รัฐบาลร่วมมือผู้นำศาสนาอิสลามขับเคลื่อนแก้ปัญหายาเสพติดวัยคะนอง

ภาครัฐร่วมมือผู้นำศาสนาอิสลามขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหายาเสพติดวัยรุ่น เน้นเชิงรุก ตรงกลุ่มเป้าหมาย เปลี่ยนผู้เสพเป็นพลังชุมชน

19 ต.ค.2565 - นางสาวรัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ตามข้อสั่งการของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เน้นย้ำให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมเร่งแก้ไขปัญหายาเสพติดให้เข้มข้นมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะการแพร่ระบาดยาในกลุ่มวัยรุ่น และการกลับมาใช้ยาเสพติดซ้ำเมื่อพ้นโทษออกมาแล้ว ทั้งนี้ เพื่อขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาให้เกิดผลเป็นรูปธรรม และตรงจุดมากยิ่งขึ้น รัฐบาลโดยกรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนพร้อมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ปรึกษาหารือกับนายอรุณบุญชม ประธานคณะกรรมการอิสลามประจำกรุงเทพมหานคร ถึงแนวทางการปฏิบัติงานในการยกระดับการดำเนินงานต่อเด็กและเยาวชนที่นับถือศาสนาอิสลาม ซึ่งอยู่ในการควบคุมดูแลให้เป็นไปตามหลักปฏิบัติของศาสนาอิสลาม และเพิ่มประสิทธิภาพการแก้ไขบำบัดฟื้นฟู และการติดตามภายหลังปล่อยตัวเด็กและเยาวชนที่นับถือศาสนาอิสลามในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้

นางสาวรัชดา กล่าวว่า ทางกรมฯได้รับความอนุเคราะห์จากสำนักจุฬาราชมนตรีในการร่วมดำเนินการปรับปรุงคู่มือการปฏิบัติงานดูแลเด็กและเยาวชนในสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน ให้มีความสอดคล้องกับหลักศาสนาและการปฏิบัติในปัจจุบัน พร้อมทั้งได้รับคำแนะนำในการจัดกิจกรรมและสถานที่ในการดูแลเด็กและเยาวชนให้เหมาะสมกับการปฏิบัติศาสนกิจของศาสนาอิสลาม รวมถึงการส่งเสริมด้านการศึกษาพื้นฐาน การศึกษาทางเลือก และการศึกษาด้านอาชีพผ่านศูนย์การศึกษาอิสลามประจำพื้นที่ (เช่น โรงเรียนปอเนาะ โรงเรียนฮาฟิส) ตลอดจนการใช้กิจกรรมตามหลักศาสนาอิสลาม (เช่น การท่องจำคัมภีร์อัลกุรอาน) เพื่อบำบัด แก้ไข ฟื้นฟู ปรับเปลี่ยนความคิดและพฤติกรรมเด็กและเยาวชน

นางสาวรัชดา กล่าวว่า นอกจากนี้ ได้มีการประสานและทำงานร่วมกับหน่วยงานเครือข่าย เพื่อเตรียมการในการส่งต่อเด็กและเยาวชนที่พ้นจากการควบคุมตัว และส่งเสริมการด้านการศึกษาอาชีพ เพื่อให้เด็กและเยาวชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีและลดความเสี่ยงในการกระทำผิดซ้ำ โดยทั้งสองฝ่ายมีความเห็นตรงกันถึงการให้ความสำคัญกับการส่งเสริมเยาวชนให้ได้รับการศึกษาต่อเนื่อง การมีอาชีพรองรับ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิต รวมทั้งป้องกันมิให้เด็กและเยาวชนยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติดและกลับไปกระทำผิดซ้ำ จึงวางแผนดำเนินการต่อเนื่องร่วมกับคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดเพื่อกำหนดแนวทางการประสานส่งต่อและสงเคราะห์ช่วยเหลือเด็กและเยาวชนที่เหมาะสมกับพื้นที่นั้นๆ ต่อไป

นางสาวรัชดา กล่าวว่า สำหรับพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ ซึ่งมีสภาพแวดล้อมและบริบทที่ต่างจากพื้นที่อื่น ทางกองทัพภาค4 ยังได้ร่วมบูรณาการการทำงาน โดยขับเคลื่อนโครงการบำบัดฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดโดยมีชุมชนเป็นศูนย์กลาง (Community Based Treatment CBTx) ผ่านการมีส่วนร่วมของผู้นำศาสนา และผู้ปกครอง ตั้งแต่ปี 2563 มีตำบลมะนะยง อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี เป็นตำบลต้นแบบ ขณะนี้สามารถขยายผล มีตำบลเข้าร่วมโครงการและดำเนินการได้อย่างเป็นรูปธรรมรวม 38 ตำบลนำร่อง ซึ่งในปีหน้าตั้งเป้าให้ครบ 290 ตำบลในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้และสี่อำเภอในจังหวัดสงขลา การใช้แนวทางCBTx เป็นแนวทางที่สอดสอดคล้องกับวิถีชีวิตคนในพื้นที่เพื่อให้เกิดการยอมรับของคนในชุมชนอย่างแท้จริง ซึ่งผลการดำเนินงานในช่วงที่ผ่านมาแสดงให้เห็นถึงความสำเร็จของโครงการ ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน 1. ค้นหาเชิงรุก 2. คัดแยกและคัดกรองเชิงรุก 3. ส่งเข้าบำบัด และ 4. ติดตามผล บ่มเพาะนิสัยใหม่ และ 5. สร้างอาชีพ

“การขยายผลอย่างเป็นรูปธรรมนี้ เป็นเครื่องยืนยันถึงความร่วมมือของทุกฝ่าย ทั้งฝ่ายความมั่นคง ข้าราชการในตำบล ผู้นำศาสนา และผู้ปกครอง ซึ่งรัฐบาลจะให้การสนับสนุนอย่างเต็มที่เพื่อให้การแก้ปัญหายาเสพติดในทุกพื้นที่นำไปสู่การลดจำนวนผู้ติดยาเสพติด และเปลี่ยนผู้เสพให้เป็นพลังของชุมชนต่อไป”นางสาวรัชดากล่าว

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

รัฐบาลชวนปชช. จอง-แลกเหรียญเฉลิมพระเกียรติ 'ในหลวง' เริ่ม 24 ก.ค.

รัฐบาลเชิญชวนประชาชน จอง-แลกเหรียญกษาปณ์ที่ระลึก เหรียญที่ระลึก และเหรียญเฉลิมพระเกียรติ 'ในหลวง' เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ ตั้งแต่ 24 ก.ค.นี้

'คารม' แจงยิบยัน 'กยศ.' คิดดอกเบี้ยอัตรา 1%

'คารม' ย้ำ กองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษาคิดดอกเบี้ยอัตรา 1% ตั้งแต่เริ่มกู้จนชำระเสร็จสิ้น ไม่มีการคิดดอกเบี้ยซ้อนดอกเบี้ย ขอให้ผู้กู้ยืมชำระหนี้ตามจำนวนที่แจ้งในหน้าแอปพลิเคชัน กยศ.Connect

'เกณิกา' ตีปี๊บฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดคืนสังคมกว่า 5 หมื่นราย

'เกณิกา' เผยข้อมูลติดตามผู้ป่วยบำบัดยาเสพติด ไม่เสพซ้ำกว่า 5 หมื่นคน ตามนโยบายรัฐบาลเศรษฐา 'ปราบปราม รักษา ฟื้นฟู ดูแล' ให้โอกาสผู้เสพคืนสู่สังคมอย่างมีคุณภาพ