16 พ.ย.2565 - เมื่อเวลา 11.30 น. ที่ท่าอากาศยานทหาร 2 กองบิน 6 (บน.6) ดอนเมือง กรุงเทพฯพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม พร้อมภริยา ต้อนรับนายเหวียน ซวนฟุก ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม และภริยา โอกาสเดินทางเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการ ในฐานะแขกของรัฐบาล และเข้าร่วมประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจ
ต่อมาเวลา 16.00 น. ที่บริเวณสนามหญ้าหน้าตึกไทยคู่ฟ้า ทำเนียบรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ให้การต้อนรับ นายเหวียน ซวน ฟุก โดยนายกรัฐมนตรีและประธานาธิบดีเวียดนาม ได้ร่วมตรวจแถวกองทหารเกียรติยศ ณ บริเวณสนามหญ้าหน้าตึกไทยคู่ฟ้า จากนั้นนายกรัฐมนตรีเชิญประธานาธิบดีเวียดนามไปยังห้องสีงาช้างด้านนอก เพื่อลงนามในสมุดเยี่ยม และได้หารือความร่วมมือเต็มคณะ ในเวลา 16.25 น. ที่ตึกภักดีบดินทร์ โดยผู้นำทั้งสองได้ร่วมกันหารือเกี่ยวกับความร่วมมือ โดยฝ่ายไทยมีบุคคลสำคัญเข้าร่วม ได้แก่ นายดอน ปรมัตถ์วินัย รองนายกรัฐมนตรีและรมว.ต่างประเทศ นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรีและรมว.พลังงาน นายเฉลิมชัย ศรีอ่อนรมว.เกษตรและสหกรณ์ นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รมว.ยุติธรรม นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจรมว.อุตสาหกรรม นายสุชาติ ชมกลิ่น รมว.แรงงาน นายจุติ ไกรฤกษ์ รมว.พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ นายสินิตย์ เลิศไกร รมช.พาณิชย์
โดยนายกรัฐมนตรีกล่าวยินดีและเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ได้ให้การต้อนรับประธานาธิบดีเหวียนซวน ฟุก และคณะผู้แทนเวียดนามที่เดินทางเยือนไทยอย่างเป็นทางการ ซึ่งการเยือนครั้งนี้มีความสำคัญยิ่ง เพราะเป็นการเยือนไทยครั้งแรกภายหลังเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีเวียดนาม และเป็นการเยือนไทยของประมุขแห่งรัฐของเวียดนามครั้งแรกในรอบ 24 ปี ซึ่งไทยและเวียดนามจะต้องจับมือกันเพื่อก้าวไปข้างหน้าด้วยกันอย่างเข้มแข็ง พร้อมยินดีที่ทั้งสองประเทศจะเปิดศักราชใหม่ของความสัมพันธ์ทวิภาคี โดยเฉพาะในโอกาสที่ปีหน้าจะครบรอบ 10 ปีของการเป็นหุ้นส่วนยุทธศาสตร์
ด้านประธานาธิบดีเวียดนามขอบคุณรัฐบาลไทยและประชาชนชาวไทยที่ให้การต้อนรับอย่างเป็นเกียรติและเปี่ยมไปด้วยมิตรไมตรีที่อบอุ่นของความเป็นพี่น้องกัน ซึ่งที่ผ่านมา เวียดนามและไทยได้ทำงานร่วมกันมาอย่างต่อเนื่อง เกิดผลงานที่เป็นรูปธรรมขึ้นในหลาย ๆ ด้าน ซึ่งไทยคือเพื่อนที่ใกล้ชิดที่เวียดนามให้ความสำคัญสามารถหารือเพื่อสร้างสรรค์ความร่วมมือ สร้างสันติภาพ และความเจริญรุ่งเรืองร่วมกัน ถือเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ ทั้งในกรอบของอาเซียน ภูมิภาคและโลกพร้อมยินดีกับการเป็นเจ้าภาพเอเปคของไทย ซึ่งเวียดนามยินดีสนับสนุนความร่วมมือเพื่อให้การประชุมเอเปคในครั้งนี้ประสบความสำเร็จ
