร์ธานีขึ้นมา ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม.ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตรตั้งแต่จังหวัดนครศรีธรรมราชลงไป ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20-40 กม./ชม.ทะเลมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร

ภาคใต้(ฝั่งตะวันตก) มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางพื้นที่บริเวณจังหวัดระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสตูลอุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียสอุณหภูมิสูงสุด 30-32 องศาเซลเซียสลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20-40 กม./ชม.ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร

กรุงเทพและปริมณฑล อากาศเย็นในตอนเช้ากับมีลมแรง และอุณหภูมิจะลดลง 2-4 องศาเซลเซียสอุณหภูมิต่ำสุด 18-20 องศาเซลเซียสอุณหภูมิสูงสุด 30-32 องศาเซลเซียสลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-25 กม./ชม.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เหนือ-อีสาน อากาศเย็นตอนเช้า ภาคใต้ฝนตกหนัก ถึงหนักมากบางแห่ง

กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้า บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางจากประเทศจีนปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้

กรมอุตุฯเตือน 9 จังหวัดภาคใต้มีฝนตกหนัก หวั่นเกิดน้ำท่วมฉับพลัน

นางสาวสุกันยาณี ยะวิญชาญ อธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา ออกประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา เรื่อง ฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณภาคใต้ ฉบับที่ 4 (304/2567) (มีผลกระทบจนถึงวันที่ 23 พฤศจิกายน 2567) มีใจความว่า

กรมอุตุฯ ประกาศฉบับ 3 เตือนฝนถล่มภาคใต้ คลื่นลมอ่าวไทย-อันดามันจะมีกำลังแรงขึ้น

กรมอุตุนิยมวิทยา ประกาศเรื่อง ฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณภาคใต้ ฉบับที่ 3 (มีผลกระทบจนถึงวันที่ 23 พฤศจิกายน 2567)

ลมหนาวมาต่อเนื่อง กรมอุตุฯ เผยเหนือ-อีสาน อุณหภูมิลดฮวบ 2-4 องศา

กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศ 7 วันข้างหน้า ในช่วงวันที่ 18 - 22 พ.ย. 67 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางจากประเทศจีนปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้