กรมสุขภาพจิต เผยฟุตบอลโลกยิ่งเข้มข้น สถานกาณ์พนันยิ่งเคร่งเครียด แจงสัญญานเสี่ยงจากการติดพนัน พร้อม แนะ หลักคิดดูแลตนเอง ช่วยให้ไม่เผลอใจหลงไปกับการพนันช่วงฟุตบอลโลก 2022
27 พ.ย. 2565 – แพทย์หญิงอัมพร เบญจพลพิทักษ์ อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวว่า ไม่เพียงแต่ในช่วงเทศกาลบอลโลก ในปัจจุบันช่องทางในการ การพนันมีหลากหลายรูปแบบ สามารถเข้าถึงแหล่งพนันได้ง่ายดาย ทั้งในรูปแบบออฟไลน์และออนไลน์ในทุกช่วงอายุ ไม่เว้นแม้ในกลุ่มเด็ก และเยาวชน ส่วนใหญ่เด็กและเยาวชนที่เล่นการพนันมักมีสภาพแวดล้อมที่ทำให้สุ่มเสี่ยง เช่น มีโต๊ะสนุกเกอร์อยู่ใกล้บ้าน เล่นบอล ฯลฯ ยิ่งปัจจุบันเข้าสู่โลกดิจิทัล รูปแบบการพนันออนไลน์ยิ่งเข้ามาปะทะตัวเด็กและเยาวชนได้ง่าย โดยเฉพาะเกมพนันที่ตอบสนองพฤติกรรม ของวัยรุ่น คือ รู้ผลเร็ว, เล่นได้ทุกที่ทุกเวลา
ทั้งนี้ ตนเอง ครอบครัวและคนใกล้ชิดสามารถสังเกตพฤติกรรมโรคติดพนันได้จากอาการ 3 ข้อ ได้แก่ 1.เมื่อพยายามหยุดหรือลดการเล่นพนัน จะกระสับกระส่าย หงุดหงิดง่าย ถึงพยายามหยุดหรือลดการเล่นพนัน ก็ทำไม่สำเร็จ ครุ่นคิดถึงแต่การพนันอย่างมาก 2.หลังจากเสียเงินพนัน จะกลับไปเล่นเพื่อเอาเงินคืน โกหกเรื่องการใช้เงิน เสี่ยงต่อการหาเงินอย่างผิด กฎหมาย และ 3.เพิ่มปริมาณเงินพนันมากขึ้นเรื่อย ๆ เพื่อให้คงความรู้สึกตื่นเต้นเท่าเดิม หากพบว่าบุคคลในครอบครัวหรือตนเองมี พฤติกรรม 1 ใน 3 ข้อที่กล่าวมา แสดงว่าเสี่ยงต่อการติดพนัน ทั้งนี้สำหรับผู้ที่อยากเลิกเล่นพนันให้สำเร็จด้วยตนเอง ขอให้ยึดหลักแนวคิด 3 ข้อ ดังนี้1.สร้างแรงจูงใจในการเลิกเล่น พิจารณาทบทวนผลกระทบของการเล่นพนันเช่น นึกถึงปัญหาที่เกิดขึ้นหรือผลลัพธ์ที่ตามมาใน การเล่นพนัน 2.สำรวจวิเคราะห์สาเหตุตัวกระตุ้นภายในหรือความความคิด อารมณ์ ที่ทำให้เล่นพนันเช่นความรู้สึกเบื่อ เครียด กังวล แล้ว วางแผนจัดการหลีกเลี่ยงจัดการความเสี่ยงที่จะกลับไปเล่นพนัน เช่น ไม่เปิดดู ไม่คุยกับกลุ่มที่เล่นพนัน ควรกำหนดวันเลิกเล่น ซึ่งเลิกเล่น เลยจะปลอดภัยที่สุด จนบางครั้งต้องจำกัดการเข้าถึงแหล่งพนัน เช่น ไม่ใช้อินเตอร์เนทชั่วคราว เป็นต้น 3.หาทางเลือกกิจกรรมอื่นๆที่ ดีกว่าไปทำ แลพตระหนักถึงปัญหาที่เกิดขึ้นและผลลัพธ์ที่จะตามมาหากยังไปเล่น และหมั่นคิดถึงเป้าหมายในชีวิตที่มีความสุขเป็นสำคัญ
