26 พ.ย.2565 - นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า นายมุน ซึง-ฮย็อน (Mr. Moon Seoung-hyun) เอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็มแห่งสาธารณรัฐเกาหลีประจำประเทศไทย และคณะ ได้เข้ามาพบเพื่อเยี่ยมคารวะเนื่องในโอกาสเข้ารับตำแหน่งและหารือประเด็นด้านแรงงาน เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายนที่ผ่านมา ที่กระทรวงแรงงาน
โดยรัฐบาลไทยภายใต้การนำของท่าน พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และท่าน พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ที่กำกับดูแลกระทรวงแรงงาน ได้ให้ความสำคัญกับการจัดส่งแรงงานไทยไปทำงานต่างประเทศ เพื่อให้คนไทยมีงานทำ ยกระดับทักษะฝีมือ นำรายได้กลับมาพัฒนาประเทศ ซึ่งในเรื่องนี้เป็นพลพวงจากการประชุมเอเปคที่ผ่านมา เนื่องจากนายกรัฐมนตรีได้ให้เป็นตัวแทนไปส่งนายกรัฐมนตรีสาธารณรัฐเกาหลีภายหลังเสร็จสิ้นการประชุม และได้มีโอกาสพบปะพูดคุยกันในประเด็นความร่วมมือด้านแรงงาน โดยเฉพาะการแก้ไขปัญหาแรงงานไทยที่เข้าไปพำนักในเกาหลีอย่างผิดกฎหมายรวมถึงการขอเพิ่มโควตาการจัดส่งแรงงานไทยไปทำงานในเกาหลีด้วย
นายสุชาติ กล่าวต่อว่า จากการพบกับท่านทูตเกาหลีในวันนี้ทั้งสองฝ่ายได้หารือในประเด็นสำคัญ 2 ประเด็น คือ การขอเพิ่มโควตาการจัดส่งแรงงานไทยไปทำงานในประเทศเกาหลีใต้ในปี 2566 ทั้ง 3 กลุ่ม คือ กลุ่มแรก วีซ่าทำงานประเภท E-9 (แรงงานทั่วไป) ที่จัดส่งตามระบบการจ้างแรงงานต่างชาติ (EPS) ขอเพิ่มโควตาจากเดิมที่เคยจัดส่งไปปีละ 2,500 คน เป็น 5,000 คน กลุ่มที่ 2 วีซ่าทำงานประเภท E-7 (แรงงานประเภททักษะ/แรงงานฝีมือ) ไปทำงานสาขาช่างเชื่อม ช่างทาสี ในอุตสาหกรรมอู่ต่อเรือ จำนวน 5,000 คน และกลุ่มที่ 3 วีซ่าทำงานประเภท E-8 (แรงงานเกษตรตามฤดูกาล) จำนวน 5,000 คน รวมเป็นจำนวนทั้งสิ้น 15,000 คน ซึ่งจากเดิม 2,500 คนเพิ่มเป็น 15,000 คน คิดเป็นกว่า 600 เปอร์เซ็นต์
ทั้งนี้ ในอนาคตเกาหลียินดีที่จะเพิ่มโควตาให้แรงงานไทยได้เข้าไปทำงานในเกาหลีมากขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากปัจจุบันเกาหลีกำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุและประสบปัญหาขาดแคลนแรงงานจึงมีความต้องการนำเข้าแรงงานต่างชาติจำนวนมาก ที่สำคัญนายจ้างเกาหลีชื่นชอบแรงงานไทยเป็นอย่างมาก เพราะแรงงานไทย ขยัน ทำงานเก่ง ส่วนประเด็นกรณีคนไทยที่ลักลอบเข้าไปพำนักในเกาหลีอย่างผิดกฎหมายนั้น รัฐบาลไม่ได้นิ่งนอนใจ ขณะนี้กระทรวงแรงงาน โดยกรมการจัดหางานได้ดำเนินการตรวจสอบสืบค้นข้อมูลและดำเนินคดีกับบริษัททัวร์ที่ลักลอบพาคนไทยเข้าไปพำนักในเกาหลีอย่างผิดกฎหมายแล้วจำนวน 37 ราย
“ผลพวงจากการประชุมเอเปคที่ผ่านมา ทำให้เกิดความร่วมมือตามมาในหลายๆ ด้าน รวมถึงความร่วมมือด้านแรงงานกับประเทศต่าง ๆ และจากการหารือในครั้งนี้ จะเป็นนิมิตรหมายที่ดีที่รัฐบาลและกระทรวงแรงงานได้กระชับความร่วมมือกับประเทศต่างๆ ให้แน่นแฟ้นมากยิ่งขึ้น ซึ่งถือเป็นโอกาสดีของคนไทยที่จะได้ไปทำงานในต่างประเทศมากยิ่งขึ้น เพื่อให้คนไทยมีงานทำ มีโอกาสพัฒนาทักษะฝีมือให้สูงขึ้น และนำรายได้กลับมาพัฒนาประเทศ รวมทั้งช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันอีกด้วย”นายสุชาติ กล่าวท้ายสุด
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
"พิพัฒน์” ลุยเพื่อแรงงาน ถกประกันสังคมเอสโตเนีย ยกระดับบริการให้สิทธิประโยชน์ผู้ประกันตน
เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2567 นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน พร้อมด้วย นายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน นางมารศรี ใจรังษี
อย่าหลงเชื่อ! มิจฉาชีพใช้โซเชียลหลอกไปทำงานฟาร์มออสเตรเลีย
รัฐบาลเตือนภัยอย่าหลงเชื่อกลุ่มมิจฉาชีพใช้โซเชียลหลอกทำงานฟาร์มออสเตรเลีย ย้ำรัฐบาลออสเตรเลีย ยังไม่มีความร่วมมือกับไทยด้านการส่งแรงงานและยังไม่มีนโยบายการออกวีซ่าเกษตรให้กับคนไทย
"พิพัฒน์“ รุก! เพื่อแรงงาน เพิ่มรายได้กองทุนฯ พบบริษัทจัดการสินทรัพย์สวีเดน กางแผนผลตอบแทนระยะยาวเฉลี่ย 8 -10% ต่อปี เพื่อกองทุนยืน
เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2567 นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน พร้อมด้วย นายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน นางมารศรี ใจรังษี
‘พิพัฒน์’ห่วงแรงงานไทย นำคณะ ถก ! ระบบบำนาญสวีเดน สร้างมาตรฐาน พัฒนาบริการผู้ประกันตน รองรับสังคมสูงอายุ
มื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2567 นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน พร้อมด้วย นายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน นางมารศรี ใจรังษี ผู้ตรวจราชการกระทรวงแรงงาน รักษาราชการแทน เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม คณะกรรมการประกันสังคม และที่ปรึกษา (ชุดที่ 14) รวมถึงผู้บริหาร
‘อิ๊งค์’ โชว์30บ. เวทีผู้นำเอเปก
นายกฯ อิ๊งค์โชว์ผลงาน 30 บาทรักษาทุกที่ บนเวทีผู้นำภาคเอกชนเอเปก พร้อมชวนลงทุนด้านธุรกิจดูแลสุขภาพในไทย มั่นใจหลังให้นโยบาย “บีโอไอ”
นายกฯแพทองธาร สวมชุดผ้าไหมไทย ร่วมงานเลี้ยงผู้นำเอเปก
น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี สวมชุดผ้าไหมไทย ซึ่งเป็นผ้าไหมผสมผสานผ้าปักชาวเขา เข้าร่วมงานเลี้ยงอาหารค่ำ เพื่อเป็นเกียรติ