'ชัชชาติ' เผยฝุ่นกทม. ยังไม่น่ากังวล แค่เพิ่งเริ่มต้น เล็งจับปรับเผาก่อควันพิษ

20 ต.ค.2565 - ที่ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร เสาชิงช้า นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กล่าวถึงสถานการณ์ฝุ่น PM2.5 ในกรุงเทพฯ ว่า ขณะนี้มีภาวะฝุ่นที่เพิ่มขึ้นมา แต่ยังไม่ถึงขั้นวิกฤต ซึ่งเราก็มีมาตรการดำเนินการ โดยในวันที่ 21 ต.ค. จะมีการประชุมคณะกรรมการหน่วยงานที่เกี่ยวข้องชุดใหญ่ เน้น 3 เรื่องที่เป็นแหล่งฝุ่น 1.รถยนต์รถบรรทุก 2.โรงงาน ที่มีกว่า 6,000 แห่ง 3.การเผาชีวะมวล โดยจะดำเนินการเชิงรุกมากขึ้น นอกจากนี้ จะเปิดศูนย์บัญชาการฝุ่น PM2.5 ที่สำนักสิ่งแวดล้อม ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร ดินแดง รายงานสถานการณ์ฝุ่นPM2.5 ทุกวัน และมีมาตรการให้ความรู้เด็กในโรงเรียน โดยมีโครงการชักธงในโรงเรียน เพื่อให้เด็กนักเรียนได้ฝึกอ่านข้อมูลคุณภาพอากาศ ค่าฝุ่น และชักธงตามสภาพอากาศ เขียว เหลือง แดง ทำให้เด็กเกิดความตระหนักรู้ หัดอ่านข้อมูลและเข้าใจถึงต้นตอ อาจนำไปเผยแพร่ถึงครอบครัว และระยะยาวได้

นายชัชชาติ กล่าวต่อว่า อย่างไรก็ตามสถานการณ์ยังไม่ถึงน่ากังวล เป็นแค่ในระยะเริ่มต้น ต่อไปเราน่าจะต้องมีจุดวัดความร้อน (Hotspot) เพราะการเผาชีวะมวลที่เกิดขึ้น หลายครั้งไม่ได้เกิดในกรุงเทพฯ แต่เกิดในจังหวัดหรือประเทศข้างเคียง แล้วลมพัดเข้ามา เราจะต้องมี 2 ส่วน คือ ระบบเตือนภัย และระบบพยากรณ์ที่แม่นยำ ซึ่งจะประสานศูนย์ฯเพื่อให้สามารถเตือนภัยหรือพยากรณ์ล่วงหน้าได้ ต่อไปอาจต้องมีเชิงรุก หากมีจุดความร้อนเกิดขึ้น ก็จะเข้าไปที่จุดนั้นเลย เหมือนที่เชียงรายทำ และได้มีการปรึกษานายณรงค์ศักดิ์ โอสถธนากร ผู้ว่าราชการจังหวัดปทุมธานี เพราะทำได้ดีในเรื่องนี้ ที่อาจต้องใช้ไม้แข็ง เช่น จับปรับ แต่คงไม่มาก ปรับเพื่อให้เห็นว่าเอาจริง เราคงทำมาตรการต่างๆ 4 ระดับเต็มที่ ขออย่าพึ่งตื่นตระหนก ตัวเลขยังไม่ได้รุนแรงมาก

นายชัชชาติ กล่าวอีกว่า ตอนนี้ได้สั่งให้พัฒนาเครื่องกรองอากาศ โดยโรงเรียนฝึกอาชีพกรุงเทพมหานครได้ทำขึ้น ซึ่งใช้พัดลมรถยนต์ ไฟ 12 โวลท์ และแผ่นกรองอากาศ สามารถดักจับฝุ่นได้ แต่มีกำลังผลิตไม่มาก จึงให้ทำคู่มือ DIY กระจายออกไปตามวิทยาลัยเทคนิค หรือคนที่สามารถทำด้วยตัวเองได้

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คน กทม. เกินครึ่งไม่เห็นด้วยมาตรการเก็บค่าธรรมเนียมรถติด

นย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลการสำรวจ ของประชาชน เรื่อง “สองมาตรการใหม่ คน กทม. จะเอาไง” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 27-29 พฤศจิกายน 2567 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร กระจายระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ รวมจำนวนทั้งสิ้น 1,310 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับความคิดเห็นของคนกรุงเทพมหานคร หากมีการใช้มาตรการจัดเก็บค่าธรรมเนียมการเก็บขยะและค่าธรรมเนียมรถติด

ฝุ่น PM 2.5 กทม. แนวโน้มลดลง เกินค่ามาตรฐานเหลือ 15 พื้นที่ อยู่ฝั่งธนบุรีเป็นส่วนมาก

ศูนย์ข้อมูลคุณภาพอากาศกรุงเทพมหานคร ขอรายงานสถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM 2.5) ของสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศของกรุงเทพมหานคร