แจงพ่อทำร้ายเด็ก 14 เข้าเงื่อนไข กม.คุ้มครองครอบครัว

17 ต.ค. 2565 – นายวีรศักดิ์ โชติวานิช อุปนายกฝ่ายเทคโนโลยีและสารสนเทศ และรองโฆษกสภาทนายความ ให้ความเห็นกรณีที่นายกัน จอมพลัง ให้ความช่วยเหลือเด็กอายุ 14 ปี ถูกพ่อซึ่งเป็นนักการเมืองท้องถิ่นทำร้ายร่างกาย เพราะจับได้ว่าแต่งหญิง โดยเด็กหนีออกจากบ้านมา 2 วันแล้ว ปัจจุบันอยู่ในความดูแลของบ้านพักเด็กและครอบครัวจังหวัดเพชรบุรี ในสังกัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ว่า ในปี พ.ศ.2562 มีการออกกฎหมายฉบับหนึ่งออกมาคือ พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ส่งเสริมการพัฒนาและคุ้มครองสถาบันครอบครัว พ.ศ.2562 โดยมาตรา 3 ระบุว่า ให้ยกเลิก พ.ร.บ.ผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัวพ.ศ.2550 ซึ่งคือกฎหมายที่คนรู้จักในปัจจุบันนี้ ในปี 2562 ได้ยกเลิกไปแล้ว เเละให้ใช้ พ.ร.บ.ส่งเสริมการพัฒนาและคุ้มครองสถาบันครอบครัวนี้เเทน ซึ่งเป็นกฎหมายที่คนทั่วไปไม่ค่อยคุ้นเคย

กฎหมายฉบับนี้มีความสำคัญเพื่อใช้บังคับเกี่ยวกับความคุ้มครองความรุนเเรงในครอบครัว เป็นลักษณะเชิงลงโทษทางปกครองมากกว่า ไม่มีบทบัญญัติระบุว่าถ้ามีการกระทำฝ่าฝืนกฎหมายฉบับนี้ เเละเป็นในครอบครัว เช่นพ่อกระทำต่อแม่ พ่อกระทำต่อลูก แม่กระทำต่อพ่อ แม่กระทำต่อลูก แล้วก็ต้องมีโทษถึงขั้นจำคุก ไม่มีในกฎหมายฉบับนี้ แต่จะเป็นบทบัญญัติเป็นเชิงการเยียวยา การลงโทษทางสังคมมากกว่า โดยให้มีหน่วยงานหน่วยหนึ่งขึ้นมาเพื่อการเยียวยาปัญหาในครอบครัว นั่นก็คือกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เพราะเรื่องในครอบครัวเป็นเรื่องละเอียดอ่อน ซึ่งจะใช้กฎหมายทั่วไปมาแก้ไขปัญหาทางครอบครัวจะไม่สามารถบรรลุผลได้และเป็นการแก้ที่ปลายเหตุ

กฎหมายนี้เป้าหมายคือ การเข้าไปฟื้นฟูสภาพจิตใจของทั้งฝ่ายผู้ถูกกระทำเเละผู้กระทำโดยให้ พม. เป็นเจ้าภาพหลักในการจัดการเรื่องนี้ ก็จะใช้อำนาจในการปกครองโดยอาศัยศาลเยาวชนและครอบครัว หรือศาลเด็กที่เรารู้จักกัน กรณีดังกล่าวนี้ถ้าระบุชัดว่ามีการกระทำดังกล่าวนั้นจริงแล้ว เด็กผู้ถูกกระทำมีสภาพจิตใจที่บอบช้ำและเขาก็ไม่กล้าที่จะเข้าไปสู่อ้อมอกของพ่อแม่ เพราะเขากลัวว่าจะถูกพ่อซึ่งไม่เข้าใจสภาพจิตใจเขาทำร้ายเขาอีก พม.ก็จะเข้าไปช่วยเยียวยา รวมทั้งออกมาตราการกำหนดไม่ให้พ่อมีพฤติกรรมที่จะลงโทษบุตรในความรุนเเรงนั้นอีก ตรงนี้จะเป็นเครื่องมือในการแก้ไขปัญหา ซึ่งตนคิดว่าถูกจุดมากกว่าการที่ไปเอากฎหมายอาญามาบังคับใช้

