'ดีอีเอส' พบข่าวปลอมเพียบเตือนอย่าหลงเชื่อใช้ใบมะละกอต้มดื่มรักษามะเร็ง

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) สรุปสถานการณ์ข่าวปลอมสัปดาห์ล่าสุด พบข่าวปลอมนโยบายรัฐบาล มากที่สุด ขณะที่ข่าวปลอมเรื่องสุขภาพอันดับ 2  ด้านข่าวปลอมโควิด-19 มี 10 เรื่อง สอดรับกระแสการกลับมาของโควิด-19 ที่สามารถติดต่อได้ง่ายมากขึ้น

4 ธ.ค. 2565 – นางสาวนพวรรณ หัวใจมั่น โฆษกกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมฝ่ายการเมือง (ดีอีเอส) กล่าวว่า สรุปผลการมอนิเตอร์ และรับแจ้งข่าวปลอมประจำสัปดาห์ ระหว่างวันที่ 25 พฤศจิกายน -1 ธันวาคม 2565 โดยศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม พบข้อความที่เข้ามาจำนวน 5,180,831 ข้อความ โดยมีข้อความที่ต้องดำเนินการตรวจสอบ (Verify) ทั้งสิ้น 185 ข้อความ แบ่งเป็นข้อความที่มาจาก Social listening จำนวน 146 ข้อความ และข้อความที่มาจาก Line Official จำนวน 35 ข้อความ รวมเรื่องที่ต้องดำเนินการตรวจสอบ 76 เรื่อง ในจำนวนนี้เป็นเรื่องโควิด -19 จำนวน 10 เรื่อง

ทั้งนี้ ดีอีเอสได้แบ่งข่าวปลอมที่ได้รับความสนใจ เป็น 4 กลุ่ม ประกอบด้วย

กลุ่มที่ 1 ข่าวปลอมเรื่องนโยบายรัฐบาล ข่าวสารทางราชการ ความสงบเรียบร้อยของสังคม ขัดศีลธรรมอันดี และความมั่นคงภายในประเทศจำนวน 41 เรื่อง

กลุ่มที่ 2 ข่าวปลอมเรื่องผลิตภัณฑ์สุขภาพ วัตถุอันตราย เครื่องสำอาง รวมถึงสินค้าและบริการที่ผิดกฎหมาย จำนวน 25 เรื่อง

กลุ่มที่ 3  ข่าวปลอมเศรษฐกิจ จำนวน 5 เรื่อง

กลุ่มที่ 4 ข่าวปลอมเรื่องภัยพิบัติ จำนวน 5 เรื่อง

สำหรับข่าวปลอมทั้ง 4 กลุ่มมีความเกี่ยวเนื่องกับเรื่องโควิค-19 จำนวน 10 เรื่อง

นางสาวนพวรรณ กล่าวต่อว่า เมื่อพิจารณาจากข่าวปลอมที่ได้รับความสนใจสูงสุด 10 อันดับระหว่างวันที่ 25 พฤศจิกายน – 1 ธันวาคม ดังนี้

อันดับที่ 1 เรื่อง มะเร็งระยะสุดท้ายหายได้ เพียงใช้ใบมะละกอต้มดื่ม

อันดับที่ 2 เรื่อง ไทยเตรียมรับมือซุปเปอร์ไต้ฝุ่น ตั้งแต่วันที่ 2 – 5 ธ.ค. 65

อันดับ 3 เรื่อง  เพจและแอปพลิเคชันไลน์ Aomsin Gsb ชวนกู้เงินออนไลน์

อันดับที่ 4 เรื่อง ซาอุฯ นำคนมุสลิมเข้าไทย 1 ล้านคนในปี 2565

อันดับที่ 5 เรื่อง หญ้าลิ้นงูช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งได้

อันดับที่ 6 เรื่อง เบอร์อันตรายห้ามรับสาย หากรับสายเงินหายหมดทั้งบัญชี

อันดับที่ 7 เรื่อง ผู้ส่งเบี้ยประกันสังคมทุกราย สามารถกู้เงินชราภาพของประกันสังคมได้

อันดับที่ 8 เรื่อง รัฐบาลเตรียมประกาศงดเทศกาลปีใหม่ เนื่องจากการแพร่ระบาดของโควิด เดลตาครอล XBC

อันดับที่ 9 เรื่อง เกาหลีเปิดรับสมัครแรงงานเก็บองุ่น โดยกรมจัดหางาน กระทรวงแรงงาน

อันดับที่ 10 เรื่อง ถอดโคเคน มอร์ฟีน ฝิ่น ออกจากยาเสพติดให้โทษ ประชาชนครอบครองได้ ถูกกฎหมาย

“ปัจจุบันข่าวปลอมมีการแพร่ระบาดในทุกช่องทางทั้งจากโชเชียลมีเดีย โทรศัพท์ และเอสเอ็มเอส ดีอีเอส ขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข่าวปลอม หากท่านได้รับการแจ้งข้อมูลที่ผิดปรกติ ผ่านโชเชียลมีเดีย เอสเอ็มเอส หรือทางโทรศัพท์ เพื่อป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้น ทั้งนี้ดีอีเอสให้ความสําคัญกับการแก้ไขปัญหาการเผยแพร่ข่าวปลอมอย่างต่อเนื่อง ท่านสามารถติดตามและแจ้งเบาะแสข่าวปลอม ได้ผ่านช่องทางต่างๆ ของศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ดังนี้ ไลน์ @antifakenewscenter เว็บไซต์ https://www.antifakenewscenter.com/ ทวิตเตอร์ https://twitter.com/AFNCThailand และช่องทางโทรศัพท์โทรสายด่วน GCC 1111 ต่อ 87 ” นางสาว นพวรรณ กล่าว

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เตือนข่าวปลอม! ธนาคารกรุงไทย เปิดลงทะเบียนเงินดิจิทัลวอลเล็ต 1 หมื่นรอบใหม่

นายเวทางค์ พ่วงทรัพย์ รองปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) รักษาราชการแทนเลขาธิการคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจ

ดีอี ระวังข่าวปลอม 'PEA' ส่ง SMS ให้ตรวจสอบสิทธิรับเงินคืนประกัน

ดีอี เตือน ข่าวปลอม “PEA ส่ง SMS ให้ตรวจสอบสิทธิรับเงินคืนประกันที่ www.การไฟฟ้าสำนักงานใหญ่.com” ขออย่าเชื่อ-แชร์ หวั่นสูญเงิน-ข้อมูลส่วนบุคคล

เตือนระวังข่าวปลอม ลงทะเบียนคุ้มครองสิทธิแก๊งคอลเซ็นเตอร์

ดีอี เตือน อย่าเชื่อ-แชร์ ข่าวปลอม “เปิดลงทะเบียนคุ้มครองสิทธิผู้เสียหายจากแก๊งคอลเซ็นเตอร์ ผ่านเพจ หน่วยงานคุ้มครองสิทธิ์อาชญากรรมทางออนไลน์” หวั่นปชช.สูญเงิน-ข้อมูลส่วนบุคคล

ดีอี เตือนอย่าเชื่อข่าว รัฐยกเลิกการแจกเงินดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท

ดีอี เตือน อย่าเชื่อ-แชร์ ข่าวปลอม “ประกาศยกเลิกการแจกเงินดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท” หวั่นสร้างความเข้าใจผิดให้สังคม

ดีอี เตือน ข่าวปลอม โรงพยาบาลดังเปิดให้ลงทุนหุ้น อย่าเขื่อเสี่ยงสูญเงิน

ดีอี เตือน ข่าวปลอม “โรงพยาบาลดังเปิดให้ลงทุนหุ้น กำกับดูแลโดย ก.ล.ต.” อย่าเชื่อ-แชร์ เสี่ยงสูญเงิน-ข้อมูลส่วนบุคคล

'ดีอี' เตือน ข่าวปลอม 'ปปง.' เปิดเพจแจ้งความรับเงินคืนจากคดีออนไลน์

ดีอี เตือน ข่าวปลอม “ปปง. เปิดเพจแจ้งความ รับเงินคืนจากคดีออนไลน์” พบ “โจรออนไลน์” ใช้เป็นช่องทางหลอกลวงข้อมูล-หลอกโอนเงิน