แฟ้มภาพ
17 พ.ย.2564 - ศาลรัฐธรรมนูญ มีมติสั่งไม่รับคำร้องไว้พิจารณาวินิจฉัยกรณี นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม ยื่นศาล รธน.วินิจฉัยกรณี กสทช.ออกใบอนุญาตดาวเทียมไทยคมดวง 7 และ 8 ขัด รธน.หรือไม่ โดย คำแถลงศาลรัฐธรรมนูญ ระบุว่านายวรงค์ เดชกิจวิกรม (ผู้ร้อง) ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญมาตรา 213 (เรื่องพิจารณาที่ ต. 45/2564) นายวรงค์ เดชกิจวิกรม (ผู้ร้อง) ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 213 ว่า คณะรัฐมนตรีในรัฐบาลน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร (ผู้ถูกร้องที่ 1) กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ผู้ถูกร้องที่ 2) คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) (ผู้ถูกร้องที่ 3) และคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) (ผู้ถูกร้องที่ 4) และบริษัท ไทยคม จำกัด (มหาชน) (ผู้ถูกร้องที่ 5) กระทำการขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 190 และมาตรา 305 (1) และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 60 และมาตรา 274
ผลการพิจารณา ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาแล้วเห็นว่า 1. กรณีผู้ถูกร้องที่ 2 และผู้ถูกร้องที่ 3 มีมติมอบให้ผู้ถูกร้องที่ 5 นำเอกสารข่ายงานดาวเทียม (fling) ที่ตำแหน่ง 120องศาตะวันออก ไปทำสัญญาร่วมกับบริษัท Asia Satelite Telecommunications Company Limited ซึ่งเป็นบริษัทเอกชนจากเขตบริหารพิเศษฮ่องกงแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 190 หรือไม่ นั้น เห็นว่า การยื่นคำร้องในปัญหาการทำหนังสือสัญญากับนานาประเทศหรือองค์การระหว่างประเทศ รัฐธรรมนูญ มาตรา 178 มิได้บัญญัติให้สิทธิแก่ประชาชนทั่วไปยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญได้
2. กรณีผู้ถูกร้องที่ 3 และผู้ถูกร้องที่ 4 ออกใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมแบบที่สามเลขที่ 3ก/55/002 ลงวันที่ 26 มิ.ย. 2555 เป็นการกระทำที่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2550 มาตรา 305 (1) และบทบัญญัติกฎหมายที่เกี่ยวข้อง หรือไม่นั้น เห็นว่ารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 305 (1) เป็นบทเฉพาะกาลเกี่ยวกับการจัดตั้งองค์กรเพื่อทำหน้าที่จัดสรรคลื่นความถี่ ฯ ซึ่งมิใช่เรื่องที่เกี่ยวกับการกระทำของผู้ถูกร้องที่ 3 และผู้ถูกร้องที่4
๓. กรณีพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียงวิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2562 ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2560 มาตรา 60 และมาตรา 274 หรือไม่ นั้น เห็นว่า การยื่นคำร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญตรวจสอบความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของกฎหมาย รัฐธรรมนูญบัญญัติให้สิทธิไว้เป็นการเฉพาะตามรัฐธรรมนูญมาตรา 212 และมาตรา 231 (1) ผู้ร้องไม่อาจยื่นคำร้องดังกล่าวตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 213
4. กรณีประกาศคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติเรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตให้ใช้สิทธิในการเข้าใช้วงโคจรดาวเทียมในลักษณะจัดชุด (Package) เมื่อวันที่ 14 พ.ค.2564ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 60 หรือไม่ นั้นเห็นว่า ประกาศดังกล่าวมิได้มีสถานะเป็น “บทบัญญัติแห่งกฎหมาย” ที่ตราขึ้นโดยฝ่ายนิติบัญญัติที่จะอยู่ในอำนาจศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย โดยศาลมีมติเป็นเอกฉันท์ มีคำสั่งไม่รับคำร้องไว้พิจารณาวินิจฉัย.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'แก้วสรร' แนะ 'ธีรยุทธ' ปรับยุทธวิธี เสริมความแกร่งของสำนวนมุ่งไปที่ กกต.-ปปช.
หลังตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ มีมติไม่รับไว้พิจารณาวินิจฉัย กรณีที่นายธีรยุทธ สุวรรณเกษร ในฐานะประชาชน ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ
แก้วสรร : ประเมินคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ
แก้วสรร อติโพธิ เผยแพร่บทความเรื่อง "ประเมินคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ" โดยมีเนื้อหาดังนี้
ศาลรธน.ยกคำร้อง 'ทักษิณ-เพื่อไทย' ล้มล้างการปกครอง เอกฉันท์ 5 ประเด็นเว้นประเด็น 2
จากกรณีที่นายธีรยุทธ สุวรรณเกษร ในฐานะประชาชน ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ เมื่อวันที่ 10 ต.ค. ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัย
'จตุพร' ตอกย้ำศาลรธน.รับคำร้องคดีล้มล้าง เพื่อหยุดอหังการอำนาจ เริ่มจุดเปลี่ยนบ้านเมือง
ลุ้นศาล รธน.พิจารณาคำร้อง 'จตุพร' เชื่อรับไว้วินิจฉัยเพื่อหยุดอหังการอำนาจ ลั่นจะเริ่มจุดเปลี่ยนบ้านเมือง เปิดความหวังประเทศก้าวเดินสู่ผลประโยชน์ชาติ
ระทึกสุดขีด! 22 พ.ย. ศาลรธน.ลงมติ 'รับ-ไม่รับ' คำร้อง 'ทักษิณ-เพื่อไทย' ล้มล้างการปกครอง
คอนเฟิร์ม ศุกร์นี้ 22 พ.ย. 9 ตุลาการศาลรธน.นัดประชุมวาระพิเศษ หลังงดมาสองรอบ เตรียมนำหนังสือ-ความเห็นอัยการสูงสุด กางบนโต๊ะประชุม ก่อนลุ้นโหวตลงมติ”รับ-ไม่รับคำร้อง”คดีทักษิณ-เพื่อไทย โดนร้องล้มล้างการปกครองฯ
'อนุทิน' เช็กสัญญาณ ครม.อิ๊งค์ ปมศาลรธน.นัดถกรับ-ไม่รับคำร้อง คดีทักษิณ-เพื่อไทย ล้มล้างการปกครอง
ที่ด่านพรมแดนบ้านผักกาด ตำบลคลองใหญ่ อำเภอโป่งน้ำร้อน จังหวัดจันทบุรี นายอนุชิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรมว.มหาดไทย กล่าวถึงกรณี ที่ในวันพรุ่งนี้(22 พ.ย.) ศาลรัฐธรรมนูญจะพิจารณารับคำร้อง