'เสรี ศุภราทิตย์' ชี้ศึกน้ำในทุ่งเจ้าพระยา น้ำหลากภาคอีสาน ยืดเยื้อถึงปลาย พ.ย.

17 ต.ค.2565 - รศ.ดร.เสรี ศุภราทิตย์ รองประธานกรรมการมูลนิธิสภาเตือนภัยพิบัติแห่งชาติ โพสต์ข้อความบนเฟซบุ๊กว่า น้ำเหนือเริ่มลดที่เจ้าพระยาแต่ไปกองฝั่งตะวันตกบางบาลชั้นสองก็จมน้ำ ส่วนน้ำเหนือชีมูลเริ่มทรงตัวแต่น้ำทุ่งมากศึกนี้ยืดเยื้อไปถึงปลายเดือนพฤศจิกายน ภาคใต้ฝั่งอันดามันมีฝนต่อเนื่องระวังน้ำไหลหลาก ความหนาวเย็นจะหายไปตั้งแต่วันศุกร์ที่21ตุลาคมแต่จะกลับมาใหม่ช่วงสิ้นเดือน

เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม ที่ผ่านมา ผมได้นั่ง ฮ. สำรวจสถานการณ์น้ำท่วม เริ่มจากฝั่งตะวันออก อ.บางปะอินขึ้นไปเขื่อนพระรามหก เขื่อนเจ้าพระยา บินลงมาทางฝั่งตะวนตก แม่น้ำน้อยกลับสู่บางปะอิน ฝั่งตะวันออกเห็นสภาพน้ำในทุ่งประปายไม่มีน้ำหลากจากแม่น้ำทั้งจากแม่น้ำเจ้าพระยา และป่าสัก โดยขอบเขตน้ำท่วมจำกัดอยู่ที่ถนนริมน้ำที่ถูกยกเป็นคันกั้นน้ำ พื้นที่ฝั่งขวาแม่น้ำป่าสักมีน้ำท่วมใน อ.ท่าเรือ และ อ.นครหลวง พื้นที่บางจุดมีน้ำหลากจากแม่น้ำเจ้าพระยาเข้าทุ่งบางประหันเจอถนนสายเอเชีย ทุ่งท่าวุ้งมีน้ำเต็มพื้นที่ เขื่อนพระรามหกยกบานทั้งหมด ประตูน้ำพระนารายณ์ระบายน้ำ 2 ช่อง (106 cms) เข้าคลองระพีพัฒน์ พื้นที่ทั้งสองฝั่งคลองชัยนาท-ป่าสักมีน้ำทุ่งกำลังระบายลงคลองฯทั้งในพื้นที่ลพบุรี และสระบุรี ส่วนฝั่งตะวันตกมีน้ำหลากเต็มพื้นที่โดยเฉพาะริมแม่น้ำน้อย แม่น้ำท่าจีนท้ายประตูโพธิ์พระยา ตั้งแต่ อ.ป่าโมก อ่างทอง อ.บางบาล อ.บางไทร อ.เสนา อยุธยา อ.เมือง อ.บางปลาม้า สุพรรณบุรี


เดินทางโดยรถยนต์ต่อไปที่ ต.บ้านกุ่ม อ.บางบาล นั่งเรือเข้าไปพบพี่โต้ง ต้องปีนเข้าทางหน้าต่างขั้น 2 ระดับน้ำปัจจุบันสูงกว่าปี 54 ประมาณ 50 cm รถกระบะจมน้ำ (เอาออกไม่ทัน) นั่งโต๊ะรับแขกน้ำท่วมขาสปาชิวๆ อีก 10 cm น้ำจะท่วมที่นอน (แต่ระดับน้ำเหนือกำลังลดลง คงนอนอยู่ได้น่ะครับ โชคดีที่พายุโซนร้อนเซินกาไม่นำฝนมามาก) พูดไม่ออกจากนี้จะอยู่กันอย่างไร ? ทั้งเหนื่อยกาย เหนื่อยใจ แต่ต้องสู้ๆต่อไป เป็นกำลังใจให้น่ะครับ

สถานการณ์น้ำเหนือเจ้าพระยากำลังลดลงอย่างช้าๆ น้ำในทุ่งกำลังไหลลงแม่น้ำอย่างช้าๆเช่นกัน สุดท้ายแล้วน้ำจะมากองกันอยู่ที่ปลายน้ำ (ตั้งแต่ปทุมธานี จนถึงสมุทรปราการ ฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา) และมากองที่ฝั่งตะวันตกมาก (สุพรรณบุรี นครปฐม และสมุทรสาคร ฝั่งแม่น้ำท่าจีน) ปริมาณน้ำฝนสะสมปีนี้ในภาคกลางมากกว่า ปี 2554 (ประมาณ 5%) จึงคาดว่าระดับน้ำจะลดลงต่ำกว่าตลิ่งภายในปลายเดือนพฤศจิกายน แต่ระดับน้ำในทุ่งต้องใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 2 เดือน (จนถึงกลางเดือนธันวาคม) น้ำทะเลจะหนุนสูงตั้งแต่วันที่ 27-30 ตุลาคมอีกประมาณ 30 cm

ภาคอีสานหลายจังหวัดยังอ่วมจากปริมาณเหนือน้ำหลากจากน้ำชี และน้ำมูล แม้ว่าปริมาณน้ำที่อุบลราชธานีเริ่มทรงตัว และมีแนวโน้มลดลง แต่จากการประเมินปริมาณฝน และพื้นที่น้ำท่วม พบว่าปริมาณฝนสะสมในปีนี้ภาคอีสานมีสูงมากกว่าปีน้ำท่วมล่าสุด 2562 ถึง 35% ดังนั้นคาดว่าระดับน้ำจะเริ่มลดลงต่ำกว่าตลิ่งอย่างเร็วที่สุดภายในกลางเดือนพฤศจิกายนเช่นกัน และอาจยืดเยื้อต่อเนื่องไปจนถึงปลายเดือนได้ (ต้องติดตามสถานการณ์พายุจรจนถึงปลายเดือนตุลาคม ที่อาจจะนำฝนมาเติมหรือไม่ ? สำหรับพายุไต้ฝุ่นเนสาดคาดว่าจะเข้าเวียดนามตอนบนวันที่ 21-22 ตุลาคม ไม่น่าจะส่งผลประเทศไทยเพราะความกดอากาศสูงจากแผ่นดินใหญ่ แต่ต้องติดตามสถานการณ์ด้วยครับ อะไรก็เกิดขึ้นได้ ?)

 

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ทบ. ส่งทหารช่างสร้างสะพาน ระดมกำลังช่วยประชาชน เหตุอ่างเก็บน้ำห้วยเชียงคำแตก

ร.อ.หญิง จุฑาพัชร เปรมบัญญัติ ผู้ช่วยโฆษกกองทัพบก เปิดเผยว่า จากสถานการณ์ฝนตกหนักในหลายพื้นที่ของประเทศมีปริมาณน้ำฝนจำนวนมากไหลลงอ่างเก็บน้ำห้วยเชียงคำ ในพื้นที่ บ.บ่อหลุม ต.โนนราษี อ.บรบือ จ.มหาสารคาม จนทำให้

เตือน 'ลานีญา' เริ่ม ก.ย. ฝนตกมากกว่าค่าเฉลี่ยปกติ ระวังน้ำท่วม ปลายปีหนักแน่

รศ.ดร.วิษณุ อรรถวานิช อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ผู้เชี่ยวชาญงานวิจัยด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการเกษตร โพสต์เฟซบุ๊กระบุว่า

เตือนฝนตกหนักต่อเนื่อง จากอิทธิพลร่องมรสุมและมรสุมพัดปกคลุม ยังไม่มีสัญญาณพายุ

กรมอุตุนิยมวิทยา อัปเดตผลการพยากรณ์ฝนสะสมรายวัน 10 วันล่วงหน้า ในระยะ 1-2 วันนี้ บริเวณประเทศไทยยังมีฝนตกต่อเนื่องและตกหนักบางแห่ง

พยากรณ์ 10 วันล่วงหน้า 15-18 ก.ค. อากาศแปรปรวนฝนตกหนักขึ้น รับมือเป็นพิเศษ

กรมอุตุนิยมวิทยา อัปเดตผลการพยากรณ์ฝนสะสมรายวัน (ทุกๆ 24 ชม. : (นับตั้งแต่ 07.00 น. ถึง 07.00 น.วันรุ่งขึ้น) และลมที่ระดับ 925hPa (750 ม.) 10 วันล่วงหน้า

อุตุฯประกาศ ฉ.6 ทั่วไทยมีฝนตกหนักเพิ่มขึ้นหลายพื้นที่ เสี่ยงเกิดน้ำท่วมฉับพลัน

กรมอุตุนิยมวิทยา ออกประกาศฉบับที่ 6 เรื่อง ฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณประเทศไทยและคลื่นลมแรงบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทย