'ผู้พันเบิร์ด' เผยที่มา 'อุทยานเฉลิมพระเกียรติ ร.9' จากแนวพระราชดำริในหลวง

เผยพระราชดำริ "ในหลวง" ก่อนปรับปรุงสนามม้านางเลิ้งเป็นสวนสาธารณะ-หวังลดปัญหาจากการพนันม้า "ผู้พันเบิร์ด" มองผู้ใช้เดิมไม่ต่อสัญญา สุ่มเสี่ยงถูกฮุบพื้นที่ ชี้ที่ดินทรัพย์สินฯ อดีต-ปัจจุบัน นำไปเช่าช่วงต่อทำกำไรพร้อม ระบุภายภาคหน้าจะยังได้เห็นหลายสิ่งที่พัฒนาสถาพรต่อไป

13 ต.ค.2565 - พันเอกวันชนะ สวัสดี หรือ ผู้พันเบิร์ด จิตอาสา 904 เปิดเผยถึงความเป็นมาในการใช้ที่ดินสนามม้านางเลิ้ง และแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในการปรับปรุงพื้นที่เป็นอุทยานเฉลิมพระเกียรติฯ สวนสาธารณะขนาดใหญ่ ปอดแห่งใหม่ใจกลางกรุงเทพฯ และเป็นพื้นที่จอดรถของโรงพยาบาลรามาธิบดี

โดยระบุว่า สนามม้านางเลิ้งถูกสร้างขึ้นตั้งแต่สมัย ร.6 ตอนนั้นบริบทสังคมกับการแข่งม้าถือเป็นเรื่องใหม่ มีพันธุ์ม้าต่างประเทศเข้ามามาก ร.6 สร้างสนามม้านี้เพื่อเป็นการพัฒนาพันธุ์ม้าในประเทศไทยในภาพรวม อันหมายถึง การแข่งขันที่เป็นกีฬา การค้าขายอาหารเพื่อส่งเสริมธุรกิจชุมชน การพักผ่อน และธุรกิจกีฬา เมื่อวันเวลาผ่านไป บริบทสังคมเปลี่ยนวัตถุประสงค์เหล่านี้ก็เปลี่ยนและลดลง มีการพนันเข้ามาเกี่ยวข้อง มีผู้มีอิทธิพลในการแข่งขัน สามารถกำหนดผลแพ้ชนะได้

ที่สำคัญในการปรับปรุงครั้งนี้คือ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯเห็นว่า การพนันมีผลเสียเกิดขึ้นมากในวงกว้าง และตามมาซึ่งปัญหาอาชญากรรม ยาเสพติด สุดท้ายก็กระทบกับครอบครัว ครอบครัวแตกแยก จึงเป็นที่มาและเหตุผลที่ปรับปรุงครั้งนี้

“ผมมาคิดต่อว่า การขอที่ดินคืนครั้งนี้ก็ขอคืนในขณะที่หมดสัญญาเช่าไปก่อนหน้านี้นานแล้ว ค่าเช่าก็ไม่แพง เพียงเดือนละ 10,000 บาท แต่กลับเอาไปหากินกับการพนันมีเงินหมุนเวียนสัปดาห์ละหลายร้อยล้านบาท ขอสังเกตคือ การที่สัญญาหมดไปนานแล้ว แต่ไม่มีการต่อสัญญา แสดงให้เห็นถึงความไม่ชัดเจนของสิทธิครอบครองที่ดิน ก็มีความเป็นไปได้ในเรื่องการฮุบเอาที่ดินทรัพย์สินไปเป็นของกลุ่มคนได้ในอนาคต เรื่องนี้เคยเกิดมาแล้วในช่วง 2475 และปัจจุบัน ก็ยังมีอีกหลายพื้นที่ ที่ไม่ชัดเจน มีกลุ่มคนเข้าใช้ประโยชน์ที่ดินทรัพย์สินหาประโยชน์เข้าตัวเองอยู่ แค่ปล่อยเช่าช่วงต่อก็ได้กำไรหลายแล้ว ส่วนการทำความชัดเจนนี้ก็เพื่อให้มีเจ้าของที่ดินถูกต้องและเสียภาษีถูกต้องไม่คลุมเครือ”

