ปภ. แจ้งยังมีอีก 11 จังหวัด ประสบปัญหาอุทกภัยในพื้นที่

แฟ้มภาพ

ปภ.รายงานยังคงมีสถานการณ์อุทกภัยยังคงเหลือ 4 จังหวัด ส่วนอิทธิพลพายุเตี้ยนหมู่ พายุไลออนร็อก พายุคมปาซุ และร่องมรสุมพาดผ่านภาคตะวันออกและภาคใต้ตอนบน ยังท่วมอีก 7 จังหวัด

15 พ.ย.2564- กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ในฐานะกองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกลาง (กอปภ.ก.) รายงานสถานการณ์อุทกภัยจากมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้จะมีกำลังแรงขึ้น ตั้งแต่วันที่ 10 – 15 พ.ย. 64 ทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน และน้ำป่าไหลหลากในพื้นที่ 9 จังหวัด ได้แก่ เพชรบุรี ระนอง ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช สงขลา ตรัง ภูเก็ต และพังงา รวม 42 อำเภอ 129 ตำบล 536 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 9,860 ครัวเรือน ผู้เสียชีวิต 2 ราย (ชุมพร) ปัจจุบันยังคงมีสถานการณ์ในพื้นที่ 4 จังหวัด ได้แก่ ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช และสงขลา รวม 21 อำเภอ 93 ตำบล 458 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 9,794 ครัวเรือน

สถานการณ์ในภาพรวมระดับน้ำลดลง ดังนี้ 1.ชุมพร น้ำท่วมในพื้นที่ 6 อำเภอ ได้แก่ อำเภอหลังสวน อำเภอทุ่งตะโก อำเภอสวี อำเภอพะโต๊ะ อำเภอเมืองชุมพร และอำเภอปะทิว รวม 46 ตำบล 348 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 8,022 ครัวเรือน ผู้เสียชีวิต 2 ราย ระดับน้ำทรงตัว 2.สุราษฎร์ธานี น้ำท่วมในพื้นที่ 5 อำเภอ ได้แก่ อำเภอดอนสัก อำเภอท่าชนะ อำเภอไชยา อำเภอเกาะสมุย และอำเภอกาญจนดิษฐ์ รวม 15 ตำบล 36 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 950 ครัวเรือน ระดับน้ำลดลง 3.นครศรีธรรมราช น้ำท่วมในพื้นที่ 7 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช อำเภอพระพรหม อำเภอร่อนพิบูลย์ อำเภอท่าศาลา อำเภอนาบอน อำเภอบางขัน และอำเภอทุ่งสง รวม 20 ตำบล 53 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 260 ครัวเรือน ระดับน้ำลดลง 4.สงขลา น้ำท่วมในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองสงขลา อำเภอ อำเภอระโนด และอำเภอสทิงพระ รวม 12 ตำบล 21 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 562 ครัวเรือน ระดับน้ำลดลง

ขณะที่อิทธิพลพายุเตี้ยนหมู่ พายุไลออนร็อก พายุคมปาซุ และร่องมรสุมพาดผ่านภาคตะวันออกและภาคใต้ ตั้งแต่วันที่ 23 ก.ย. – 15 พ.ย. 2564 ทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และน้ำล้นตลิ่ง โดยปัจจุบันยังคงมีสถานการณ์ในพื้นที่ 7 จังหวัด (หนองบัวลำภู อุบลราชธานี สุพรรณบุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี และนครปฐม) รวม 24 อำเภอ 258 ตำบล 1,685 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 93,755 ครัวเรือน แยกเป็น ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2 จังหวัด รวม 3 อำเภอ 9 ตำบล 40 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 765 ครัวเรือน ได้แก่ 5.หนองบัวลำภู ยังคงมีน้ำท่วมในพื้นที่อำเภอโนนสัง รวม 5 ตำบล 14 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 188 ครัวเรือน 6.อุบลราชธานี ยังคงมีน้ำท่วมในพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองอุบลราชธานี และอำเภอวารินชำราบ รวม 4 ตำบล 26 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 577 ครัวเรือน

