'ก้าวไกล' ฟ้อง 'ศักดิ์สยาม-รฟม.' เบรก​ดีลรถไฟฟ้าสายสีส้ม

‘ก้าวไกล’ ยื่นศาลปกครอง​ เบรก​ดีลรถไฟฟ้าสายสีส้ม รักษาผลประโยชน์รัฐ 6.8 หมื่นล้านบาท หวั่นปล่อยประมูลอาจกลายเป็นค่าโง่ในอนาคต

14 พ.ย. 2565 – ที่ศาลปกครองกลาง ถนนแจ้งวัฒนะ นายสุรเชษฐ์ ประวีณวงศ์วุฒิ พร้อมด้วย น.ส.ณธีภัสร์ กุลเศรษฐสิทธิ์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล ยื่นฟ้องต่อศาลปกครองพิจารณาหยุดสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีส้ม​ โดยนายสุรเชษฐ์​ กล่าวว่า โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มถือเป็นทุจริตครั้งใหญ่ของรัฐบาลชุดนี้ที่มีมูลค่าจำนวน 68,000 ล้านบาท ตนและพรรคก้าวไกลขอยื่นให้ศาลปกครองหยุดยั่งโครงการนี้ หากปล่อยให้มีการอนุมัติประเทศไทยต้องเสียผลประโยชน์มหาศาล ซึ่งเรื่องนี้ได้เคยอภิปรายไม่ไว้วางใจไปแล้วไปเมื่อวันที่ 17 ก.พ. 2564 ว่าตัวเลข 68,000 ล้านบาท เกิดจากกระบวนการปั้นตัวเลข มาปั่นโครงการ และในวันนี้ใกล้จะปันผลประโยชน์สำเร็จแล้ว​ หากศาลปกครองไม่ออกคำสั่งคุ้มครองชั่วคราว เรื่องนี้จะถูกส่งไปยังที่ประชุมคณะรัฐมนตรี แน่นอนว่าเมื่อไปถึงครม. ซึ่งจะทำให้เงินภาษีของประชนถูกใช้เกินจำเป็น 68,000 ล้านบาท

ดังนั้นตนและพรรคก้าวไกล ยอมไม่ได้อย่างเด็ดขาด จึงได้มายื่นฟ้องจำเลย ได้แก่​ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม, การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย​ (รฟม.), คณะกรรมการคัดเลือกตามมาตรา 36 แห่งพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนฯ​ และ กระทรวงคมนาคม​ เพื่อให้ศาลปกครองกลางพิจารณาคำขอใน 4 ประเด็น คือ 1.ยกเลิกการประมูลที่มีปัญหาจัดการประมูลใหม่ให้มีการแข่งขันอย่างเสรีและเป็นธรรม โดยอย่างน้อย BTS และ BEM ต้องเข้าได้​ 2.รฟม. ต้องเข้าชี้แจงต่อคณะอนุกรรมาธิการ โดยไม่ปฏิเสธอำนาจนิติบัญญัติอย่างที่ได้เบี้ยวมา 2 ครั้ง​ 3.เปลี่ยนคณะกรรมการคัดเลือกตามมาตรา 36 ของ พ.ร.บ.ร่วมทุนฯ เพื่อให้มีความโปร่งใส เนื่องจากเรื่องนี้เป็นคดีใหญ่ มูลค่าสูง และมีรายละเอียดมาก​ และ 4.คาดว่าศาลคงต้องใช้เวลาพิจารณามากพอสมควร เราจึงได้ยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งกำหนดมาตรการคุ้มครองชั่วคราวก่อนการพิพากษา และขอไต่สวนฉุกเฉินเพื่อระงับยับยั้งไม่ให้เซ็นสัญญาก่อน เพราะหากปล่อยไป รัฐบาลหน้าจะตามไปแก้ไขอะไรได้ยากและอาจทำให้เกิดค่าโง่ก้อนใหม่