เมื่อถามว่าเเบบนี้เท่ากับบิดาที่ก่อเหตุจะไม่ถูกลงโทษอาญาใช่หรือไม่ นายวีรศักดิ์ กล่าวว่า บุตรจะไม่สามารถดำเนินคดีกับบุพการีได้ ในกรณีนี้กฎหมายบอกว่าตามมาตรา1562 ผู้ใดจะฟ้องบุพการีของตนเป็นคดีแพ่งหรือคดีอาญามิได้ แต่เมื่อผู้นั้นหรือญาติสนิทของผู้นั้นร้องขออัยการ จะยกคดีขึ้นว่ากล่าวก็ได้ จะบอกว่าบิดาจะไม่ถูกดำเนินคดีเลยหรือไม่ก็ไม่ใช่ ก็อยู่ที่ว่าเจ้าหน้าที่ของรัฐคือพนักงานอัยการ โดยใช้ช่องทางที่ให้บุตรหรือญาติสนิทนั้นมาร้องขออัยการ

เเต่การที่จะเอามาตรการทางกฎหมายอาญามาดำเนินคดีกับพ่อ ต้องอย่าลืมความเป็นพ่อลูก แม้การกระทำของพ่อจะรุนแรงแค่ไหน หรือทำให้บอบช้ำเพียงใด แต่โดยสายเลือดมันตัดกันไม่ขาด ตนไม่สนับสนุนให้มีการดำเนินคดีอาญากับพ่อ แต่สงเสริมให้ใช้มาตรการส่งเสริมและพัฒนาสถาบันครอบครัวพ.ศ.2562มาดำเนินการแก้ไขเยียวยา มันมีช่องทางอีกมาก

ซึ่งตำรวจอาจจะเชิญพ่อมาลงบันทึกประจำวันว่าเรื่องนี้อาจจะคาดโทษไว้ เพราะพนักงานสอบสวนถือเป็นผู้รักษากฎหมายของแผ่นดิน ฉะนั้นต่อให้ไม่มีใครมากล่าวโทษร้องทุกข์ แต่ถ้าพนักงานสอบสวนปรากฎความผิดประจักษ์แล้วเป็นความผิดยอมความไม่ได้ พนักงานสอบสวนก็มีอำนาจที่จะสร้างสำนวนขึ้นได้ด้วยตัวเองภายหลัง

เมื่อถามว่าหากพนักงานสอบสวนทราบเรื่องเเล้วไม่ดำเนินคดีจะโดนโทษฐานละเว้นหรือไม่ นายวีรศักดิ์ กล่าวว่า เรื่องของฐานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ เจ้าพนักงานก็มีเหตุผลที่จะไม่ดำเนินการทางคดี คือถ้าจะไปถือว่าทุกสิ่งทุกอย่างที่เจ้าพนักงานรู้เห็นแล้วไม่ดำเนินการถือว่าละเว้นฯ เป็นมาตรา 157 หมด คิดว่าก็ไม่เป็นธรรมกับเจ้าหน้าที่ สังคมอย่าไปบีบคั้นให้เจ้าหน้าที่ต้องฝืนใจ เพราะเป็นปัญหาภายในครอบครัว แล้วเรามี พ.ร.บ.ส่งเสริมการพัฒนาและคุ้มครองสถาบันครอบครัว2562 ใช้บังคับแล้ว ถ้าเป็นสมัยก่อน เจ้าหน้าที่อาจจะอึดอัดมาก ก่อนที่จะมีกฎหมายเหล่านี้

“ยกตัวอย่างเช่นกรณีที่แม่จำเป็นต้องลักทรัพย์ถ้าเพื่อมาเลี้ยงลูกที่ใกล้จะอดตาย อันนี้เคยมีกรณีตัวอย่างที่อัยการสูงสุดใช้อำนาจในการสั่งไม่ฟ้อง เพราะนี่คือมาตราการทางสังคม ที่ผมคิดว่าการบังคับใช้กฎหมายผู้มีอำนาจบังคับใช้กฎหมายต้องมีศีลธรรมในใจต้องมีจริยธรรม ไม่ใช่ว่าตีกฎหมายแบบตรงไปตรงมา สิ่งต่างๆ สังคมไทยเราต้องเรียนรู้ไปด้วยกันมันเป็นเรื่อละเอียดอ่อนในครอบครัว” นายวีรศักดิ์ ระบุ

