18 พ.ย.2564 - ที่ทำเนียบรัฐบาล นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยว่าการสมรสเฉพาะชายกับหญิงไม่ขัดรัฐธรรมนูญ ว่ารัฐบาลได้เสนอให้มีการทำร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) คู่ชีวิต พ.ศ. ... เสร็จแล้ว และเสนอไปที่คณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎร (วิป) ซึ่งวิป มีข้อทักท้วงบางอย่าง จึงส่งกลับไปที่กระทรวงที่เกี่ยวข้อง อาทิ กระทรวงยุติธรรม ให้ปรับปรุงบางอย่างเพิ่มเติม ซึ่งตอนที่ตนร่วมประชุมกับวิป ได้หยิบยกร่างกฎหมายฉบับนี้ขึ้นมา และขอให้ฝ่ายที่เกี่ยวข้องนำไปจัดทำมาให้เสร็จโดยเร็ว เพื่อจะได้เสนอต่อสภาผู้แทนราษฎรให้ทันสมัยประชุมนี้ เพราะทำตัวร่างพ.ร.บ.เสร็จแล้ว คณะรัฐมนตรีผ่านแล้ว และสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจเสร็จแล้ว แต่ติดอยู่ที่วิป ซึ่งที่จริง เหตุที่ติดที่วิปเพราะมีคนไปร้องคัดค้าน
รองนายกฯ กล่าวอีกว่า ความคิดเห็นที่แตกต่างกันในร่างพ.ร.บ.นี้ คือรัฐบาลทำเป็นร่างพ.ร.บ.คู่ชีวิต แยกออกมาจากประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ซึ่งถือว่าสมประโยชน์กับฝ่ายที่ต้องการจะสมรสแม้มีเพศสภาพ ที่แตกต่างกันอย่างไรก็ตาม แต่ฝ่ายที่ต้องการก็ยังต้องการมากกว่านี้ คือเขาไม่ต้องการทำเป็นพ.ร.บ.แยกต่างหาก แต่ต้องการให้เอาไปใส่ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ในมาตราใดที่กำหนดว่าชายและหญิงสมรสกันก็ให้มีคำว่าชายกับชาย หรือหญิงกับหญิงด้วย ซึ่งคณะกรรมการกฤษฎีกาและหลายกระทรวงไม่เห็นด้วย อีกทั้งหลายประเทศก็ไม่ได้เอามารวมกัน เพราะถ้ารวมกัน มันจะยุ่ง แต่ถึงอย่างไรก็ยอมรับสถานะให้สามารถจดทะเบียนสมรสได้ ซึ่งคิดว่าน่าจะเพียงพอแล้ว แต่เมื่อต้องการอย่างอื่นมากไปกว่านั้น มันจะลำบาก และจะไปพันกันแล้วทำให้ระบบกฎหมายเก่าเลอะเลือนไปหมด เมื่อเป็นเช่นนั้นก็ให้ลองนำกลับไปคิดใหม่อีกครั้ง
นายวิษณุ กล่าวว่า เรื่องนี้คนที่เป็นนักกฎหมายอาจเข้าใจ แต่คนที่ไม่ใช่นักกฎหมายก็อาจไม่เข้าใจ และข้อสอบในเนติบัณฑิตยสภาเคยออกเรื่องนี้มาแล้วหลายครั้ง อย่างไรก็ตาม หลายคนอ่านรัฐธรรมนูญแล้วอ่านมาตรา 1, 2, 3, 4, 5 แล้วเข้าใจว่ามาตราเหล่านี้พูดถึงว่ากฎหมายขัดรัฐธรรมนูญไม่ได้ รวมถึงพูดถึงความมีสิทธิเสรีภาพ ความเสมอภาค และศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ดังนั้น เมื่อเขาไปเจออะไรที่มันขัดกับสิ่งเหล่านี้ ก็จะร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญว่าขัด ซึ่งศาลรัฐธรรมนูญได้วินิจฉัยมาแล้วหลายเรื่อง และข้อสอบเนติบัณฑิตยสภาเคยออกมาแล้วว่ามาตราเหล่านี้ในตัวมันเองไม่ได้ให้ความคุ้มครองอะไร แต่ต้องไปรอออกเป็นพ.