แพทย์หญิงบุญศิริ จันศิริมงคล ผู้อำนวยการสำนักความรอบรู้สุขภาพจิต กล่าวว่า การพนันถูกออกแบบมาให้คนติดง่าย เมื่อเรา ตกไปในวังวนนี้ บางคนก็ไม่สามารถออกมาจากการเสพติดนี้ได้ การติดพนันทำให้หลายคนติดกับดักวงจรชีวิตด้านมืด ยากแก่การหา ทางออก เช่น เป็นหนี้ โกหก ลักขโมย ไม่มีสมาธิเรียน เสียงาน ติดสิ่งเสพติดอื่น มักหงุดหงิดก้าวร้าว นำไปสู่ความแตกร้าวของสัมพันธภาพ ระหว่างกันในครอบครัว ดังนั้นเมื่อทราบว่าสมาชิกในครอบครัวกำลังประสบปัญหาการติดพนัน ควรรับฟังและช่วยเหลืออย่างตั้งใจ เข้าใจ ให้ความรัก ไม่กล่าวโทษ หรือใช้ถ้อยคำอารมณ์รุนแรง และควรเพิ่มพลังใจให้กัน เป็นตัวอย่างที่ดีให้แก่ผู้มีปัญหาพนัน เพื่อช่วยกันหาทาง จัดการปัญหาที่วิกฤตได้ทันท่วงทีและส่งต่อบำบัดได้อย่างเหมาะสม นับว่าช่วยเหลือผู้ที่มีปัญหาติดพนันเลิกพนันได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ผู้อยากเลิกพนันนั้น สามารถรักษาให้หายได้ อย่างไรก็ตาม หากไม่รักษาปรับพฤติกรรมที่เหมาะสมจะทำให้เกิดปัญหาชีวิตตามมาอีก มากเช่น ปล้นชิงทรัพย์ ล่อลวงเงิน ขายบริการทางเพศ ค้ายาเสพติด มีโอกาสติดเหล้า เกิดภาวะซึมเศร้า และพยายามฆ่าตัวตาย เป็นต้น กรมสุขภาพจิต จึงขอเน้นย้ำว่า ครอบครัวควรสังเกตอาการสัญญาณเตือนและให้คำแนะนำปรึกษา เพื่อให้โอกาสผู้ที่มีปัญหาติด พนันมีกำลังใจเกิดแรงจูงใจเพื่อเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีทั้งนี้ยังสามารถรับบริการสายด่วนสุขภาพจิต 1323 ให้คำปรึกษาฟรีตลอด 24 ชั่วโมงเพื่อลดภาวะเครียดและรับคำแนะนำสถานที่บำบัดรักษาได้หรือติดต่อหน่วยบริการสังกัดกรมสุขภาพจิตทั่วประเทศ
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'กรมสุขภาพจิต' ขอความร่วมมือ หลีกเลี่ยง สร้างภาพจาก AI จะเร้าอารมณ์ผู้ที่กำลังโศกเศร้า
เพจ กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข โพสต์ข้อความว่า ขอความร่วมมือเขียนข้อความไว้อาลัยอย่างเหมาะสม โดย ”หลีกเลี่ยง“ การวาดภาพประกอบขึ้นมาใหม่หรือสร้างภาพจาก AI
เคาะ 6 ข้อเสนอ แผน 'สุขภาพจิตชุมชน' พร้อมดันสู่วาระชาติ
นายชาญชัย ทองสัมฤทธิ์ ผู้อำนวยสถาบันพัฒนาศักยภาพเพื่อความเท่าเทียมทางสังคม มูลนิธิบุญยง-อรรณพ นิโครธานนท์ ตัวแทนแกนนำขับเคลื่อนโครงการพัฒนาความร่วมมือ
'กรมสุขภาพจิต' ส่งทีมเยียวยาจิตใจ ผู้ประสบอุทกภัยเชียงใหม่-เชียงราย
'กรมสุขภาพจิต' ส่งทีมเยียวยาจิตใจผู้ประสบภัยน้ำท่วม ทั้งเชียงใหม่-ศูนย์พักพิงจังหวัดเชียงราย โดยเฉพาะเด็กและผู้สูงอายุ ชี้ยิ่งนานยิ่งน่าห่วง
กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ จับมือ กรมสุขภาพจิต สานพลัง สร้างสรรค์สื่อ เพื่อส่งเสริมสุขภาพจิตสู่สังคม
15 สิงหาคม 2567 กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ โดย ดร.ธนกร ศรีสุขใส ผู้จัดการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ได้ลงนามความร่วมมือกับ นายแพทย์พงศ์เกษม ไข่มุกด์ อธิบดีกรมสุขภาพจิต โดยมีผู้บริหาร ดร.ชำนาญ งามมณีอุดม