ปภ.รายงานยังคงมีสถานการณ์อุทกภัยในภาพรวม 12 จังหวัด

14 พ.ย. 64 เวลา 09.20 น. กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) รายงานมีสถานการณ์อุทกภัย รวม 12 จังหวัด โดยมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้จะมีกำลังแรงขึ้น ตั้งแต่วันที่ 10 – 14 พ.ย. 64 ทำให้บริเวณภาคใต้มีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ส่งผลให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และน้ำล้นตลิ่ง ในพื้นที่ 7 จังหวัด รวม 40 อำเภอ 127 ตำบล 531 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 9,294 ครัวเรือน ผู้เสียชีวิต 2 ราย ปัจจุบันยังคงมีสถานการณ์ในพื้นที่ 6 จังหวัด (เพชรบุรี ระนอง ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช และสงขลา) รวม 31 อำเภอ 112 ตำบล 495 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 9,111 ครัวเรือน ในขณะที่อิทธิพลพายุเตี้ยนหมู่ พายุไลออนร็อก พายุคมปาซุ และร่องมรสุมพาดผ่านภาคตะวันออกและภาคใต้ตอนบน ตั้งแต่วันที่ 23 ก.ย. – 14 พ.ย. 64 ทำให้น้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และน้ำล้นตลิ่ง โดยปัจจุบันยังคงมีสถานการณ์ในพื้นที่ 6 จังหวัด (หนองบัวลำภู อุบลราชธานี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี และนครปฐม) รวม 22 อำเภอ 230 ตำบล 1,418 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 70,702 ครัวเรือน ภาพรวมสถานการณ์คลี่คลายในหลายพื้นที่แล้ว ระดับน้ำลดลง แต่ยังคงมีน้ำท่วมขังในพื้นที่ลุ่มต่ำ ซึ่ง ปภ.ได้ร่วมกับจังหวัด และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องลงพื้นที่สำรวจความเสียหาย เร่งระบายน้ำและให้การช่วยเหลือประชาชนอย่างต่อเนื่อง

กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ในฐานะกองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกลาง (กอปภ.ก.) รายงานสถานการณ์อุทกภัยจากมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้จะมีกำลังแรงขึ้น ตั้งแต่วันที่ 10 – 14 พ.ย. 64 ทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน และน้ำป่าไหลหลากในพื้นที่ 7 จังหวัด ได้แก่ เพชรบุรี ระนอง ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช สงขลา และตรัง รวม 40 อำเภอ 127 ตำบล 531 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 9,294 ครัวเรือน ผู้เสียชีวิต 2 ราย (ชุมพร) ปัจจุบันยังคงมีสถานการณ์ในพื้นที่ 6 จังหวัด ได้แก่ เพชรบุรี ระนอง ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช และสงขลา รวม 31 อำเภอ 112 ตำบล 495 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 9,111 ครัวเรือน สถานการณ์ในภาพรวมระดับน้ำลดลง ดังนี้

ภาคกลาง 1 จังหวัด ได้แก่

1.เพชรบุรี น้ำท่วมในพื้นที่ 6 อำเภอ ได้แก่ อำเภอบ้านลาด อำเภอบ้านแหลม อำเภอเมืองเพชรบุรี อำเภอท่ายาง อำเภอแก่งกระจาน และอำเภอหนองหญ้าปล้อง รวม 13 ตำบล 47 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 110 ครัวเรือน ระดับน้ำลดลง

ภาคใต้ 5 จังหวัด รวม 25 อำเภอ 99 ตำบล 448 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 9,001 ครัวเรือน ได้แก่

2.ระนอง น้ำท่วมในพื้นที่อำเภอละอุ่น รวม 2 ตำบล 2 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 100 ครัวเรือน ระดับน้ำลดลง

3.ชุมพร น้ำท่วมในพื้นที่ 6 อำเภอ ได้แก่ อำเภอหลังสวน อำเภอทุ่งตะโก อำเภอสวี อำเภอพะโต๊ะ อำเภอเมืองชุมพร และอำเภอปะทิว รวม 44 ตำบล 328 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 7,682 ครัวเรือน ระดับน้ำทรงตัว

4.สุราษฎร์ธานี น้ำท่วมในพื้นที่ 5 อำเภอ ได้แก่ อำเภอดอนสัก อำเภอท่าชนะ อำเภอไชยา อำเภอเกาะสมุย และอำเภอกาญจนดิษฐ์ รวม 15 ตำบล 36 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 950 ครัวเรือน ระดับน้ำลดลง

5.นครศรีธรรมราช น้ำท่วมในพื้นที่ 9 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช อำเภอพระพรหม อำเภอสิชล อำเภอร่อนพิบูลย์ อำเภอท่าศาลา อำเภอนาบอน อำเภอบางขัน อำเภอทุ่งสง และอำเภอเชียรใหญ่ รวม 25 ตำบล 60 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 260 ครัวเรือน ระดับน้ำลดลง

6.สงขลา น้ำท่วมในพื้นที่ 4 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองสงขลา อำเภอคลองหอยโข่ง อำเภอระโนด และอำเภอสทิงพระ รวม 13 ตำบล 22 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 9 ครัวเรือน ระดับน้ำลดลง

ขณะที่อิทธิพลพายุเตี้ยนหมู่ พายุไลออนร็อก พายุคมปาซุ และร่องมรสุมพาดผ่านภาคตะวันออกและภาคใต้ ตั้งแต่วันที่ 23 ก.ย. – 14 พ.ย. 2564 ทำให้น้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และน้ำล้นตลิ่ง โดยปัจจุบันยังคงมีสถานการณ์ในพื้นที่ 6 จังหวัด (หนองบัวลำภู อุบลราชธานี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี และนครปฐม) รวม 22 อำเภอ 230 ตำบล 1,418 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 70,702 ครัวเรือน แยกเป็น