ภาคกลาง 5 จังหวัด รวม 21 อำเภอ 249 ตำบล 1,645 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 92,990 ครัวเรือน ได้แก่ 7.สุพรรณบุรี ยังคงมีน้ำท่วมในพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ อำเภอสองพี่น้อง และอำเภอบางปลาม้า รวม 28 ตำบล 267 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 23,053 ครัวเรือน 8.อ่างทอง ยังคงมีน้ำท่วมในพื้นที่ 4 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองอ่างทอง อำเภอไชโย อำเภอป่าโมก และอำเภอวิเศษชัยชาญ รวม 29 ตำบล 142 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 5,467 ครัวเรือน 9.พระนครศรีอยุธยา ยังคงมีน้ำท่วมในพื้นที่ 7 อำเภอ ได้แก่ อำเภอผักไห่ อำเภอเสนา อำเภอบางบาล อำเภอพระนครศรีอยุธยา อำเภอบางไทร อำเภอบางปะอิน และอำเภอลาดบัวหลวง รวม 106 ตำบล 380 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 49,385 ครัวเรือน 10.ปทุมธานี ยังคงมีน้ำท่วมในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองปทุมธานี อำเภอสามโคก และอำเภอลาดหลุมแก้ว รวม 25 ตำบล 81 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 6,176 ครัวเรือน 11.นครปฐม ยังคงมีน้ำท่วมในพื้นที่ 5 อำเภอ ได้แก่ อำเภอบางเลน อำเภอนครชัยศรี อำเภอสามพราน อำเภอกำแพงแสน และอำเภอดอนตูม รวม 61 ตำบล 475 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 8,909 ครัวเรือน

ภาพรวมสถานการณ์คลี่คลายในหลายพื้นที่แล้ว ระดับน้ำลดลง แต่ยังคงมีน้ำท่วมขังในพื้นที่ลุ่มต่ำ สำหรับการแก้ไขปัญหาและให้การช่วยเหลือประชาชน กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยได้ประสานจังหวัด องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งระดมสรรพกำลังในการระบายน้ำออกจากพื้นที่ และดูแลให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัยจัดเจ้าหน้าที่ลงพื้นที่สำรวจและประเมินความเสียหาย เพื่อดำเนินการช่วยเหลือตามระเบียบกระทรวงการคลัง

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

กรมอุตุฯ แจ้งเตือนพื้นที่เสี่ยงฝนตกหนัก 60-70 % ใน 24 ชม.ข้างหน้า

กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้า ร่องมรสุมพาดผ่านภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณประเทศเวียดนามตอนบนและอ่าวตังเกี๋ย ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ยังคงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย แ

รัฐบาลเปิดมาตรการรับมือน้ำท่วม พร้อมแผนเผชิญเหตุตลอดหน้าฝน

นางรัดเกล้า อินทวงศ์ สุวรรณคีรี รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) กระทรวงมหาดไทย (มท.)

อุตุฯ เตือนมรสุมพาดผ่าน ทั่วไทยมีฝนเพิ่มขึ้น ตกหนัก 58 จังหวัด

กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้าว่า ร่องมรสุมพาดผ่านภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณประเทศลาวและเวียดนามตอนบน

ฝนถล่มสมุทรปราการ น้ำท่วมถนนหลายเส้น รถติดตั้งแต่เช้ายันเย็น

มีฝนตกลงมาอย่างหนัก ในพื้นที่ จ.สมุทรปราการ ส่งผลให้มีน้ำท่วมขังหลายพื้นที่ โดยเฉพาะถนนปู่เจ้าสมิงพราย ซึ่งเป็นถนนสายหลัก ของการขนส่ง เนื่องจากบริเวณนี้ เป็นที่ตั้งของแหล่งโรงงานอุตสาหกรรม และท่าเทียบเรือจำนวนมาก เป็นเวลากว่า 3 ชั่วโมงแล้ว ยังมีฝนตกอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้เกิดปัญหาการจราจรติดขัดอย่างหนักตามมา ทางเจ้าหน้าที่ตำรวจ สภ.สำโรงใต้ ได้จัดกำลังลงพื้นที่อำนวยความสะดวกด้านการจราจรให้กับประชาชนที่ใช้เส้นทางดังกล่าว

น้ำท่วมภูเก็ตเริ่มคลี่คลาย 2 อำเภอประสบภัยเสียหายหนัก เร่งฟื้นฟูพื้นที่

นายโสภณ สุวรรณรัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต กล่าวว่าสถานการณ์น้ำท่วมขังในจังหวัดภูเก็ต ขณะนี้ได้คลี่คลายเข้าสู่สภาวะปกติสามารถเดินทางสัญจรได้ทุกพื้นที่