จากนั้นนายกรัฐมนตรีและประธานาธิบดีเวียดนามได้หารือในประเด็นความร่วมมือต่าง ๆ ที่สำคัญ ได้แก่
ด้านการเมืองและความมั่นคง ทั้งสองฝ่ายยินดีที่ไทยและเวียดนามมีการแลกเปลี่ยนการเยือนและหารือระดับสูงอย่างต่อเนื่อง แม้จะมีอุปสรรคในสถานการณ์โควิด-19 โดยล่าสุด นายกรัฐมนตรีได้ต้อนรับรองประธานาธิบดีเวียดนาม เยือนไทยเมื่อเดือนมิถุนายน นอกจากนี้ ยังได้มีโอกาสพบปะกับนายกรัฐมนตรีฝ่าม มิงห์ จิ๋งห์ ซึ่งนายกรัฐมนตรีหวังว่าจะได้เยือนเวียดนามเพื่อร่วมการประชุมนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีอย่างไม่เป็นทางการ (JCR) ครั้งที่ 4 โดยวันที่ 17 พ.ย. จะมีการจัดประชุมคณะกรรมการร่วมด้านความมั่นคงไทย - เวียดนาม ครั้งที่ 4 ที่กระทรวงกลาโหม โดยเห็นพ้องที่จะจัดการประชุมคณะทำงานร่วมว่าด้วยความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคง (JWG on PSC) ครั้งที่ 12 ในช่วงครึ่งแรกของปีหน้า ซึ่งประธานาธิบดีฯ เสนอให้กระชับความร่วมมือระหว่างกองทัพเรือระหว่างประเทศ ตลอดจนการดูแลความมั่นคงด้านการประมงที่คำนึงการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมทางทะเลด้วย
ด้านเศรษฐกิจ ไทยและเวียดนามเป็นคู่ค้าที่สำคัญระหว่างกันในอาเซียน ซึ่งนายกรัฐมนตรีเสนอให้ทั้งสองฝ่ายเร่งอนุญาตการนำเข้า – ส่งออกสินค้า โดยเฉพาะสินค้าเกษตรประเภทผัก ผลไม้ ข้าวและสินค้าปศุสัตว์และเร่งรัดจัดทำความตกลงและกลไกเจรจาด้านการเกษตรระหว่างกัน โดยทั้งสองฝ่ายยินดีที่จะอำนวยความสะดวกและลดอุปสรรคการขนส่งสินค้าจากไทยผ่านเวียดนามไปประเทศที่สาม รวมทั้งเห็นพ้องให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องพัฒนาความร่วมมือ และแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันเพื่อช่วยอำนวยความสะดวกสินค้าอุตสาหกรรมที่สำคัญอื่น ๆ อาทิ ชิ้นส่วนยานยนต์ ยาและเวชภัณฑ์ด้านการลงทุน ทั้งสองฝ่ายพร้อมสนับสนุนนักลงทุนให้เข้ามาทำธุรกิจระหว่างสองประเทศ พร้อมยินดีกับการจัดตั้งหอการค้าไทยในเวียดนาม หรือ ThaiCham เมื่อปี 2564 ซึ่งจะช่วยเพิ่มการค้าและการลงทุนระหว่างกัน ด้านประธานาธิบดีเวียดนามเห็นว่า ทั้งสองประเทศต่างเป็นคู่ค้ารายใหญ่ซึ่งกันและกัน จำนวนกว่า 18,000 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ พร้อมชื่นชมที่ทั้งสองฝ่ายมีเสถียรภาพมากในการเพิ่มมูลค่าสินค้าต่างตอบแทน และยินดีที่จะขยายธุรกิจด้านพลังงานสีเขียว รวมทั้งโลจิสติกส์
ในส่วนของการเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจในด้านอื่น ๆ ได้แก่ ด้านคมนาคม - ทั้งสองฝ่ายจะเร่งเจรจาเพื่อเชื่อมโยงการคมนาคมระหว่างไทยกับเวียดนามในทุกด้านทางบก ผ่านการปรับปรุงถนนR12 ใน สปป. ลาว และการจัดทำความตกลงเดินรถโดยสารไทย - ลาว - เวียดนาม และทางน้ำผ่านความตกลงเดินเรือชายฝั่งไทย - กัมพูชา - เวียดนาม ด้านเศรษฐกิจดิจิทัล - ธนาคารแห่งประเทศไทยและธนาคารแห่งชาติเวียดนามได้เริ่มพัฒนาการเชื่อมโยงเศรษฐกิจดิจิทัลผ่านระบบ QR code ระหว่างกัน โดยในอนาคตทั้งสองฝ่ายจะใช้ประโยชน์จากศักยภาพด้านเศรษฐกิจดิจิทัลมากขึ้น โดยเฉพาะด้านการเงิน e-commerce ด้าน 5G และ 6G
นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรีได้เสนอแนวทาง Three Connects ใน 3 ด้าน ได้แก่ 1. การเชื่อมโยงห่วงโซ่อุปทานหรือ supply chain ในอุตสาหกรรมที่เกื้อกูลกัน 2. การเชื่อมโยงเศรษฐกิจฐานรากและท้องถิ่น โดยเฉพาะระหว่างภาคอีสานของไทย กับภาคกลางและภาคใต้ของเวียดนาม และ 3. การเชื่อมโยงนโยบายเศรษฐกิจสีเขียวที่ยั่งยืน ผ่านการประสานนโยบายระหว่าง โมเดลเศรษฐกิจBCG ของไทยกับยุทธศาสตร์การเติบโตสีเขียวของเวียดนาม ประธานาธิบดีเห็นพ้องกับนายกรัฐมนตรี และยินดีที่จะส่งเสริมผลิตผลข้าวเพื่อส่งเสริมผลประโยชน์ร่วมกันในภูมิภาค
ด้านการพัฒนาและการแลกเปลี่ยนระหว่างประชาชน ทั้งสองฝ่ายพร้อมต่อยอดความร่วมมือด้านวัฒนธรรมมากขึ้น ผ่านวัฒนธรรมร่วมสมัยเพื่อส่งเสริมภาคอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ส่งเสริมการพัฒนาของชุมชนชาวเวียดนามในไทย โดยนายกรัฐมนตรียินดีที่ได้จัดกิจกรรมฉลองการครบรอบ 45 ปีความสัมพันธ์ทางการทูตในปีที่ผ่านมา รวมทั้งเห็นว่า เวียดนามเป็นประเทศที่มีความสัมพันธ์เมืองคู่มิตรกับไทยมากที่สุดเป็นอันดับต้น คือ 18 คู่ ซึ่งในวันนี้จะมีการลงนามบันทึกความเข้าใจเมืองคู่มิตรระหว่าง จังหวัดขอนแก่นกับนครดานังอีกคู่หนึ่งด้วย ขณะที่ประธานาธิบดีเวียดนามยินดีความชื่นชมบทบาทของสมาคมมิตรภาพของทั้งสองประเทศ ซึ่งมีศักยภาพอย่างมากในการส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างประชาชนให้ใกล้ชิดยิ่งขึ้น
ด้านความเป็นหุ้นส่วนในอนุภูมิภาคและภูมิภาค ไทยและเวียดนามจะประสานท่าทีและความร่วมมือเพื่อขับเคลื่อนอนุภูมิภาคและภูมิภาค โดยเฉพาะกรอบ ACMECS และอาเซียน โดยเห็นพ้องที่จะสนับสนุนความเป็นเอกภาพภายในอาเซียนและร่วมกันแก้ไขปัญหาตาม ASEAN สำหรับความร่วมมือในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง นายกรัฐมนตรีให้ความสำคัญกับการพัฒนา ACMECS เพื่อให้ประเทศลุ่มน้ำโขงร่วมกันกำหนดทิศทางอนาคตตัวเอง ในส่วนการบริหารจัดการน้ำ ทั้งสองฝ่ายเห็นควรส่งเสริมความร่วมมือกันให้มากขึ้น โดยใช้ประโยชน์จากคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง (MRC) นอกจากนี้ ไทยอยู่ระหว่างการหาเสียงให้จังหวัดภูเก็ตเป็นเจ้าภาพจัดงานเอ็กซ์โปวาระพิเศษในปี2028 โดยเชื่อมั่นว่า งาน Expo 2028 Phuket จะเป็นเวทีสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนร่วมกัน ซึ่งประธานาธิบดีเวียดนามยินดีสนับสนุนไทยในการเลือกตั้งในกรอบองค์การนิทรรศการโลก (BIE) ในเดือนมิถุนายนของปีหน้า (2566) ที่กรุงปารีส
ในช่วงท้าย นายกรัฐมนตรีอวยพรและเป็นกำลังใจให้ประธานาธิบดีเวียดนามประสบความสำเร็จในการบริหารประเทศ และขอให้ประธานาธิบดีเวียดนาม ซึ่งเป็นมิตรแท้ของไทยช่วยสนับสนุนความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับเวียดนามให้มีความแน่นแฟ้นและก้าวหน้ายิ่งขึ้นต่อไป
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
‘อิ๊งค์’ โชว์30บ. เวทีผู้นำเอเปก
นายกฯ อิ๊งค์โชว์ผลงาน 30 บาทรักษาทุกที่ บนเวทีผู้นำภาคเอกชนเอเปก พร้อมชวนลงทุนด้านธุรกิจดูแลสุขภาพในไทย มั่นใจหลังให้นโยบาย “บีโอไอ”
นายกฯแพทองธาร สวมชุดผ้าไหมไทย ร่วมงานเลี้ยงผู้นำเอเปก
น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี สวมชุดผ้าไหมไทย ซึ่งเป็นผ้าไหมผสมผสานผ้าปักชาวเขา เข้าร่วมงานเลี้ยงอาหารค่ำ เพื่อเป็นเกียรติ
นายกฯอิ๊งค์ โชว์ 30 บาทรักษาทุกโรค บนเวทีสุดยอดผู้นำภาคเอกชนเอเปก
ผู้สื่อข่าวรายงานว่าเมื่อ 15 พ.ย. 2567 เวลา 16.00 น. (ตามเวลาท้องถิ่นกรุงลิมา ซึ่งช้ากว่ากรุงเทพฯ 12 ชม.) ณ the Grand National Theater of Peru กรุงลิมา สาธารณรัฐเปรู นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมน
'แพทองธาร' หารือทวิภาคี 'สี จิ้นผิง' จีนยันสนับสนุนไทยในเวทีระดับโลกทุกมิติ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่าเมื่อ 15 พ.ย. 2567 เวลา 10.00 น. (ตามเวลาท้องถิ่นกรุงลิมา ประเทศเปรู ซึ่งช้ากว่าไทย 12 ชั่วโมง) โรงแรม Delfines Hotel
'นายกฯอิ๊งค์' อวยพรคนไทย สุขสันต์ 'วันลอยกระทง' ฉลองปลอดภัย
นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ส่งคำอวยพร และเชิญชวนคนไทยร่วมลอยกระทงว่า “สวัสดีพี่น้องประชาชนคนไทยทุกท่าน สวัสดีจากประเทศเปรู
'นายกฯอิ๊งค์' สวมผ้าไหมไทย ถก 'ปธน.เปรู' ผลักดัน FTA ให้เสร็จปี 68
นายกฯ สวมผ้าไหมไทยศูนย์ศิลปาชีพ ถก 'ประธานาธิบดีเปรู' ผลักดันการเจรจา FTA ให้เสร็จภายในปี 68 ปลี้ม Softpower หนังไทย เพลงไทย ฮิตในเปรู