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2 จังหวัด รวม 3 อำเภอ 9 ตำบล 40 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 765 ครัวเรือน ได้แก่

7.หนองบัวลำภู ยังคงมีน้ำท่วมในพื้นที่อำเภอโนนสัง รวม 5 ตำบล 14 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 188 ครัวเรือน

8.อุบลราชธานี ยังคงมีน้ำท่วมในพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองอุบลราชธานี และอำเภอวารินชำราบ รวม 4 ตำบล 26 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 577 ครัวเรือน

ภาคกลาง 4 จังหวัด รวม 19 อำเภอ 221 ตำบล 1,378 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 69,937 ครัวเรือน ได้แก่

9.อ่างทอง ยังคงมีน้ำท่วมในพื้นที่ 4 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองอ่างทอง อำเภอไชโย อำเภอป่าโมก และอำเภอวิเศษชัยชาญ รวม 29 ตำบล 142 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 5,467 ครัวเรือน

10.พระนครศรีอยุธยา ยังคงมีน้ำท่วมในพื้นที่ 7 อำเภอ ได้แก่ อำเภอผักไห่ อำเภอเสนา อำเภอบางบาล อำเภอพระนครศรีอยุธยา อำเภอบางไทร อำเภอบางปะอิน และอำเภอลาดบัวหลวง รวม 106 ตำบล 380 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 49,385 ครัวเรือน

11.ปทุมธานี ยังคงมีน้ำท่วมในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองปทุมธานี อำเภอสามโคก และอำเภอลาดหลุมแก้ว รวม 25 ตำบล 81 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 6,176 ครัวเรือน

12.นครปฐม ยังคงมีน้ำท่วมในพื้นที่ 5 อำเภอ ได้แก่ อำเภอบางเลน อำเภอนครชัยศรี อำเภอสามพราน อำเภอกำแพงแสน และอำเภอดอนตูม รวม 61 ตำบล 475 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 8,909 ครัวเรือน

ภาพรวมสถานการณ์คลี่คลายในหลายพื้นที่แล้ว ระดับน้ำลดลง แต่ยังคงมีน้ำท่วมขังในพื้นที่ลุ่มต่ำ

สำหรับการแก้ไขปัญหาและให้การช่วยเหลือประชาชน กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยได้ประสานจังหวัด องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งระดมสรรพกำลังในการระบายน้ำออกจากพื้นที่ และดูแลให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัยจัดเจ้าหน้าที่ลงพื้นที่สำรวจและประเมินความเสียหาย เพื่อดำเนินการช่วยเหลือตามระเบียบกระทรวงการคลัง ฯ ทั้งนี้ ประชาชนสามารถแจ้งเหตุและขอความช่วยเหลือทางไลน์ “ปภ.รับแจ้งเหตุ 1784” โดยเพิ่มเพื่อน Line ID @1784DDPM และสายด่วนนิรภัย 1784 ตลอด 24 ชั่วโมง

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'ซาบีดา' ลุยช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย อ.บ้านไร่ จ.อุทัยธานี

น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล โฆษกกระทรวงมหาดไทย กล่าวว่า กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) ได้รายงานมีฝนตกหนักทำให้น้ำป่าไหลหลากเข้าท่วมในพื้นที่ ต.บ้านไร่ อ.บ้านไร่ จ. อุทัยธานี

'ศปช. ส่วนหน้า' เตือนเชียงใหม่รับน้ำอีกรอบ ประกาศพื้นที่เสี่ยง 7 โซน

'ศปช. ส่วนหน้า' เตือนเชียงใหม่เตรียมรับน้ำอีกรอบ ประกาศพื้นที่เสี่ยง 7 โซน ด้าน ปภ. ระดมกำลังเสริมเข้าพื้นที่ เชียงรายน้ำลดเร่งฟื้นฟู

เชียงใหม่ยังวิกฤต! มวลน้ำป่าทะลักลงแม่ปิงค่ำนี้ เพิ่มสูงส่อทุบสถิติใหม่

สถานการณ์น้ำท่วมตัวเมืองเชียงใหม่ยังคงวิกฤตต่อเนื่อง แม้ระดับน้ำปิงที่จุด p1 จะขึ้นสูงสุดช่วงตีสองที่ผ่านมา 4.81 เมตร

ปภ. แจ้ง 63 จังหวัด เฝ้าระวังฝนฟ้าคะนอง-ลมกระโชกแรง 29 ก.ย.– 3 ต.ค.นี้

มีพื้นที่เฝ้าระวังสถานการณ์ฝนฟ้าคะนอง และลมกระโชกแรง ระหว่างวันที่ 29 กันยายน - 3 ตุลาคม 2567 แยกเป็นภาคเหนือ ทุกจังหวัด  ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทุกจังหวัด  ภาคกลาง ทุกจังหวัด   ภาคใต้ จังหวัดชุมพร

เช็ก! สถานการณ์น้ำท่วม 18 จังหวัด ระดมกำลังให้ความช่วยเหลือประชาชน

กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย(ปภ.) รายงานมีสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่ 18 จังหวัด ได้แก่ เชียงราย เชียงใหม่ น่าน ลำปาง ลำพูน แพร่ ตาก เพชรบูรณ์ พิษณุโลก สุโขทัย เลย หนองคาย อุดรธา

เปิดกำหนดการ นายกฯ ลงพื้นที่ เชียงราย-เชียงใหม่ ติดตามฟื้นฟูสถานการณ์อุทกภัย

นายจิรายุ ห่วงทรัพย์ ที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี พร้อมลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์หลังเกิดเหตุอุทกภัย จังหวัดเชียงราย และจังหวัดเชียงใหม่