'เสรี ศุภราทิตย์' เปิดข้อมูลสำคัญ เส้นทางนรกของสภาพภูมิอากาศ สังคมไทยต้องเรียนรู้

17 พ.ย.2565 - รศ.ดร.เสรี ศุภราทิตย์ รองประธานกรรมการมูลนิธิสภาเตือนภัยพิบัติแห่งชาติ โพสต์ข้อความบนเฟซบุ๊กว่า #COP27กับการเปลี่ยนผ่านจากรหัสแดงสู่เส้นทางนรกของสภาพภูมิอากาศ #การเปลี่ยนผ่านจากการพัฒนาอย่างยั่งยืนไปสู่CRD

แม้จะเป็นเรื่องยากต่อความเข้าใจ แต่สังคมไทยต้องเรียนรู้ เพราะอนาคตลูกหลานไทยขึ้นอยู่กับการกระทำในอดีต-ปัจจุบันของพวกเรา สถานการณ์ล่าสุดของโลกร้อน การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ รวมถึงการปลดปล่อยแก๊สเรือนกระจกกำลังเผชิญกับจุดพลิกผันของวิกฤติสภาพภูมิอากาศที่ไม่สามารถหวนคืนกลับได้ เสมือนว่าเรากำลังอยู่บนถนนที่มุ่งไปสู่นรกของสภาพภูมิอากาศ (Climate hell) ตามคำกล่าวของเลขาธิการสหประชาชาติ อันโตนิโอ กูเตอร์เรส ในการเปิดประชุม COP27 ที่ประเทศอียิปต์ เมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายนที่ผ่านมา

ผมในฐานะหนึ่งในคณะทำงาน IPCC ซึ่งได้ร่วมประเมินกับนักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกมีข้อมูลวิทยาศาสตร์ที่สำคัญหลายประการ กล่าวคือ 1) การปลดปล่อยแก๊สเรือนกระจกโดยรวมในปัจจุบันเพิ่มขึ้นประมาณ 12% และ 54% (จากปี 2553 และ 2543) แต่ในทางกลับกันจะต้องทำให้ลดลง 7.6 % และ 2.7% ต่อปี (ระหว่างปี 2563-2573) เพื่อจะรักษาอุณหภูมิไม่ให้เกิน 1.5 และ 2oC ตามลำดับ 2) IPCC ยังได้ทำการประเมิน 8 แนวทางเดินที่มีความเป็นไปได้ 0-38%, 0-90% และ 4-99% ที่โลกจะมีอุณหภูมิเพิ่มขึ้น < 1.5oC, < 2oC และ < 3oC ตามลำดับ 3) การประเมินรายงานฉบับล่าสุดของทุกประเทศ NDC (National Determined Contribution) พบว่าอุณหภูมิโลกมีแนวโน้มสูงขึ้น 2.7-3oC (หากสามารถดำเนินการได้ตามแผนฯ แต่ยังไม่สามารถบรรลุข้อตกลงปารีสได้) 4) IPCC ได้ประเมินความเสี่ยง 50% ในระยะสั้นภายใน 5 ปี ที่อุณหภูมิเฉลี่ยโลกจะสูงเกิน 1.5oC และ 5) การที่จะหลีกเลี่ยงสถานการณ์ดังกล่าวยังมีหนทาง (แม้ว่าค่อนข้างแคบ) โดยจะต้องร่วมมือกันอย่างเร่งด่วนทั้งมาตรการลดการปลดปล่อยทันที (Deep emission cut) ให้ได้ประมาณ 50% ภายในปี 2573 และต้องก้าวเข้าไปสู่การปลดปล่อยสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี 2593 พร้อมทั้งมาตรการการปรับตัวผสมผสานระหว่าง Nature-base และ Engineering-base

