กรมอุทยานฯ ลดขั้นตอนแจ้งครอบครอง 'นกกรงหัวจุก'

ผู้เลี้ยง “นกกรงหัวจุก” และสัตว์ป่าคุ้มครอง รู้ยัง? กรมอุทยานลดขั้นตอนแจ้งครอบครองสัตว์ป่า

4 ธ.ค. 2565 – นางสาวรัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในฐานะกรรมการผู้แทนพิเศษของรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ เปิดเผยว่า ตามที่ ได้มีข้อเสนอจากภาคประชาชนในพื้นที่อยากให้กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พิจารณาการผ่อนคลายการครอบครองสัตว์ป่าคุ้มครอง “นกกรงหัวจุก” ซึ่งเป็นอัตลักษณ์ของท้องถิ่น อีกทั้งมีการจัดการแข่งขันเสียงร้องในหลายภูมิภาค รวมถึงมีการเพาะเลี้ยงในกรงจำนวนมาก จนถือได้ว่าเป็นสัตว์เศรษฐกิจชนิดหนึ่ง

ทั้งนี้ จากการรับฟังความเห็นของภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ทางกรมอุทยานฯเห็นว่า ยังมีความจำเป็นที่ต้องคง “นกกรงหัวจุก” ให้อยู่ในบัญชีรายชื่อสัตว์ป่าคุ้มครองต่อไป อย่างไรก็ตาม นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติฯ ได้สั่งการให้กรมอุทยานฯ ยกระดับการให้บริการแก่ประชาชนในเรื่องการขออนุญาตค้าและครอบครองสัตว์ป่าและซากสัตว์ป่าคุ้มครองทุกชนิดให้มีความสะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้น ซึ่งเดิมผู้แจ้งครอบครองจะต้องดำเนินการยื่นเอกสารหลักฐานต่างๆด้วยตนเอง จากนั้นเจ้าหน้าที่จะลงพื้นที่เพื่อตรวจสอบ ทำให้การออกใบอนุญาตล่าช้า

ขณะนี้ กรมอุทยานฯได้ปรับลดขั้นตอนการดำเนินการดังกล่าว รวมทั้งลดการใช้เอกสารหลักฐานในการยื่นให้เหลือตามความจำเป็นเท่านั้น ทั้งหมดนี้เพื่อยกระดับคุณภาพการบริการประชาชน โดยการยื่นขออนุญาต ให้ส่งเอกสารได้ทางไปรษณีย์ หรือขนส่งเอกชน หรือยื่นด้วยตนเองได้ที่สำนักอนุรักษ์สัตว์ป่า กรมอุทยานแห่งชาติฯ ต่างจังหวัด ยื่นได้ที่ สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 1-16 หรือสาขาทุกสาขา นอกจากนี้กรมฯ กำลังดำเนินการเพิ่มช่องทางเพื่อให้ประชาชนยื่นคำขอผ่านระบบออนไลน์ได้อีกด้วย

สำหรับผู้ที่ซื้อสัตว์ป่าที่ได้จากการเพาะพันธุ์และนำไปครอบครอง ให้ยื่นขออนุญาตครอบครองสัตว์ป่าฯ โดยใช้เอกสาร ประกอบด้วย สำเนาบัตรประชาชน สำเนาทะเบียนบ้าน คำขอรับใบอนุญาต หลักฐานการได้มาซึ่งสัตว์ป่าคุ้มครอง หนังสือยินยอมให้ใช้สถานที่ ภาพถ่ายสถานที่ครอบครองสัตว์ป่า และภาพถ่ายชนิดของสัตว์ป่าที่มีเครื่องหมายประจำตัวสัตว์ป่า กรณีหากมีเหตุอันควรสงสัย เช่น ชนิด จำนวน เครื่องหมาย เจ้าหน้าที่อาจลงพื้นที่ตรวจสอบหรือตรวจสอบข้อมูลผ่านระบบออนไลน์ต่อไป ประชาชนสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ได้ที่หมายเลข 0 2579 4621 หรือ 0 2579 6666 ต่อ 1632

