กสม.ทำหนังสือถึงนายกรัฐมนตรี ขอให้สั่งการ สตช. และ ป.ป.ส. แก้ไขเยียวยาการละเมิดสิทธิฯ ชาวบ้านจากการตรวจดีเอ็นเอแบบเหมารวม
08 ธ.ค.2535 - นายบุญเกื้อ สมนึก ที่ปรึกษาประจำคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) เปิดเผยว่า ตามที่ กสม.ได้ตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชนกรณีเจ้าหน้าที่ของรัฐเก็บตัวอย่างสารพันธุกรรม (ดีเอ็นเอ) ของชาวบ้านกว่า 50 รายในหมู่บ้านแกน้อยหย่อมบ้านถ้ำ และบ้านหนองเขียว ตำบลเมืองนะ อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งเป็นหมู่บ้านที่มีกลุ่มชาติพันธุ์ลาหู่อาศัยอยู่ ในจำนวนนี้มีเด็กที่อายุยังไม่ครบ 18 ปีบริบูรณ์ จำนวน 3 คน ถูกตรวจเก็บตัวอย่างดีเอ็นเอไปด้วย โดยที่เจ้าหน้าที่ไม่แจ้งข้อมูลที่จำเป็นให้แก่บุคคลที่จะต้องถูกเก็บตัวอย่างดีเอ็นเอทราบ และไม่ได้รับความยินยอมโดยสมัครใจอย่างแท้จริง ทั้งยังไม่มีการดำเนินการเพื่อให้สอดคล้องกับอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก ซึ่ง กสม. ได้มีมติเมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2565 ว่าการดำเนินการดังกล่าวเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน และมีข้อเสนอแนะในการป้องกันและแก้ไขปัญหาไปยังสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) โดยเสนอให้มีนักสังคมสงเคราะห์หรือสหวิชาชีพเข้าร่วมในกระบวนการจัดเก็บดีเอ็นเอของเด็ก ให้แจ้งผลการตรวจดีเอ็นเอให้ผู้ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการยึดยาเสพติดทราบ และให้ลบข้อมูลดีเอ็นเอของชาวบ้านทั้งสองหมู่บ้านที่ถูกจัดเก็บโดยไม่ได้รับความยินยอมออกจากฐานข้อมูล นั้น
ต่อมาปรากฏข้อเท็จจริงว่า สตช. ไม่ได้ดำเนินการตามข้อเสนอแนะของ กสม. โดยไม่มีเหตุอันสมควร ประกอบกับ กสม. ได้พิจารณาแล้วเห็นว่าการดำเนินโครงการเก็บและตรวจสารพันธุกรรมของบุคคลกลุ่มเสี่ยงและวัตถุพยานที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติดและคดีอาญาอื่นๆ ซึ่งเป็นโครงการที่บูรณาการร่วมกันระหว่าง สตช. และสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (สำนักงาน ป.ป.ส.) มีลักษณะเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน เนื่องจากโครงการข้างต้นมิได้อาศัยอำนาจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 131 และมาตรา 131/1 ที่กำหนดให้เป็นอำนาจของพนักงานสอบสวน โดยมีหลักเกณฑ์และวิธีการที่ต้องปฏิบัติโดยเคร่งครัด กระทำเท่าที่จำเป็น และจะต้องได้รับความยินยอมโดยสมัครใจและอิสระจากบุคคลที่ถูกเก็บตัวอย่างดีเอ็นเอ เนื่องจากมีผลกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพในชีวิตและร่างกาย และสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัวของบุคคล ประกอบกับโครงการฯ ได้กำหนดเป้าหมายของบุคคลกลุ่มเสี่ยงที่จะเก็บและตรวจดีเอ็นเอไว้อย่างกว้าง ครอบคลุมบุคคลที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับยาเสพติดด้วย อันถือเป็นการเลือกปฏิบัติต่อบุคคลโดยไม่เป็นธรรม
กสม. ในคราวประชุมด้านการคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิมนุษยชน เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2565 ได้พิจารณาผลการดำเนินการของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ความเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิ และองค์กรภาคประชาสังคมแล้ว เห็นว่า สตช. ไม่ได้ดำเนินการแก้ไขปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนกรณีการเก็บและตรวจดีเอ็นเอของชาวบ้านกลุ่มชาติพันธุ์ลาหู่กรณีดังกล่าวตามข้อเสนอแนะของ กสม. อย่างเป็นรูปธรรม ประกอบกับการดำเนินโครงการเก็บและตรวจสารพันธุกรรมของบุคคลกลุ่มเสี่ยงโดยความร่วมมือของ สตช. และสำนักงาน ป.ป.ส. ยังเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนในเชิงระบบ
จากเหตุผลข้างต้น กสม. จึงเห็นควรมีหนังสือแจ้งข้อเสนอแนะในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนไปยังนายกรัฐมนตรีเพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรี ให้พิจารณาสั่งการให้ สตช. และสำนักงาน ป.ป.ส. ดำเนินการตามข้อเสนอแนะของ กสม. และให้ยกเลิกการดำเนินโครงการเก็บและตรวจสารพันธุกรรมของบุคคลกลุ่มเสี่ยงและวัตถุพยานที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติดและคดีอาญาอื่นๆ หากมีความจำเป็นต้องเก็บและตรวจสารพันธุกรรมก็ให้ดำเนินการตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ปปช.เปิดทรัพย์สิน 'ก่อแก้ว' สุดอู้ฟู่รวย 263 ล้านบาท
เปิดเซฟ 'ชัยธวัช ตุลาธน' อดีตหัวหน้าพรรคก้าวไกล 19.3 ล้านบาท 'อภิชาติ' อดีตเลขาธิการพรรค 13.2 ล้านบาท 'ก่อแก้ว' อู้ฟู่ 263 ล้าน
เปิดโปรแกรมทัวร์ 'ครม.สัญจรอิ๊งค์' นัดแรกที่เมืองเหนือ
เปิดโปรแกรม 'ครม.สัญจรอิ๊งค์' นัดแรก จัดที่แม่ริม เชียงใหม่ 29 พ.ย. ก่อนถก 'คลังสัญจร' เชียงราย ฟื้นฟูพื้นที่เศรษฐกิจ พร้อมพบประชาชน
'สนธิญา' ยื่น 'กสม.' สอบ 'ทักษิณ' ละเมิดสิทธิ์ หานักร้องเป็นหมา
ที่สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) นายสนธิญา สวัสดี เดินทางยื่นหนังสือ พร้อมหลักฐานภาพข่าวการหาเสียงนายก องค์การ
'ดอยอินทนนท์' ต่ำสุด 10 องศา อุ่นขึ้นเล็กน้อย ชมความงาม หยดน้ำค้างบนยอดหญ้า
เพจเฟซบุ๊ก "อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่" โพสต์ภาพพร้อมข้อความว่า ดอยอินทนนท์อุ่นขึ้นเล็กน้อย แต่ยังคงอากาศหนาว
ลุ้นระทึก!ที่ประชุมใหญ่ศาลปกครองสูงสุดถก ปมคดี 'บิ๊กโจ๊ก' ถูกให้ออกจากราชการ
ที่ศาลปกครองกลาง ถนนเเจ้งวัฒนะ นายประสิทธิ์ศักดิ์ มีลาภ ประธานศาลปกครองสูงสุด เป็นประธานการประชุมใหญ่ศาลปกครองสูงสุด
ตำรวจเตรียมโอนคดี 'ดิไอคอน' ให้ DSI พบยอดผู้เสียหายเฉียดหมื่น
พล.ต.ท.อัคราเดช พิมลศรี ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผู้ช่วยผบ.ตร.) ในฐานะหัวหน้าชุดทำคดีบริษัทดิไอคอนกรุ๊ป