การสูงขึ้นของอุณภูมิโลกเกิน 1.5oC จะส่งผลกระทบแบบแพร่หลาย รวดเร็ว และรุนแรง ไปทั่วโลกตามรหัสแดง (คลื่นความร้อน ภัยแล้ง ฝนตกหนัก อุทกภัย และระดับน้ำทะเลสูงขึ้น) โดยเฉพาะประเทศที่มีความเปราะบางต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (ประเทศกำลังพัฒนา ประเทศหมู่เกาะต่างๆ รวมทั้งประเทศไทย) ดังกรณีศึกษาตัวอย่างน้ำท่วมใหญ่ภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือในปี 2565 ดังนั้น การวางยุทธศาสตร์และ การออกแบบฉากทัศน์ประเทศไทยในอนาคต จึงมีความสำคัญมากเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศส่งผลกระทบต่อความมั่นคงด้านอาหาร ความมั่นคงด้านพลังงาน และความมั่นคงทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม หลายๆประเทศจึงได้วางแผนรองรับรหัสแดง รวมทั้งการสร้างเกราะป้องกันเส้นทางนรกของสภาพภูมิอากาศดังกล่าวข้างต้น

ในขณะที่การประชุม COP27 กำลังก้าวสู่กลางช่วงของการเจรจาในหลายเวที มีการพูดกันเรื่องการเปลี่ยนผ่านจากการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Development, SD) ไปสู่การพัฒนาแบบ Climate Resilient (CRD) เนื่องจากการพัฒนาอย่างยั่งยืนมีการแยกส่วนมาก ไม่มีการกล่าวถึงความเป็นมาในอดีต และไม่ได้พูดถึงความเสี่ยงในอนาคต ตัวอย่างเช่น ประเทศที่ได้รับการประเมินว่ามีการพัฒนาอย่างยืนในปัจจุบัน ยังคงต้องเผชิญความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในอนาคต และอาจจะไม่ยั่งยืนในอนาคตนั่นเอง จึงเป็นที่มาของ Climate Resilient Development ซึ่งเป็นเรื่องใหม่สำหรับโลกที่สังคมไทยควรเรียนรู้

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'ดร.ธรณ์' ชี้มหาพายุเฮอริเคน 'มินตัน' สภาพอากาศสุดขั้ว คนอเมริกานับล้านต้องอพยพหนี

ผศ.ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ นักวิชาการด้านทะเลและสิ่งแวดล้อม อาจารย์ประจำภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า

'โลกร้อน-โลกเดือด'! กระทบ 'พะยูน' เข้าใกล้จุดสูญพันธุ์

เป็นที่รับรู้กันมานานแล้วว่า พะยูนเป็นสัตว์ทะเลหายาก มีความเสี่ยงใกล้สูญพันธุ์ แต่สถานการณ์ปัจจุบันยิ่งทำให้พะยูน ก้าวข้าม

ภัยคุกคาม ท่วมหนัก แล้งรุนแรง 'ดร.เสรี' ปลุกร่วมกันทำงานกับทีมกู้วิกฤตน้ำภาคประชาชน

รศ.ดร.เสรี ศุภราทิตย์ ผู้อำนวยการศูนย์การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศและภัยพิบัติ ม.รังสิต และรองประธานมูลนิธิสภาเตือนภัยพิบัติแห่งชาติ โพสต์เฟซบุ๊กว่า

อากาศแปรปรวน! ดร.เสรี เตือน 23-24 ก.ย. ‘เหนือ-อีสานบน’ ฝนหนัก 26 ก.ย. เริ่มร้อน

สภาพอากาศแปรปรวนโดยจะมีมวลอากาศเย็นจากแผ่นดินใหญ่มาปกคลุมภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 23-24 กันยายนนี้

พายุเข้ามาที่ชายฝั่งเวียดนาม 'ดร.ธรณ์' แนะหน่วยงานในพื้นที่เตรียมตัวแจ้งเตือนหากฉุกเฉิน

ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านนิเวศน์ทางทะเล และรองคณบดี คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โพสต์เฟซบุ๊ก ว่า