“จึงขอแจ้งให้ประชาชนที่ครอบครองนกกรงหัวจุก หรือสัตว์ป่าคุ้มครองชนิดอื่นๆ ดำเนินการขออนุญาตให้ถูกต้องเพื่อจะได้ไม่ต้องเสี่ยงต่อการถูกดำเนินคดี ทางกรมอุทยานฯได้ปรับลดขั้นตอน และลดการใช้เอกสาร ให้เหลือเท่าที่จำเป็นเท่านั้น เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกและรวดเร็วแก่ประชาชน และระยะต่อไปจะเพิ่มการให้บริการในระบบออนไลน์ด้วย” นางสาวรัชดา กล่าว

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'คนอยู่กับป่า' นัดรวมตัวใหญ่ รับครม.สัญจร ยื่นนายกฯ ค้าน พ.ร.ฎ.ของกรมอุทยานฯ

เครือข่ายสมัชชาชุมชนคนอยู่กับป่า(สชป.) ได้นัดรวมตัวกันประมาณ 3,000- 5,000 คน ซึ่งส่วนใหญ่มีเชื้อสายชาติพันธุ์ เช่น ม้ง กะเหรี่ยง

'ลุงโชค วังน้ำเขียว' เปิดใจแทนชาวบ้านโดนหลอกมา 43 ปี กลับถูกตราหน้าเป็นผู้บุกรุก

จากกรณี กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เปิดรับฟังความเห็นในการเพิกถอนพื้นที่อุทยานแห่งชาติทับลานฝั่ง จ.นครราชสีมา และปราจีนบุรี 265,286.58 ไร่ ออกจากการเป็นพื้นที่ป่าอนุรักษ์ ตั้งแต่วันที่ 28 มิ.ย.-12 ก.ค. 2567 ทำให้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์ว่าจะเอื้อประโยชน์ให้นายทุน จนมีการติดแฮชแท็ก #Saveทับลาน ในโซเชียลมีเดียอย่างกว้างขวาง

'ปชป.' ชี้ปัญหา 'ทับลาน' ต้องแยกปลาออกจากน้ำ ดำเนินคดีนายทุนรุกป่า คืนสิทธิชาวบ้าน

นายประพฤติ ฉัตรประภาชัย นักวิชาการด้านกฎหมาย และอดีตผู้สมัคร สส. กรุงเทพมหานคร เขตบางกะปิ พรรคประชาธิปัตย์ ได้แสดงความเห็นผ่านเฟสบุ๊กว่า

'พัชรวาท' สั่ง 3 ข้อเร่งด่วน แนวทางแก้ปมพิพาทป่าทับลาน

พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เปิดเผยว่า จากกรณีกรณีปัญหาพื้นที่อุทยานแห่งชาติทับลานที่มีประชาชนแสดงความคิดเห็นกันอย่างกว้างขวางนั้น

กมธ.ที่ดิน ถกปมพื้นที่พิพาทเขาใหญ่ แฉพบ 10 รายชื่อคนต่างถิ่นส่อได้ที่สปก.

ที่รัฐสภา มีการประชุมร่วมกันระหว่างคณะกรรมาธิการ (กมธ.) การที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม สภาผู้แทนราษฎร ที่มีนายอภิชาติ ศิริสุนทร สส.บัญชีรายชื่อและเลขาธิการพรรคก้าวไกล (ก.ก.) เป็นประธาน กับกมธ.ความมั่นคงแห่งรัฐ

เปิดทำเนียบ เคลียร์ปมที่ดินพิพาทเขาใหญ่ 'ชัยวัฒน์' ประกาศลั่นจบหล่อไม่ได้ ต้องมีคนผิด

นายจตุพร​ บุรุษ​พัฒน์​ ปลัด​กระทรวง​ทรัพยากร​ธรรมชาติ​และ​สิ่ง​แวดล้อม​ กล่าวว่า​ การประชุมวันนี้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย ทุกคนให้ข้อเสนอที่เป็นประโยชน์ ทั้งสองกระทรวงมีเป้าหมายทำงานเพื่อประชาชน ซึ่งในส่วนของกระทรวงทรัพย์ฯ นอกจากดูแลป่าและทะเลแล้วบางส่วน ก็ดูแลพื้นที่ของประชาชน