ผู้เชี่ยวชาญ เตือนฝนหลงฤดูตกหนัก ระวังน้ำท่วมรอระบายในเมือง

21 พ.ย.2565-รศ.ดร.เสรี ศุภราทิตย์ รองประธานกรรมการมูลนิธิสภาเตือนภัยพิบัติแห่งชาติ โพสต์ข้อความบนเฟซบุ๊กว่า ตั้งแต่วันที่ 22-25 พฤศจิกายนฝนตกหนักหลงฤดูทั่วทุกภาค (แต่ลมไม่แรงมาก อุณหภูมิสูงขึ้นมานิดหน่อย) จากหย่อมความกดอากาศต่ำในทะเลจีนใต้ และทะเลอันดามัน เริ่มจากภาคอีสานล่าง (วันที่ 22 พ.ย.) ต่อเนื่องภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคอีสาน ภาคใต้ตอนบน (วันที่ 23-24-25 พ.ย.) และค่อยๆเบาลงทั่วทุกภาค (วันที่ 26 พ.ย.) เกษตรกรควรงดตากผลผลิตในช่วงวันดังกล่าว  พื้นที่เปิดในต่างจังหวัด พื้นที่ที่มีความชื้นในดินต่ำ ประกอบกับระดับน้ำในแม่น้ำ ลำคลองลดต่ำลงกว่าตลิ่งจะมีความเสี่ยงน้ำท่วมต่ำ แต่พื้นที่ปิดในเมืองพื้นผิวแข็ง รวม กทม. และปริมณฑล จะมีความเสี่ยงสูงกว่าจากน้ำท่วมรอระบาย จึงควรวางแผนการเดินทางช่วงวันที่ 23-24-25 พฤศจิกายนนี้ด้วยน่ะครับ

ผม และคณะทำงานฯได้เดินทางไปสำรวจน้ำภาคอีสาน (ขอนแก่น ร้อยเอ็ด) วันที่ 17-18 พฤศจิกายน  (หลังน้ำลด) พบว่ายังคงมีน้ำค้างทุ่งอยู่ปริมาณมาก และบางแห่งเริ่มเน่าเสีย โดยเฉพาะในลุ่มน้ำชี สำรวจผนังกั้นน้ำขาดหลายแห่ง สำรวจสภาพตลิ่งซึ่งปัจจุบันน้ำกำลังลดลง และปัญหาวิกฤติที่จะตามมาคือ ตลิ่งกำลังพังจาก Rapid drawdown (ระดับน้ำลดลงอย่างรวดเร็ว) เนื่องจากเป็นตลิ่งแบบดินปนทราย จะต้องใช้งบประมาณมหาศาล จึงควรแก้ปัญหาให้ตรงจุด ร่วมกับท้องถิ่น ชาวบ้าน สถานศึกษา (นวัตกรรม Soil cement เป็นทางออกหนึ่งที่ประหยัด และรวดเร็วในการทำงาน)

พื้นที่ภาคอีสานกลับมาแล้งอีก หลังจากน้ำท่วมหนัก 2-3 เดือนที่ผ่านมา มันเกิดอะไรขึ้น เรื่องของการจัดการทั้งนั้นเลย ด้าน Supply  มีอ่างเก็บน้ำ พื้นที่ชุ่มน้ำหลายแห่งไม่มีน้ำ ตื้นเขิน ทั้งๆที่เพิ่งท่วมไป ห้วยหนอง คลองบึง ฝนทุกเม็ด น้ำทุกหยด ต้องกัก เก็บ หน่วง และใช้เป็นน้ำต้นทุน ในขณะเดียวกันด้าน Demand ต้องถามตรงๆว่าเราใช้น้ำกันอย่างมีประสิทธิภาพ และเกิดประสิทธิผลหรือไม่ ทำไมผลผลิตข้าวต่อไร่เราต่ำกว่าค่าเฉลี่ยโลก ทำไมชาวนายิ่งทำ ยิ่งจน ทำมาก ได้น้อย และทำไมปล่อยปะละเลยกันมาหลายสิบปี คิดกันเฉพาะโครงการใหม่ๆ ใหญ่ๆ งบประมาณมากๆ คันกั้นน้ำพังทุกปี ชาวบ้านรับเคราะห์ทุกปี ตั้งงบประมาณซ่อมแซมทุกปี ผมรับประกันได้เลยว่าถ้าทำตามสิ่งที่ผมพูดมาทั้งหมด ใช้คนรู้พื้นที่จริง ศึกษาจริง ทำจริง มีเจ้าภาพชัดเจน ภายใน 5 ปี ภาคอีสานจะไม่มีท่วม และไม่มีแล้ง และ จะกลับมาสมบูรณ์พูลสุขตลอดไป

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เดินตามแนวพระราชดำริ...ช่วยบรรเทาปัญหาน้ำท่วมชุมพร

ในช่วงวันที่ 13-15 ธันวาคม 2567 ที่ผ่านมามรสุมตะวันออกเฉียงเหนือกำลังค่อนข้างแรงได้พัดปก คลุมอ่าวไทยและภาคใต้ ประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณภาคใต้ตอนล่างเคลื่อนลงสู่ทะเลอัน

กรมอุตุฯ ประกาศพายุดีเปรสชันฉบับ 3 เตือนฝนตก 25-26 ธ.ค.

นางสาวสุกันยาณี ยะวิญชาญ อธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา ออกประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา เรื่อง พายุดีเปรสชัน บริเวณทะเลจีนใต้ตอนล่าง ฉบับที่ 3 โดยมีใจความว่า

อุตุฯ เตือนอากาศเย็นถึงหนาว อุณหภูมิสูงขึ้น 1-2 องศา ใต้ฝนฟ้าคะนอง 10-20%

กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้าว่า บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นที่ปกคลุมประเทศไทยตอนบน และภาคใต้ตอนบนเริ่มมีกำลังอ่อนลง

หนาวสะท้าน! ยอดดอย ’เลย-เชียงใหม่’ 7 องศาฯ อ.คลองหลวง ปทุมธานี 18.5 องศาฯ

กรมอุตุนิยมวิทยา รายงานอุณหภูมิต่ำสุดบริเวณประเทศไทย เช้าวันนี้ (22 ธ.ค. 67) วัดได้  11.0 องศาเซลเซียส บริเวณภาคเหนือ ที่ อ.อุ้มผาง จ.ตาก และบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่ อ.เมืองเลย จ.เลย

เลย หนาวจัดแม่คะนิ่งอวด ยอดภูกระดึง 8.5  องศา

สภาพอากาศจังหวัดเลย ใน 14 อำเภอ ทุกพื้นที่ยังคงหนาวเย็นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะยอดภูหรือตามอุทยานต่างๆในจังหวัดเลย จะมีอากาศลดลงหนาวถึงหนาวจัดไปจนถึงปลายปี

"วราวุธ" ย้ำ พม. ห่วงใย เหตุน้ำท่วมใต้ กำชับเยียวยากลุ่มเปราะบาง

วันที่ 21 ธันวาคม 2567 นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (รมว.พม.) เปิดเผยว่า ตามที่กระทรวง พม. ดำเนินการขับเคลื่อนศูนย์บริหารการดูแลกลุ่มเปราะบางจากภัยพิบัติ