14 ต.ค. 2564 กรมอุตุนิยมวิทยา รายงานลักษณะอากาศทั่วไปพยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้า หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงปกคลุมภาคใต้ตอนกลาง คาดว่าจะเคลื่อนลงทะเลอันดามันในวันนี้ (14 พ.ย. 64) ประกอบกับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทย และภาคใต้มีกำลังค่อนข้างแรง ทำให้มีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณจังหวัดเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช นราธิวาส ระนอง พังงา ภูเก็ต และกระบี่ ขอให้ประชาชนบริเวณพื้นที่เสี่ยงภัยในภาคใต้ควรระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และน้ำล้นตลิ่งได้
ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยมีกำลังค่อนข้างแรง โดยอ่าวไทยและทะเลอันดามันตอนบนมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร และทะเลอันดามันตอนล่างคลื่นสูง 1-2 เมตร ขอให้ประชาชนที่อาศัยบริเวณชายฝั่งภาคใต้ฝั่งตะวันออกควรระวังอันตรายจากคลื่นลมแรงที่พัดเข้าหาฝั่ง และชาวเรือควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง เรือเล็กบริเวณอ่าวไทยควรงดออกจากฝั่งจนถึงวันที่ 14 พฤศจิกายน 2564
สำหรับบริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นที่ปกคลุมประเทศไทยตอนบนมีกำลังอ่อน แต่ยังคงทำให้ภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีอากาศเย็นในตอนเช้า
ฝุ่นละอองขนาดเล็ก ในช่วงนี้การสะสมของฝุ่นละออง/หมอกควันมีน้อย
พยากรณ์อากาศสำหรับประเทศไทยตั้งแต่เวลา 06:00 วันนี้ ถึง 06:00 วันพรุ่งนี้.
ภาคเหนือ อากาศเย็นในตอนเช้า โดยมีฝนเล็กน้อยบางแห่งทางตอนบนของภาค
อุณหภูมิต่ำสุด 21-23 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิสูงสุด 28-32 องศาเซลเซียส
ยอดดอยอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 10-15 องศาเซลเซียส
ลมตะวันออก ความเร็ว 10-20 กม./ชม.
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อากาศเย็นในตอนเช้า โดยมีฝนเล็กน้อยบางแห่งทางตอนล่างของภาค
อุณหภูมิต่ำสุด 19-23 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิสูงสุด 29-30 องศาเซลเซียส
ยอดภูอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 12-15 องศาเซลเซียส
ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-30 กม./ชม.
ภาคกลาง เมฆเป็นส่วนมาก กับมีฝนเล็กน้อยบางแห่ง
อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิสูงสุด 29-32 องศาเซลเซียส
ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-25 กม./ชม.
ภาคตะวันออก เมฆเป็นส่วนมาก กับมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20 ของพื้นที่
อุณหภูมิต่ำสุด 24-25 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิสูงสุด 29-33 องศาเซลเซียส
ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม.
ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร
ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก) มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 70 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง
บริเวณจังหวัดเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช และนราธิวาส
อุณหภูมิต่ำสุด 23-24 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิสูงสุด 27-33 องศาเซลเซียส
ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20-35 กม./ชม.
ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร
ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก) มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 70 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง
บริเวณจังหวัดระนอง พังงา ภูเก็ต และกระบี่
อุณหภูมิต่ำสุด 21-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28-32 องศาเซลเซียส
ตั้งแต่จังหวัดพังงาขึ้นมา : ลมตะวันออก ความเร็ว 20-35 กม./ชม.
ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร
ตั้งแต่จังหวัดภูเก็ตลงไป : ลมตะวันตกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม.
ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร
กรุงเทพมหานครและปริมณฑล เมฆเป็นส่วนมาก กับมีฝนเล็กน้อยบางแห่ง
อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิสูงสุด 30-32 องศาเซลเซียส
ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-25 กม./ชม.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
เหนือ-อีสาน อากาศเย็นตอนเช้า ภาคใต้ฝนตกหนัก ถึงหนักมากบางแห่ง
กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้า บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางจากประเทศจีนปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้
กรมอุตุฯเตือน 9 จังหวัดภาคใต้มีฝนตกหนัก หวั่นเกิดน้ำท่วมฉับพลัน
นางสาวสุกันยาณี ยะวิญชาญ อธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา ออกประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา เรื่อง ฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณภาคใต้ ฉบับที่ 4 (304/2567) (มีผลกระทบจนถึงวันที่ 23 พฤศจิกายน 2567) มีใจความว่า
กรมอุตุฯ ประกาศฉบับ 3 เตือนฝนถล่มภาคใต้ คลื่นลมอ่าวไทย-อันดามันจะมีกำลังแรงขึ้น
กรมอุตุนิยมวิทยา ประกาศเรื่อง ฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณภาคใต้ ฉบับที่ 3 (มีผลกระทบจนถึงวันที่ 23 พฤศจิกายน 2567)
'เหนือ-อีสาน' ยังเย็นต่อเนื่องส่วน 'ภาคใต้' ฝนถล่มหนัก
กรมอุตุนิยมวิทยาได้พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้าในลักษณะทั่วไป
คนกรุงร้องเพลงรอลมหนาวต่อ 'ภาคใต้' เจอมรสุมฝนถล่มหนัก
กรมอุตุนิยมวิทยาได้พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้าในลักษณะทั่วไป
ลมหนาวมาต่อเนื่อง กรมอุตุฯ เผยเหนือ-อีสาน อุณหภูมิลดฮวบ 2-4 องศา
กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศ 7 วันข้างหน้า ในช่วงวันที่ 18 - 22 พ.ย. 67 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางจากประเทศจีนปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้