นอกจากนี้ในฐานะประธานคณะอนุกรรมาธิการศึกษาการจัดทำและติดตามการบริหารงบประมาณ โครงการโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่เคยให้โอกาส รฟม. มาชี้แจงเรื่องรถไฟฟ้าสายสีส้มแล้ว ถึง 2 ครั้ง แต่ รฟม. ไม่มาชี้แจง ซึ่งอนุกรรมาธิการพบความผิดปกติคือ​ 1.การเปลี่ยนเกณฑ์การประมูลกลางอากาศการยกเลิกการประมูลครั้งก่อนโดยที่ศาลปกครองกลางมีคำพิพากษาว่าการยกเลิกการประมูลดังกล่าวมิชอบด้วยกฎหมาย​ 2.การกีดกัน BTS ไม่ให้มีสิทธิ์เข้าประมูลรอบใหม่คุณสมบัติต้องห้ามของผู้ผ่านการพิจารณาข้อเสนอด้านคุณสมบัติการคิดราคากลาง​ 3.คาดส่วนแบ่งรายได้ในอนาคตเป็นศูนย์เพราะไม่มีความพยายามของคณะกรรมการคัดเลือกในการรักษาผลประโยชน์ให้กับรัฐ 4.ที่สำคัญส่วนต่าง 68,000 ล้านมีอยู่จริง ต้องไปพิสูจน์ทราบให้ได้ว่าทำไมการประมูลรอบแรก หาก BTS ชนะ รัฐจะอุดหนุนเพียง 9,675 ล้านบาท แต่ในการประมูลรอบสองซึ่ง BEM ชนะ รัฐต้องอุดหนุนมากถึง 78,288 ล้านบาท ทั้งๆ ที่ในทางเทคนิคก็คือสร้างสิ่งเดียวกัน คือรถไฟฟ้าสายสีส้ม แบบการก่อสร้างก็ไม่ได้เปลี่ยน: ยาวเท่าเดิม สถานีเท่าเดิม

“สุดท้ายฝากไปยังรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมต้องรับผิดชอบในเรื่องนี้ ต้องออกมาชี้แจงแบบไม่ต้องโบ้ยให้คนอื่นไปชี้แจงแทน ให้ได้ว่าส่วนต่าง 68,000 ล้าน หายไปไหน? ทำไม BTS โดนกีดกันทั้งๆ ที่ก็รู้กันอยู่ว่าในทางปฏิบัติมันมีแค่ 2 เจ้า เรื่องนี้ยอมไม่ได้ เพราะหากปล่อยไป คนอนุมัติรวย นายทุนยิ้ม ประชาชนจ่ายส่วนต่าง 68,000” นายสุรเชษฐ์ ระบุ.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ชาวบ้านเกาะเต่า ร้องผู้ตรวจฯ ชงศาลปค. เพิกถอนกฎกระทรวงห้ามออกโฉนดบนเกาะ

นายอนันต์ชัย ไชยเดช ประธานมูลนิธิทนายกองทัพธรรม พร้อมด้วยชาวบ้านเกาะเต่า อ.เกาะพะงัน จ.สุราษฎร์ธานี เข้ายื่นคำร้องต่อผู้ตรวจการแผ่นดินขอให้ตรวจสอบและมีความเห็นเสนอต่

'สุริยะ' ย้ำที่เขากระโดงเป็นของรฟท. ส่วนที่ดินอัลไพน์ ยันไม่ผิดกฎหมาย

ที่ทำเนียบรัฐบาล นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.คมนาคม ให้สัมภาษณ์ถึงความคืบหน้าภายหลังการรถไฟ

ศาลปกครองสูงสุด ปิดเงียบผลชี้ขาดคดีบิ๊กโจ๊ก สั่งเก็บหลักฐานฟันสื่อละเมิดอำนาจศาล

นายประสิทธิ์ศักดิ์ มีลาภ ประธานศาลปกครองสูงสุด เป็นประธานการประชุมใหญ่ตุลาการศาลปกครองสูงสุด

จบแล้วบิ๊กโจ๊ก! สะพัด ศาลปกครองสูงสุด ชี้คำสั่ง 'ให้ออกจากราชการ' ชอบด้วยกฎหมาย

ที่ศาลปกครองกลาง ถ.เเจ้งวัฒนะ มีการประชุมใหญ่ศาลปกครองสูงสุด โดยนายประสิทธิ์ศักดิ์ มีลาภ ประธานศาลปกครองสูงสุด เป็นประธานการประชุม

อธิบดีกรมที่ดิน ยันคำแถลงคกก.สอบเขากระโดง ไม่มีฟอกขาว ยึดข้อกฎหมายไม่ใช้ดุลพินิจ

นายพรพจน์ เพ็ญพาส อธิบดีกรมที่ดิน กล่าวชี้แจงถึงกรณีการวิพากษ์วิจารณ์ผลสรุปกรมที่ดินกรณีที่ดินเขากระโดง ว่า ในส่วนของกรมที่ดินทำ ทำอยู่สามส่วน โดยส่วนแรกทำตามคำสั่งศาลปกครอง  ส่วนที่สองทำตามข้อกฎหมายไม่มีส่วนใดใช้เรื่องดุลยพินิจ