'ธรรมศาสตร์' ผนึก 'USAID' เฟ้นหานักศึกษา ส่งฝึกงานบริษัทพลังงานชั้นนำ

14 พ.ย.2565 - ‘ธรรมศาสตร์’ รับหน้าที่ผู้ประสานงานระดับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จับมือ ‘USAID’ ลุยโครงการ "E4SEA" เฟ้นหานักศึกษาเข้าฝึกงานบริษัทพลังงานชั้นนำ บนเป้าหมายเพิ่มความเท่าเทียมทางเพศ หนุน "สตรี-เพศทางเลือก" เข้าถึงธุรกิจพลังงานสะอาดมากขึ้น เพื่อตอบสนองอุตสาหกรรมสีเขียวที่จะสร้างโอกาสงานได้มากกว่า 20 ล้านตำแหน่ง

เมื่อวันที่ 7 พ.ย. 2565 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) ลงนามบันทึกความเข้าใจ (MOU) ร่วมกับโครงการ Enhancing Equality in Energy for Southeast Asia (E4SEA) ขององค์การเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศของสหรัฐอเมริกา (United States Agency for International Development: USAID) ที่มีจุดมุ่งหมายส่งเสริมและสนับสนุนความเท่าเทียมทางเพศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในธุรกิจภาคพลังงานซึ่งประกอบด้วยแรงงานและผู้บริหารเพศชายเป็นส่วนใหญ่

สำหรับโครงการดังกล่าว มธ. จะทำหน้าที่ในฐานะผู้ประสานงานระดับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้สำหรับการฝึกงานในธุรกิจภาคพลังงาน (Regional Energy Internship Coordinator) ภายใต้โครงการ E4SEA โดยมีบริษัทที่ปรึกษา CORE International เป็นผู้ดำเนินการ โดยสนับสนุนให้ “สตรี” (women workforce) และเพศทางเลือก LGBTQI+ เข้าสู่การทำงานในภาคพลังงานในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มากยิ่งขึ้น

ทั้งนี้ จะมีการเปิดพื้นที่ Regional Energy Internship Program (ฝึกงาน) ระหว่างมหาวิทยาลัยในภาคี อันประกอบด้วย ไทย อินโดนีเซีย เวียดนาม และ ฟิลิปปินส์ ร่วมกับอุตสาหกรรมด้านพลังงาน ซึ่งถือเป็นแกนหลักในโครงสร้างพื้นฐานของทุกประเทศ ที่มี “ตลาดงาน” เติบโตอย่างรวดเร็ว และความต้องการแรงงานที่มีทักษะเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ โดยเบื้องต้นจะดำเนินโครงการเป็นเวลา 3 ปี (ค.ศ.2020 –2023)

Steve Olive, Mission Director of USAID/RDMA เปิดเผยว่า ทิศทางของธุรกิจอุตสาหกรรมที่มุ่งไปสู่ความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมหรือธุรกิจสีเขียวที่มีมากขึ้น มีการคาดการณ์ว่าภายในไม่กี่ทศวรรษข้างหน้า ตลาดของอุตสาหกรรมสีเขียวเหล่านี้จะสร้างโอกาสงานได้ถึงกว่า 20 ล้านตำแหน่ง และหนึ่งในนั้นคือธุรกิจภาคพลังงาน

อย่างไรก็ตาม ด้วยกำแพงของกรอบทัศนคติและวัฒนธรรมในเรื่องของบทบาททางเพศ ทำให้บ่อยครั้งที่เพศหญิงอาจเข้าไม่ถึงการทำงานในบริษัทธุรกิจพลังงาน ที่บริษัทอาจไม่ได้เปิดโอกาสงานให้กับเพศต่างๆ ที่มีความหลากหลายและครอบคลุมเพียงพอ ทั้งที่กลุ่มคนเหล่านี้ก็มีศักยภาพและความสนใจในงานด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรม และคณิตศาสตร์ ไม่ต่างจากเพศชาย

Steve กล่าวว่า ดังนั้นงานที่ E4SEA กำลังทำนี้ จะช่วยพัฒนาและเสริมสร้างความเท่าเทียมทางเพศในภาคพลังงาน ภายในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งไม่เพียงแต่จะสนับสนุนธุรกิจพลังงานสีเขียวที่ดีต่อสิ่งแวดล้อมเท่านั้น แต่ยังจะเพิ่มโอกาสทางอาชีพ รายได้ สร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจให้กับคนทุกเพศอย่างเท่าเทียม อันเป็นหนึ่งในยุทธศาสตร์ของการสร้างความมั่นคงภายในภูมิภาคนี้ ที่ USAID ให้ความสำคัญ

"โครงการ E4SEA จะเชื่อมโยงบริษัทธุรกิจพลังงาน กับสถาบันการศึกษาชั้นนำในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อให้ทุกคนสามารถเข้าถึงโอกาสงานในธุรกิจพลังงานสะอาดได้อย่างเท่าเทียมกันมากขึ้น อันจะส่งผลลัพธ์สู่การมีส่วนร่วมทางเศรษฐกิจ เพิ่มความแข็งแกร่งทางธุรกิจ มีนวัตกรรมและประสิทธิผลของงานที่มากขึ้น ลดอัตราการลาออกของพนักงาน และจะเป็นหัวใจสำคัญในการรับมือกับวิกฤตสภาพภูมิอากาศต่อไป" Steve กล่าว

รศ.ดร.สุรัตน์ ทีรฆาภิบาล รองอธิการบดีฝ่ายบริหารท่าพระจันทร์และวิเทศสัมพันธ์ มธ. กล่าวว่า ภาคพลังงาน นับเป็นหนึ่งในธุรกิจอุตสาหกรรมที่มีปัญหาเรื่องของความเท่าเทียมทางเพศค่อนข้างมาก ดังนั้นความร่วมมือระหว่าง มธ. และ E4SEA จึงคาดหวังที่จะเข้ามาช่วยให้อุตสาหกรรมพลังงานมีความเท่าเทียมทางเพศที่มากขึ้น ทั้งการสนับสนุนในส่วนสำคัญคือองค์ความรู้ และการเข้าไปทดลองฝึกงานในสถานที่ทำงานจริง

"มธ.ได้รับเลือกเป็นเจ้าภาพในการจัดตั้งศูนย์ประสานการฝึกงานระดับภูมิภาค โดยเราจะรับสมัครนักศึกษาจากทุกมหาวิทยาลัยในอาเซียน เพื่อไปแลกเปลี่ยนกับบริษัทพลังงานชั้นนำ พร้อมให้ทุนทั้งค่ากิน ค่าอยู่ การเดินทางไปต่างประเทศ รวมทั้งที่พักให้กับนักศึกษา แต่สิ่งสำคัญที่ทำให้แตกต่าง คือเราจะเน้นความเท่าเทียมทางเพศ และจะไม่มีการใช้อคติทางเพศมาเป็นส่วนหนึ่งของเกณฑ์ของการพิจารณา" รศ.ดร.สุรัตน์ กล่าว

รศ.ดร.สุรัตน์ กล่าวว่า ในประเทศสหรัฐอเมริกาเองนับว่ามีความจริงจังในเรื่องนี้ ซึ่งหากไปดูจากงานวิจัยหลายชิ้น เราจะพบงานศึกษาที่แสดงให้เห็นว่าเมื่อเปรียบเทียบระหว่างบริษัท ธุรกิจที่มีความคล้ายคลึงกัน แต่กลุ่มที่ให้ความสำคัญเกี่ยวกับความเท่าเทียมทางเพศ จะมีผลประกอบการที่ดีมากกว่า เมื่อเทียบกับอีกกลุ่มที่ไม่ได้ให้ความสนใจในเรื่องนี้

ด้าน Lois Varrick ผู้รับผิดชอบโครงการ E4SEA จาก CORE International กล่าวว่า จากการทำการสำรวจเชิงลึกในประเทศอินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ ไทย และเวียดนาม ได้พบว่ากลุ่มคนรุ่นใหม่นั้นแม้จะมีความตระหนักในเรื่องของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และมีความสนใจอย่างมากกับการเปลี่ยนผ่านไปสู่พลังงานสะอาด แต่พวกเขากลับยังไม่มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโอกาสการทำงาน ที่มีอยู่ในภาคธุรกิจพลังงานมากนัก

"โครงการนี้จะเข้ามาเติมเต็มช่องว่าง เพิ่มความเท่าเทียมทางเพศ เปิดโอกาสการทำงานในภาคธุรกิจพลังงานที่ครอบคลุมทุกคน ซึ่งขณะนี้เรามีแล้ว 2 บริษัทพลังงานชั้นนำ ที่สนใจและเข้ามาร่วมมือ พร้อมที่จะรับนักศึกษาฝึกงานเหล่านี้เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งในการทำงาน และ มธ. ก็จะมีส่วนสำคัญในการสนับสนุนให้โครงการนี้ประสบผลสำเร็จได้อย่างเป็นรูปธรรม" Lois กล่าว

รศ.ดร.สุรัตน์ ทีรฆาภิบาล

 

Steve Olive
Lois Varrick

 

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

นักวิชาการ มธ. แนะมาตรการรับมือสาธารณภัยในชุมชนเมืองเก่า

นักวิชาการธรรมศาสตร์ แนะท้องถิ่น-สำนักงานเขต สำรวจข้อมูลใหม่ทุก 5 ปี “สร้างคลังข้อมูลเกี่ยวกับการตั้งถิ่นฐาน” เพื่อเตรียมทรัพยากร วางแผนรับมือเหตุฉุกเฉิน-ภัยพิบัติ หากไม่สามารถแก้ผังเมือง-โครงสร้าง-กรรมสิทธิ์ที่ดิน

90 ปี สถาปนาธรรมศาสตร์ ก้าวสู่ 'มหาวิทยาลัยสมบูรณ์แบบชั้นนำเพื่อสังคมแห่งอนาคต'

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จัดงานสถาปนามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ครบรอบปีที่ 90 พร้อมมอบรางวัลเข็มเกียรติยศ ให้แก่ “อาคม เติมพิทยาไพสิฐ” อดีต รมว.คลัง และ อดีต รมว.คมนาคม ในฐานะผู้ประกอบคุณงามความดีต่อสังคมและประเทศชาติ ขณะที่

นักวิชาการธรรมศาสตร์ ระบุ สว. ชุดใหม่ คือผู้กำหนดภูมิทัศน์การเมืองไทยไปอีก 5 ปี

อาจารรัฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์ ระบุ สว. ชุดใหม่ ยังมีอำนาจมากเกินไป และจะเป็นผู้กำหนดภูมิทัศน์การเมืองประเทศในอีก 5 ปีข้างหน้า

มธ. จัดเสวนารุมสับระบบเลือก สว.ชุดใหม่ เป็นปัญหามากที่สุด ซับซ้อน ทำให้งงอย่างจงใจ

ศูนย์นิติศาสตร์ จัดเสวนาวิชาการ “การเลือก สว. และประชามติรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ กับอนาคตประชาธิปไตยไทย” เนื่องในงานรำลึก 32 ปี พฤษภาประชาธรรม 2535

'ธรรมศาสตร์' เตือน! อย่าตกเป็นเหยื่อมิจฉาชีพ

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) แจ้งเตือนบุคลากร นักศึกษา ศิษย์เก่า ประชาคมธรรมศาสตร์ และประชาชน ระวังตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพ ขณะนี้พบพฤติกรรมของมิจฉาชีพแอบอ้างว่าเป็น “เจ้าหน้าที่กอง

สำรวจบาดแผล 'เด็ก' ในยุคที่กลายมาเป็น 'คอนเทนต์' ของผู้ใหญ่

นักวิชาการธรรมศาสตร์ ชวนสำรวจบาดแผล ‘เด็ก’ ในยุคที่ต้องกลายมาเป็น ‘คอนเทนต์’ เพราะความเปราะบางของเนื้อหาจะทิ้งร่องรอยความบอบช้ำไว้เสมอ