กรรมการสิทธิฯ เตรียมจี้นายกฯ เร่งแก้ปัญหาที่ดิน ข้อพิพาทเอกชนกับชาวเลเกาะหลีเป๊ะ

กสม. เตรียมทำหนังสือถึงนายกฯ ขอให้เร่งแก้ไขปัญหาที่ดินและข้อพิพาทระหว่างผู้ประกอบธุรกิจการท่องเที่ยวผู้อ้างกรรมสิทธิ์ที่ดินกับกลุ่มชาติพันธุ์ชาวเลอูรักลาโว้ยบนเกาะหลีเป๊ะ หลังถูกปิดเส้นทางสัญจรสาธารณะในพื้นที่

15 ธ.ค.2565 - นายวสันต์ ภัยหลีกลี้ กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.)​เปิดเผยถึงกรณีปัญหาความขัดแย้งระหว่างชาวเลอูรักลาโว้ยบนเกาะหลีเป๊ะ จังหวัดสตูล กับเอกชนที่อ้างกรรมสิทธิ์ในที่ดิน ซึ่งล่าสุดเมื่อปลายเดือนพ.ย. 2565 ที่ผ่านมา เอกชนได้เข้าปิดถนนที่ชาวเลใช้สัญจรไปโรงเรียน โรงพยาบาล สุสาน และออกไปทะเล ทำให้ส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตของชุมชนท้องถิ่นว่า กสม.​ได้ติดตามกรณีดังกล่าวอย่างใกล้ชิด เนื่องจากเป็นข้อพิพาทในพื้นที่เกาะหลีเป๊ะระหว่างชาวเล หน่วยงานของรัฐ และธุรกิจเอกชน ซึ่งเป็นกรณีที่ กสม. ได้รับเรื่องร้องเรียนมาตั้งแต่ปี 2549 จนถึงปัจจุบันจำนวนทั้งสิ้น 14 คำร้อง โดย กสม. ได้ตรวจสอบเสร็จสิ้นแล้ว จำนวน 9 คำร้อง และอยู่ระหว่างการตรวจสอบอีกจำนวน 5 คำร้อง อันเกี่ยวเนื่องกับสิทธิของกลุ่มชาติพันธุ์ซึ่งเป็นชุมชนท้องถิ่นดั้งเดิม สิทธิในการจัดการที่ดิน และสิทธิและเสรีภาพในชีวิตและร่างกาย เช่น กรณีที่รัฐประกาศพื้นที่อุทยานแห่งชาติและการออกเอกสารสิทธิโดยมิชอบทับที่ดินของชาวเลซึ่งอยู่มาก่อนยาวนาน การเข้ารุกล้ำร่องน้ำสาธารณะของเอกชน และการประกอบกิจการธุรกิจท่องเที่ยวที่ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศชายฝั่งและการประกอบอาชีพของชาวเลอูรักลาโว้ย

โดยที่ผ่านมา กสม. ได้มีข้อเสนอแนะแนวทางในการแก้ไขปัญหาไปยังหน่วยงานต่าง ๆ เช่น ให้มีการตรวจพิสูจน์กระบวนการออกเอกสารสิทธิที่ดินภายในเกาะหลีเป๊ะเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมกับทุกฝ่าย ให้มีการกำหนดพื้นที่เขตคุ้มครองวัฒนธรรมที่เอื้อต่อกลุ่มชาติพันธุ์ชาวเล และการกำหนดการใช้ประโยชน์ร่วมกันของชุมชนพื้นที่สาธารณะ เป็นต้น แต่ปัญหาข้อพิพาทระหว่างชุมชนท้องถิ่นดั้งเดิมกับเอกชนที่อ้างกรรมสิทธิ์ในที่ดินก็ยังคงอยู่ และปัจจุบันปรากฏสถานการณ์ความขัดแย้งรุนแรงมากขึ้นในพื้นที่ ซึ่งอาจนำไปสู่การละเมิดสิทธิมนุษยชนในท้ายที่สุด โดยเห็นว่าทุกฝ่ายจะต้องเคารพสิทธิชุมชนดั้งเดิมและปฏิบัติตามหลักการชี้แนะของสหประชาชาติเรื่องธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน (UNGPs)

กสม. ในคราวประชุมด้านการคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิมนุษยชน เมื่อวันที่ 14 ธ.ค.565 จึงมีมติเห็นควรจัดทำหนังสือแจ้งไปยังนายกรัฐมนตรีเพื่อสั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งแก้ไขปัญหาข้อพิพาทตามข้อเสนอแนะที่ผ่านมาของ กสม. ทั้งนี้ กสม. จะได้ส่งพนักงานเจ้าหน้าที่สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พื้นที่ภาคใต้ เข้าร่วมเฝ้าระวังและสังเกตการณ์สถานการณ์ความขัดแย้งในพื้นที่อย่างใกล้ชิดด้วย

 

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'ปลาหมอคางดำ'ต้องเป็นศูนย์ ก่อนนิเวศย่อยยับ

จากสถานการณ์ปลาหมอคางดำที่กำลังระบาดไปในแหล่งน้ำธรรมชาติและพื้นที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในประเทศไทย   ซึ่งปลาหมอคางดำมีต้นกำเนิดอยู่ในทวีปแอฟริกา ประเทศไทยเองมีบริษัทเอกชนนำเข้ามาเมื่อปี 2553  ซึ่งวงจรปลาหมอคางดำขยายพันธุ์รวดเร็ว ทุกๆ 22 วัน

กสม. ชี้ตร.ปล่อยให้มีการถ่ายภาพ-คลิปเด็กกราดยิงในห้างฯเผยแพร่ในโซเชียล ละเมิดสิทธิ

กสม. ชี้ เจ้าหน้าที่ตำรวจปล่อยให้มีการถ่ายภาพและคลิปวิดีโอของเด็กผู้ก่อเหตุกราดยิงในห้างสรรพสินค้า เผยแพร่ในสื่อสังคมออนไลน์ เป็นการละเมิดสิทธิฯ

ชี้ กฎหมายกัญชา ฉบับใหม่ล็อกสเป็กเอื้อนายทุนโรงพยาบาล เปิดชื่อคนดังมีเอี่ยวเพียบ

นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ คณบดีวิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต โพสต์เฟซบุ๊ก เปิดเผยว่า ร่างประกาศ

'ศุภมาส' ลงดาบ เอกชนซื้อขายวุฒิปริญญา ยกเลิกใบอนุญาต

“ศุภมาส”  จัดการมหาวิทยาลัยเอกชนที่เป็นข่าวซื้อขายวุฒิปริญญาบัตร  งัดมาตรการเด็ดขาดกฎหมายควบคุม และยกเลิกใบอนุญาตในการจัดตั้งมหาวิทยาลัย

เปิดผลตรวจสอบ 'คดีไซยาไนด์' ตำรวจไม่แจ้งสิทธิการมีทนายความ สื่อละเมิดสิทธิมนุษยชน

กสม. เผยผลการตรวจสอบกรณีร้องเรียนคดีไซยาไนด์ ชี้ตำรวจไม่แจ้งสิทธิการมีทนายความ สื่อเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลและตีตราผู้ต้องหา เป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน

เปิดผลสอบกิจกรรมเชียร์และแปรอักษรงาน 'ฟุตบอลจตุรมิตร' ไม่พบการละเมิดสิทธิเด็ก

กสม. เผยผลสอบเรื่องร้องเรียนกรณีการจัดกิจกรรมเชียร์และแปรอักษรงานฟุตบอลจตุรมิตร ไม่พบการละเมิดสิทธิเด็ก แต่มีข้อเสนอแนะไปยังโรงเรียนทั้งสี่เพื่อให้งานดียิ่งขึ้น