ร.บ. หรือออกกฎหมายใหม่ ดังนั้นใครที่ไปเปิดรัฐธรรมนูญ เจอมาตรา 5 ที่ระบุว่าบุคคลย่อมมีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ และเมื่ออ่านเจอกฎหมายอะไรที่ขัดกับศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ก็ไปยื่นร้องเลยว่าขัดรัฐธรรมนูญ แบบนี้ศาลรัฐธรรมนูญจะไม่รับ แต่ศาลฯจะรับต่อเมื่อมี พ.ร.บ.ที่ไปขัดกับมาตราอื่นๆในรัฐธรรมนูญ ไม่ใช่มาขัดกับมาตราที่อยู่ในบททั่วไปเหล่านี้ ซึ่งการบ้านที่ศาลรัฐธรรมนูญให้ไว้คือเป็นหน้าที่ของรัฐบาลที่ต้องเร่งออกกฎหมายลูกให้เร็ว ให้ทัน เพราะตอนนี้บางฉบับไม่ได้ออก
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
สภาฯผ่านฉลุยกฎหมายห้ามตีเด็ก
ที่รัฐสภา ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ที่มีนายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาฯคนที่หนึ่ง เป็นประธานการประชุม
จบข่าว! สภาโหวตคว่ำข้อสังเกต กมธ.นิรโทษกรรม 'ชลน่าน-พิเชษฐ์' หวิดวางมวย
ประชุมสภาฯ หวิดปะทะ “ชลน่าน” อารมณ์ขึ้นชี้หน้า “รองพิเชษฐ์” โต้ “อยากเป็นให้ขึ้นมา” สุดท้ายได้โหวต คว่ำข้อสังเกตรายงานนิรโทษกรรม ส่งให้รัฐบาลเฉพาะตัวรายงานอย่างเดียว
กสม.ชงนายกฯ ทบทวนปิดศูนย์การเรียนรู้เด็กต่างด้าว ห่วงผลกระทบเป็นลูกโซ่
'กสม.' มีหนังสือถึงนายกรัฐมนตรี ขอให้คุ้มครองสิทธิเด็กลูกหลานแรงงานต่างด้าวอย่างเป็นระบบ ทบทวนมาตรการปิดศูนย์การเรียนรู้เด็กต่างด้าว ห่วงผลกระทบกว้างขวางเป็นลูกโซ่
พรรคส้ม ไม่ได้ดั่งใจ! สว.งดประชุม ทำกม.ล่าช้า ติงควรให้เกียรติผู้นำฝ่ายค้าน
ที่รัฐสภา นายณัฐวุฒิ บัวประทุม สส.บัญชีรายชื่อ ในฐานะกรรมการบริหารพรรคประชาชน ในฐานะวิปฝ่ายค้าน กล่าวถึงการประ
เตือน นายกฯแพทองธาร เชื่อ 'วิษณุ' จบแบบ 'เศรษฐา' ปมแหล่งที่มาของเงิน
ที่นายวิษณุ เครืองาม ให้ความเห็นว่า ไม่มีกฎหมายบัญญัติว่าที่มาของรายได้เป็นอย่างไร และต้องแถลง
สภาฯเถียงกันวุ่น 'กฎหมายห้ามตีเด็ก' ก่อน กมธ.ยอมถอนร่างกลับไปทบทวนใหม่
ที่รัฐสภา มีการพิจารณาร่างพ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พ.ศ. ... ซึ่งมีนายสรรพสิทธิ์ คุมพ์ประพันธ์ เป็นประธานคณะกรรมาธิการ(กมธ.)วิสามัญ ในวาระสอง