
27 พ.ย. 2565 – สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 1,044 คน (สำรวจทางออนไลน์) ระหว่างวันที่ 19-24 พฤศจิกายน 2565 พบว่า เอกลักษณ์ของอาหารไทย คือ ความพิถีพิถัน ความประณีตสวยงาม ร้อยละ 83.96 รองลงมาคือ อาหารไทยมีประโยชน์ เป็นยา มีคุณค่าตามหลักโภชนาการ ร้อยละ 81.17 เมนูอาหารไทยที่เป็นเอกลักษณ์ไทย อันดับ 1 คือ “ต้มยำกุ้ง” ร้อยละ 57.65 รองลงมาคือ ผัดไทย ร้อยละ 33.17 สิ่งที่เป็นห่วงหรือกังวลเกี่ยวกับอาหารไทย คือ การรักษาสูตรต้นตำรับและรสชาติดั้งเดิม ร้อยละ 90.75 โดยมองว่าภาครัฐควรส่งเสริมอย่างจริงจัง ผลักดันเป็น Soft Power ร้อยละ 88.85 ทั้งนี้หน่วยงานที่จะช่วยส่งเสริมอาหารไทย คือ คนไทยทุกคน ร้อยละ 70.00 รองลงมาคือ กระทรวงวัฒนธรรม ร้อยละ 65.38 สุดท้ายมองว่าการประชุมเอเปค 2022 ที่จบไปนั้นช่วยส่งเสริม “อาหารไทย…เอกลักษณ์ไทย” ได้ค่อนข้างมาก ร้อยละ 51.44
คนไทยมองว่าเอกลักษณ์ของอาหารไทยคือ “ความพิถีพิถัน ความประณีต สวยงาม” ซึ่งเป็นการถ่ายทอดวัฒนธรรมไทยได้เป็นอย่างดีผ่านเมนูอาหารไทยต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมนูที่เป็นที่รู้จักกันทั่วโลกอย่าง “ต้มยำกุ้ง” “ผัดไทย” หรือแม้กระทั่ง “ส้มตำ” ก็เป็นที่นิยมมากขึ้น แต่ด้วยการไหลของวัฒนธรรมการกิน ทำให้รสชาติและสูตรมีการดัดแปลงจนทำให้เกิดความผิดเพี้ยน ดังนั้นการรักษาสูตรและรสชาติดั้งเดิมจึงเป็นสิ่งสำคัญ ภาครัฐจึงควรส่งเสริม รักษา และส่งต่ออีกหนึ่ง Soft Power ไทยสู่สายตาชาวโลก
ผศ.อัครพล ไวเชียงค้า อาจารย์ประจำหลักสูตรคหกรรมศาสตร์ โรงเรียนการเรือน มหาวิทยาลัยสวนดุสิตจากการจัดสนทนากลุ่มเรื่องอาหารไทย…เอกลักษณ์ไทย พบว่า อาหารไทยเป็นอาหารที่มีเรื่องราวและความเก่าแก่มายาวนาน มีจุดเชื่อมโยงมาจาก “ข้าว” ซึ่งเป็นอาหารหลักในภูมิภาคนี้ อาหารไทยปัจจุบันผ่านการรับรู้และนำไปประกอบอาชีพทั้งในและต่างประเทศ การส่งเสริมเพื่อสร้างความยั่งยืนให้กับอาหารไทยมองว่าหลายภาคส่วนต้องทำงานร่วมกัน การส่งเสริมอาหารไทยจึงควรสร้างการดึงดูดและการมีส่วนร่วมให้กับผู้รับประทาน ผ่านการนำเสนอด้วยการเล่าเรื่องราว (Story Telling) ผ่านช่องทางต่าง ๆ โดยเฉพาะสื่อดิจิทัลเพื่อให้เกิดการรับรู้และสานต่ออาหารไทยในมุมมองอันหลากหลาย
ผศ.กาญจนา เฟื่องศรี อาจารย์ประจำหลักสูตรคหกรรมศาสตร์ โรงเรียนการเรือน มหาวิทยาลัยสวนดุสิตอาหารไทยเป็นอาหารที่มีเอกลักษณ์เฉพาะในหลายมิติด้วยกัน อาทิ อาหารไทยที่มีเอกลักษณ์ตามภูมิศาสตร์ ภูมิปัญญา ฤดูกาล รสชาติ วัตถุดิบ ความประณีต ความพิถีพิถัน เป็นต้น ซึ่งทั้งหมดนี้ล้วนเป็นจุดเชื่อมโยงผ่านการรับประทานอาหารแบบสำรับซึ่งก็เป็นเอกลักษณ์ของอาหารไทยที่มีมาอย่างช้านาน นอกจากนี้การทราบเรื่องราวความเป็นมาและคุณสมบัติของอาหารผ่านการเรียนรู้ในรูปแบบต่างๆ เป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้เอกลักษณ์ของอาหารไทยสามารถคงอยู่และต่อยอดได้ในอนาคต ดังนั้น สถาบันการศึกษาจึงมีบทบาทสำคัญ และทุกภาคส่วนจะต้องร่วมมือกันเพื่อผลักดันอาหารไทย…เอกลักษณ์ไทยต่อไป
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ภูมิปัญญาโบราณล้านนา อาวุธลับของ Soft Power เปรียบเทียบ เมืองเชียงใหม่ กับ เมืองเกียวโต
Soft Power หรือ “อำนาจละมุน” คือความสามารถในการดึงดูดและโน้นน้าวผู้คนโดยไม่ต้องใช้อำนาจหรือกำลังในการบังคับ แต่มีพลังเหลือล้นด้วยการใช้วัฒนธรรม ค่านิยม ซึ่งถือได้ว่า Soft Power เป็นเครื่องมือสร้างอิทธิพล ตามแนวคิด Joseph Nye นักรัฐศาสตร์ชาวอเมริกันที่ได้นำเสนอไว้ เมื่อกล่าวถึงวัฒนธรรม ค่านิยม ทำให้ภาพของ “เชียงใหม่” ปรากฏขึ้นมาในความคิด เชียงใหม่มีวัฒนธรรมที่งดงาม มีการสืบสานประเพณีที่ส่งต่อมาจากรุ่นสู่รุ่นอย่างมิเคยเลือนหาย วัฒนธรรมทางด้านศิลปะล้านนา ประเพณี วัดวาอาราม สถานที่ทางวัฒนธรรมต่างๆ ล้วนแล้วแต่เป็น อำนาจละมุน ทั้งสิ้น และยังคงทรงพลังอยู่เสมอมา เชียงใหม่จึงเป็นเมืองที่มีศักยภาพ ที่อบอวลไปด้วยกลิ่นอายของวัฒนธรรมล้านนา ภูมิปัญญาท้องถิ่น ธรรมชาติที่งดงาม มีวิถีชีวิตที่มีความเรียบง่ายกับความลึกซึ้งได้อย่างลงตัว
'อดีตทูตนริศโรจน์' ตาสว่างแล้วทำไมคณะ กก.แฟชั่นซอฟต์พาวเวอร์ไขก๊อกยกชุด
นายนริศโรจน์ เฟื่องระบิล อดีตเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงบัวโนสไอเรส
เก่งกว่านายใหญ่! 'พิชัย' เผยคิดไอเดียซื้อหนี้ธนาคารได้ก่อน 'ทักษิณ' ระบุ มี 2-3 แผน
ที่ทำเนีบรัฐบาล นายพิชัย ชุณหวชิร รองนายกรัฐมนตรี และรมว.คลัง กล่าวถึงแนวคิดของนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เรื่อง ซื้
ประชาชนไม่เชื่อมือรัฐบาลแก้ปัญหาปากท้อง
สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นประชาชนทั่วประเทศ เรื่อง “ปัญหาเร่งด่วนของคนไทย ณ วันนี้” กลุ่มตัวอย่างจำนวน 1,264 คน (สำรวจทางออนไลน์และภาคสนาม) ระหว่างวันที่ 11 - 14 มีนาคม 2568 พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มองว่าปัญหาเร่งด่วนที่อยากให้รัฐบาลแก้ไขมากที่สุด
‘ดัชนีการเมือง’ เดือน ก.พ. คะแนนฝ่ายค้านสูงขึ้น
สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นประชาชนทั่วประเทศ เรื่อง “ดัชนีการเมืองไทย ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2568” กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 2,179 คน (สำรวจทางออนไลน์และภาคสนาม) ระหว่างวันที่ 24-28 กุมภาพันธ์ 2568 พบว่า กลุ่มตัวอย่างให้คะแนนภาพรวมดัชนีการเมืองไทยประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2568 เฉลี่ย 5.02 คะแนน ลดลงจากเดือนมกราคม 2568 ที่ได้ 5.06 คะแนน