และแน่นอนว่า เมื่อพระองค์ปรับปรุงสนามม้าครั้งนี้ ก็จะมีข่าวบิดเบือนออกมาทันทีว่า พระองค์จะเอาไปสร้างวัง จนมาถึงวันนี้ความจริงปรากฏแล้วว่าไม่จริงพวกที่บิดเบือนก็ไม่ได้ออกมายอมรับ ที่สำคัญคือ บิดเบือนปล่อยข่าวปลอมเป็นประจำจากคนเดิมๆ แต่ก็ยังมีคนเชื่อ และมีคนเอาไปขยายผลต่อ สร้างความเข้าใจที่ผิดต่อสถาบัน แต่ก็ยังมีคนเชื่อและเชียร์อยู่ คนบิดเบือนเหล่านี้หวังผลทางการเมืองและอำนาจเงินทองเข้ามาสู่ตนเองทั้งนั้น

การบวงสรวงพระบรมราชานุสาวรีย์ ในหลวง ร.9 ครั้งนี้เป็นเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ที่ต้องบันทึกไว้ของชาติไทย มีการลงจดหมายเหตุไว้ เช่นเดียวกับ ตอนสร้างพระบรมรูปทรงม้าตอนนี้ผมเกิดไม่ทัน แต่พระราชพิธีครั้งนี้ก็จะเหมือนกัน ดังนั้นพวกเราคนไทยในปัจจุบันแม้จะ เกิดไม่ทันในสมัยนั้นแต่ในสมัยนี้เราก็ได้เห็นพระราชพิธีเหมือนกัน

นับเป็นพระมหากรุณาที่คุณเป็นล้นพ้นต่อปวงชนชาวไทยที่สถาบันไม่เคยละทิ้งหรือแบ่งแยกประชาชนเลย พระองค์ให้ความสำคัญกับเรื่องเล็กน้อยที่ส่งผลกว้างใหญ่ เช่น สิ่งแวดล้อม การกระจายอำนาจจากส่วนกลาง สถาบันครอบครัว การศึกษา การสาธารณสุข วันนี้เราได้เห็นหลายสิ่งพัฒนาขึ้นจากการเติมเต็มของสถาบัน ต่อไปภายภาคหน้าแน่นอนว่าเราจะยังได้เห็นอีกหลายสิ่งที่พัฒนาสถาพรต่อไป

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ธพส. ร่วมบันทึกเทปถวายพระพรชัยมงคล พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2567 นายนาฬิกอติภัค แสงสนิท กรรมการผู้จัดการ บริษัท ธนารักษ์พัฒนาสินทรัพย์ จำกัด หรือ DAD Asset Development นายธีธัช สุขสะอาด และนายประณต เลิศมีมงคลชัย

'ผู้พันเบิร์ด' ฉีกคาแรกเตอร์ เล่นบท 'พระ' ฟาดวาจาคม

เล่นมาแล้วทุกบทบาท สำหรับนักแสดงมากความสามารถ วันชนะ สวัสดี หรือ ผู้พันเบิร์ด ล่าสุดได้รับบทบาทที่ดูเหมือนจะเรียบง่าย แต่ก็ไม่ง่าย อย่าง หลวงพ่อแก่น ในละคร เจ้าพ่อ ทางช่อง 8 เรียกได้ว่าเป็นการพลิกคาแรกเตอร์ครั้งสำคัญ ซึ่งงานนี้เจ้าตัวก็ทำอออกมาได้เป็นอย่างดี จนนักแสดงร่วมในละครถึงกับยกนิ้วให้

นายกฯ ติดตามความก้าวหน้าการจัดขบวนเรือพยุหยาตราทางชลมารค

นายกฯ ติดตามความก้าวหน้าการจัดขบวนเรือพยุหยาตราทางชลมารค และความก้าวหน้าในการประดับตกแต่งเรือพระที่นั่ง ชื่นชมแผนต่อยอดการท่องเที่ยว สอดคล้องนโยบายรัฐบาล

ในหลวง พระราชทานน้ำหลวงสรงศพ พลเรือเอก หม่อมเจ้าปุสาน สวัสดิวัตน์

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินี เสด็จพระราชดำเนินไปพระราชทานน้ำหลวงสรงศพ พลเรือเอก หม่อมเจ้าปุสาน สวัสดิวัตน์ ป.จ.,ม.ป.ช.,ม.ว.ม.,ว.ป.ร.2 ณ ศาลาบัณณรศภาค วัดเบญจมบพิตร

'ในหลวง พระราชินี' เสด็จฯ ในการพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา 3 มิถุนายน

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี เสด็จพระราชดำเนินโดยรถยนต์พระที่นั่งจากพระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิตไปยังวัดพระศรีรัตนศาสดาราม และพระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย