สมาคมรักษ์ทะเลไทย ย้ำจับสัตว์น้ำด้วยอวนลาก-อวนรุนและเรือปั่นไฟ ทำลายสัตว์น้ำในทะเลไทย เหตุปลาป่น1กก.ใช้สัตว์น้ำศก.วัยอ่อนถึง4กก.หรือ1ล้านตัน/ปีสนองธุรกิจปลาป่นไม่กี่ครอบครัวแต่ทำลายประมงชายฝั่งกว่า5แสนครอบครัว
11 พ.ย.2565 - นายบรรจง นะแส ที่ปรึกษาสมาคมรักษ์ทะเลไทย โพสต์ข้อความบนเฟซบุ๊ก ระบุว่า
ย้ำกันอีกครั้งว่าสาเหตุที่ปลาป่น by catch (จับสัตว์น้ำขึ้นมาด้วยอวนลาก/อวนรุนและเรือปั่นไฟ) มีส่วนทำร้ายทำลายทรัพยากรสัตว์น้ำในทะเลไทยก็เพราะว่า
1. ปลาป่นน้ำหนัก 1 กิโลกรัม ต้องใช้วัตถุดิบจากเรืออวนลาก/อวนรุนและเรือปั่นไฟ(by catch) ซึ่งก็คือ ลูกกุ้ง หอย ปู ปลา สัตว์น้ำเศรษฐกิจวัยอ่อนถึง 4 กิโลกรัม ประเทศเราผลิตปลาป่น 500,000 ตัน ผลผลิตปลาป่นในประเทศเรามาจาก by catch คือ จากเรืออวนลาก และที่เรียกว่า by product ซึ่งเป็นเศษหัวก้างจากซูริมิ หรือปลาทูน่าปลากระป๋องประมาณ 50/50 นั่นก็หมายความว่าปลาป่น 250,000 ตันจากปลาป่น by catch จะต้องทำลายพันธุ์สัตว์น้ำเศรษฐกิจวัยอ่อนที่จะเติบโตขึ้นมาถึง 1 ล้านตัน/ปี
คนไทยบริโภคสัตว์น้ำทั้งหมดในปริมาณ 28-31 กก./คน/ปี (เป็นปลาน้ำจืดในปริมาณ 5 กก./คน/ปี) ถ้าเทียบกับคนอเมริกันบริโภคในปริมาณ 50 กก./คน/ปี หรือคนในญี่ปุ่นในปริมาณ 69 กก./คน/ปี (รศ.ดร. เกรียงศักดิ์ เม่งอำพัน คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ)
แม้คนไทยจะบริโภคปลาเพิ่มขึ้นทุกๆ 1 กก./คน/ปี เราก็ยังมีปลาเพิ่มขึ้นถึง 66,000 ตัน/ปี จากฐานประชากร 66 ล้านคน แค่เราหยุดธุรกิจปลาป่น by catch ซึ่งก็คือ การหยุดทำลายสัตว์น้ำไปถึง 1 ล้านตัน กุ้ง หอย ปู ปลาเหล่านั้นก็จะเติบโตเต็มที่ คนไทยก็จะมีอาหารทะเลกินอย่างเหลือเฟือ
2. ผลิตภัณฑ์ปลาป่นของประเทศไทยในปี 2558 ผลิตได้ประมาณ 420,000 ตัน แต่เราส่งออกไปขายยังต่างประเทศถึง 159,500 ตัน ที่เหลือใช้ภายในประเทศ คำถามจึงมีว่าในเมื่อปลาป่นเป็นส่วนทำลายทรัพยากรสัตว์น้ำที่เป็นอาหารโปรตีนของสังคมไทยโดยรวม
ทำไมเราถึงยังปล่อยให้มีการทำลาย และตอบสนองกลุ่มธุรกิจปลาป่นที่มีไม่กี่ครอบครัว แต่ได้ทำลายอาชีพของชาวประมงชายฝั่งใน 22 จังหวัด ซึ่งมีอยู่กว่า 500,000 ครอบครัว ประชากรกว่า 1 ล้านคนที่เป็นชาวประมง ให้ต้องอดอยากยากจน???
3. ปี 2558 ประเทศไทยนำเข้าปลาป่น 31,100 ตัน และที่ทำจากเนื้อไก่ป่น เนื้อหมูป่น ซึ่งสามารถนำเข้าได้อย่างเสรี 330,200 ตัน กากถั่วเหลือง 2,694,748 ตัน ดังนั้นเราควรพิจารณายุติการส่งออกปลาป่น by catch โดยทันที
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ชาวประมงพื้นบ้านสงขลา ออกคราดหอยเสียบ สร้างรายได้งามช่วงฤดูมรสุม
ชาวประมงพื้นบ้านในชุมชนเก้าเส้ง ประกอบอาชีพคราดหอยเสียบขายรายได้ดีเลี้ยงครอบครัวได้ เป็นอิสระในช่วงฤดูมรสุมลมตะวันออกเฉียงเหนือ คลื่นลมเริ่มมีกำลังแรงหอยเสียบตัวโต น้ำหนักดี สร้างรายได้เพิ่มขึ้นให้กับครอบครัว
ประมงพื้นบ้านสงขลา อาศัยช่วงคลื่นลมไม่รุนแรง ออกจับปูม้ากำลังชุกชุม ขายได้ราคาดี
ที่ชายหาดบ้านบ่ออิฐ ต.เกาะแต้ว อ.เมือง จ.สงขลา ชาวประมงพื้นบ้านในชุมชนบ้านบ่ออิฐนำเรือหลายลำออกไปทำการประมงอวนปูกลางทะเล เนื่องจากในช่วงนี้คลื่นลมไม่รุนแรงสามารถนำเรือออกไปทำการประมงได้
เกาะลิบงอ่วมหนักรอบ 30 ปี! คลื่นซัดเรือประมงล่ม 7 ลำ รีสอร์ทพัง ชาวบ้านเผยปีนี้ฝนมาเร็ว
ในพื้นที่เกาะลิบง หมู่ 5 บ้านหลังเขา ต.เกาะลิบง อ.กันตัง จ.ตรัง เกิดเหตุมีเรือประมงพื้นบ้านล่มจำนวน 7 ลำ หลังเกิดฝนตกและลมพายุในทะเลฝั่งอันดามัน โดยนายอ่าสาน ค
'สมาคมรักษ์ทะเลไทย' กระตุก รัฐบาล ยังไม่มีนโยบายที่ชัดเจน ฟื้นฟูอาหารประมงไทย
นายวิโชคศักดิ์ รณรงค์ไพรี นายกสมาคมรักษ์ทะเลไทย โพสต์บทความเรื่อง ความสั่นคลอนของระบบอุตสาหกรรมอาหารทะเลไทย (๑) มีเนื้อหาดังนี้
ดับฝันเบอร์หนึ่ง 'เจ้าสมุทร' ประมงไทยถดถอย ทำลายล้างทะเล
เครือข่ายองค์กรด้านประชากรข้ามชาติจับมือสมาคมสมาพันธ์ชาวประมงพื้นบ้านแห่งประเทศและภาคีเครือข่ายจัดเสวนาสะท้อนเสียงภาควิชาการและภาคประชาชน“สู่การดูแลทะเลร่วมกันอย่างเป็นธรรมและยั่งยืน” ต่อการแก้ไขกฎหมายการประมง ซัดเป็นกฎหมายที่ถดถอยทำลายความยั่งยืนทางทะเล และเสี่ยงกระทบกับเศรษฐกิจ
ประมงพื้นบ้านตราด ยื่นผู้ว่าฯค้านการแก้ไขพรบ.ประมง หวั่นจะทำให้ประมงพื้นบ้านสูญพันธุ์
สมาคมประมงพื้นบ้านรักษ์ทะเลตราด ยื่นหนังสือคัดค้านการแก้ไขพรบ.ประมงฉบับใหม่ที่อยู่ในชั้นกรรมาธิการ หวั่นจะทำให้ประมงพื้นบ้านสูญพันธุ์ เหตุให้เรือประมงพาณิชย์ขนาด 100 ตันกรอสทำประมงในพื้นที่ชายฝั่ง และลดพื้นที่ประมงพื้นบ้าน