รองโฆษกสภาทนายความ กล่าวเพิ่มเติมว่า อยากฝากถึงสื่อมวลชนด้วยความเป็นห่วงว่า เรื่องนี้มีเด็กเข้ามาเกี่ยวข้อง ซึ่งก็จะมีกฎหมายคุ้มครองเด็กฯ การนำเสนอข่าวต้องพึงระมัดระวัง เพราะในมาตรา 27 บัญญัติไว้ว่า การนำเสนอเปิดเผยชื่อที่อยู่ของเด็กหรือบุคคลใกล้ชิดให้ทราบไม่ได้ อย่างกรณีที่เเม้จะปิดชื่อเด็กเเต่ไปบอกชื่อพ่อเด็กก็ทำไม่ได้.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'อิ๊งค์' ยิ้มร่ารับฉายา 'รัฐบาลพ่อเลี้ยง' แซวตัวเอง 'แพทองแพด' แฮปปี้ไม่เกลียดใคร

'นายกฯอิ๊งค์' ยิ้มแย้ม ไม่โกรธฉายา 'รัฐบาลพ่อเลี้ยง' ขอมองมุมดี พ่อมีประสบการณ์เพียบช่วยหนุน หยอกสื่อกลับ 'แพทองแพด' ไม่ใช่แพทองโพย บอกไม่ค่อยเกลียดใครมันเหนื่อย แฮปปี้เข้าไว้

NT ประกาศเยียวยาลูกค้ากรณีบริการอินเทอร์เน็ตขัดข้อง

พันเอก สรรพชัยย์ หุวะนันทน์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) หรือ NT เปิดเผยว่าจากเหตุระบบการให้บริการ NT Broadbandขัดข้องและส่งผลกระทบต่อการใช้บริการในบางพื้นที่

นายกฯสั่ง ศปช. เร่งสำรวจพื้นที่หลังน้ำลดชงครม. เข้าโหมดเยียวยายึดแม่สายโมเดล

นายกฯให้ทุกหน่วยงานเร่งสำรวจโดยเฉพาะพื้นที่ที่น้ำลดว่า มีความเสียหายรูปแบบใดและให้กำหนดแนวทางเยียวยานำเสนอต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรีต่อไป

'กกร.เชียงใหม่' จ่อชง 'ครม.สัญจร' เยียวยาผู้ประกอบการน้ำท่วม

นายอาคม สุวรรณกันทา ประธานสมาพันธ์ SMEs ไทย จังหวัดเชียงใหม่ และรองประธานหอการค้าจังหวัดเชียงใหม่ เปิดเผยว่า มาหาอุทกภัยที่เกิดขึ้นกับเชียงใหม่ปีนี้

"พิพัฒน์” ห่วงใย เหตุการณ์ลูกจ้างถูกปั้นจั่นเฉี่ยวเสียชีวิตที่สมุทรปราการ มอบประกันสังคมเยียวยาทายาท 9.5 แสนบาท

​เมื่อวันที่ 26 ตุลาคม 2567 ที่ผ่านมา ได้เกิดเหตุลูกจ้างถูกปั้นจั่นเฉี่ยวชนเสียชีวิตในพื้นที่จัดเก็บสินค้าของการบินไทย บริเวณท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน และนายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์

'ทวี' สวมบท สส. รับ 'คดีตากใบ' ไม่เป็นธรรม ไร้เงาผู้ต้องหา

'ทวี' ชี้ 'ตากใบ-ไฟใต้' ทุกภาคส่วนต้องร่วมหาทางออก ย้ำสังคมขาดความยุติธรรมมีความแตกแยก ผู้มีอำนาจอาจอยู่ไม่ได้ เร่งเยียวยาจิตใจคนชายแดนใต้