11 ต.ค.2565 - ที่ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร เสาชิงช้า นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กล่าวถึงสถานการณ์น้ำริมเจ้าพระยา ที่มีน้ำหนุนเข้าท่วมบริเวณชุมชนใต้สะพานซังฮี้ ว่า เข้าใจว่าสะพานซังฮี้ มี 2 ฝั่ง ฝั่งธนคือฝั่งขนาบน้ำ ซึ่งเราปิดล้อมได้ค่อนข้างดี มีน้ำซึมก็ใช้วิธีการปั้มดูดออก และตรงวัดราชผาติการาม ติดปัญหาเรื่องของการเจรจา จึงได้ล้อมริมถนนเรียงกระสอบทรายทำเป็นที่กั้น แต่ก็มีจุดซึมบ้าง อย่างบริเวณท่าเรือเทเวศร์ เรียงเพิ่มอีก 50 เซนติเมตร ทำให้น้ำไม่ข้ามเข้ามา และมีการเฝ้าระวังของระดับน้ำเจ้าพระยาตลอด ส่วนริมเจ้าพระยาของเรามีเขื่อนยาวตลอดเป็นจุดแข็งของ กทม. ซึ่งเราพัฒนาเขื่อนมานานก็จะมีจุดฟันหลอบ้าง ส่วนใหญ่จุดที่มีปัญหาคือจุดที่ประชาชนไม่ให้ทำเขื่อน ต้องอาศัยความร่วมมือกัน อาทิ ตรงวัดเทวราชกุญชรวรวิหาร มีอยู่ 40 หลังคาเรือน อยู่ด้านนอกของคันกันน้ำ ซึ่งน้ำต้องท่วมอยู่แล้ว ถ้าเขารู้ว่าน้ำมาเขาก็จะมาอยู่นอกบ้านก่อน นอกจากนี้ ตรงจุดอื่นก็ไม่ได้มีปัญหาอะไร
นายชัชชาติ กล่าวต่อว่า ส่วนเรื่องบิ๊กแบ๊กยังไม่ได้มีการเรียงวางแนว เพราะยังไม่รู้ว่าแนวไหน ขณะนี้ไม่ได้มีปัญหาอะไร และได้คุยกับกรมชลประทานเรียบร้อยแล้ว แต่เผื่อไว้แค่นั้น ถ้าเกิดฉุกเฉินขึ้นมาสามารถใช้ได้ทันที โดยบิ๊กแบ๊กข้างในจะมีกระสอบทรายใบย่อยๆ หากไม่ได้ใช้สุดท้ายก็สามารถนำกระสอบทรายออกมาอุดหรือทำทางเดินให้ประชาชนได้ โดยกทม. มั่นใจในกรมชลฯ เพราะได้ประสานงานกันตลอด แต่เพื่อความปลอดภัย ความมั่นใจ ก็ป้องกันไว้ เผื่อมีฝนตกไว้ในพื้นที่ อย่างน้อยก็ได้มีอุปกรณ์ช่วยเหลือชาวบ้านได้
ส่วนการลอกท่อของกรมราชทัณฑ์ นายชัชชาติ กล่าวว่า ก็จะลุยต่อ แต่อาจจะช้าเล็กน้อย ซึ่งไม่มีปัญหา โดยให้แต่ละเขตทำแผนไว้แล้วตลอดปี ซึ่งการลอกท่อได้ผลมาก กระแสตอบรับดี ลงไปหลายพื้นที่ เช่น ห้วยขวางลาดพร้าว เห็นชัดและทุกอย่างดีขึ้น เรามาถูกทางแล้ว คือเราไม่ได้ละเลยโครงการใหญ่ แต่เส้นเลือดฝอยทำให้ระบบสมบูรณ์ขึ้น และต่อไปก็จะทำโครงการปรับปรุงเส้นเลือดใหญ่ที่พระโขนง สถานีสูบน้ำพระโขนง คลองสายหลักต่างๆให้มีประสิทธิภาพขึ้น
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
กรมอุตุฯ ประกาศฉบับ 3 เตือนฝนถล่มภาคใต้ คลื่นลมอ่าวไทย-อันดามันจะมีกำลังแรงขึ้น
กรมอุตุนิยมวิทยา ประกาศเรื่อง ฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณภาคใต้ ฉบับที่ 3 (มีผลกระทบจนถึงวันที่ 23 พฤศจิกายน 2567)
โฆษกศปช. เผยกรณี 'น้ำผุด' อ.เชียงดาว มอบหน่วยงานลงพื้นที่ศึกษาแนวทางใช้ประโยชน์
นายจิรายุ ห่วงทรัพย์ ที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรีและโฆษกศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย วาตภัย และดินโคลนถล่ม (ศปช.) เปิดเผยว่า ตามที่ ศปช. ได้เคยประกาศแจ้งเตือนให้ประชาชนในพื้นที่ภาคใต้เฝ้าระวังฝนตกหนักในพื้นที่ระหว่างวันที่ 20-24 พ.ย.ไปแล้วก่อนหน้านี้
คนกรุงร้องเพลงรอลมหนาวต่อ 'ภาคใต้' เจอมรสุมฝนถล่มหนัก
กรมอุตุนิยมวิทยาได้พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้าในลักษณะทั่วไป
PM2.5 มาแล้ว พบ ‘กทม.’ ฝุ่นละอองเกินค่ามาตรฐาน 1 พื้นที่
ภาพรวมปริมาณ PM2.5 ในประเทศอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานเป็นส่วนใหญ่ พบเกินค่ามาตรฐานในกรุงเทพฯ
อากาศเปลี่ยนแปลง ‘กทม.’ อุณหภูมิลดลง ‘เหนือ-อีสาน’ หนาวเย็น ‘ภาคใต้’ ฝนตก
พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้า บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางจากประเทศจีนแผ่ปกคลุมประเทศไทยตอนบน และทะเลจีนใต้แล้ว