ปภ.เผยไทยมีน้ำท่วมในพื้นที่ 27 จังหวัด กำลังเร่งช่วยเหลือเต็มกำลัง

ปภ.รายงานมีน้ำท่วมในพื้นที่ 27 จังหวัด ประสานจังหวัดเร่งช่วยเหลือผู้ประสบภัยอย่างเต็มกำลัง

11 ต.ค.65 เวลา 10.30 น. ปภ.รายงานผลกระทบจากฝนตกหนักในช่วงที่ผ่านมา ทำให้ยังมีพื้นที่เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และน้ำล้นตลิ่ง รวม 27 จังหวัด 135 อำเภอ 714 ตำบล 4,380 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 156,240 ครัวเรือน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคกลางบางจังหวัดมีแนวโน้มระดับน้ำเพิ่มขึ้น ประสานจังหวัดดูแลผู้ประสบภัยอย่างต่อเนื่องและระดมกำลังเร่งระบายน้ำอย่างเต็มกำลัง

กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) กระทรวงมหาดไทย ในฐานะกองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกลาง (กอปภ.ก.) รายงานช่วงตั้งแต่วันที่ 28 ก.ย. – 11 ต.ค. 65 เกิดสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่รวม 54 จังหวัด 262 อำเภอ 1,237 ตำบล 7,1344 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 240,066 ครัวเรือน ปัจจุบันยังคงมีน้ำท่วมในพื้นที่ รวม 27 จังหวัด ได้แก่ ตาก เพชรบูรณ์ พิจิตร นครสวรรค์ ชัยภูมิ ขอนแก่น มหาสารคาม กาฬสินธุ์ ร้อยเอ็ด ยโสธร นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ อุบลราชธานี อุทัยธานี ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี ลพบุรี นครปฐม นครนายก ปราจีนบุรี เพชรบุรี และราชบุรี รวม 135 อำเภอ 714 ตำบล 4,380 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 156,240 ครัวเรือน แยกเป็น

ภาคเหนือ 4 จังหวัด ได้แก่ ตาก เพชรบูรณ์ พิจิตร และนครสวรรค์ รวม 19 อำเภอ 114 ตำบล 759 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 19,674 ครัวเรือน

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 11 จังหวัด ได้แก่ ชัยภูมิ ขอนแก่น มหาสารคาม กาฬสินธุ์ ร้อยเอ็ด ยโสธร นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี รวม 59 อำเภอ 228 ตำบล 1,422 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 40,280 ครัวเรือน

ภาคกลาง 9 จังหวัด ได้แก่ อุทัยธานี ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี ลพบุรี นครปฐม นครนายก 48 อำเภอ 330 ตำลล 1,946 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 84,076 ครัวเรือน

ภาคตะวันออก 1 จังหวัด ได้แก่ ปราจีนบุรี รวม 6 อำเภอ 39 ตำบล 250 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 12,210 ครัวเรือน
นอกจากนี้ ยังมีผลกระทบจากสถานการณ์บริเวณความกดอากาศสูงกำลังปานกลางจากประเทศจีนแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบน ในวันที่ 9 ต.ค. 65 ทำให้มีฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และฝนตกหนักถึงหนักมาก ส่งผลให้เกิดสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่ 2 จังหวัด ได้แก่ เพชรบุรี และราชบุรี รวม 3 อำเภอ 3 ตำบล 3 หมู่บ้าน

กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย โดยสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดที่ประสบภัยได้ประสานจังหวัด องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้เร่งระบายน้ำออกจากพื้นที่และให้การดูแลช่วยเหลือผู้ประสบภัยอย่างต่อเนื่อง พร้อมทั้งจัดเจ้าหน้าที่เข้าสำรวจประเมินความเสียหาย เพื่อดำเนินการช่วยเหลือตามระเบียบกระทรวงการคลังฯ ทั้งนี้ ประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนจากสาธารณภัย สามารถแจ้งเหตุและขอความช่วยเหลือทางไลน์ “ปภ.รับ แจ้งเหตุ 1784” โดยเพิ่มเพื่อน Line ID @1784DDPM และสายด่วนนิรภัย 1784 ตลอด 24 ชั่วโมง นอกจากนี้ ประชาชนยังสามารถติดตามประกาศการแจ้งเตือนภัยได้ที่แอปพลิเคชัน “THAI DISASTER ALERT”

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

โฆษกศปช. เผยกรณี 'น้ำผุด' อ.เชียงดาว มอบหน่วยงานลงพื้นที่ศึกษาแนวทางใช้ประโยชน์

นายจิรายุ ห่วงทรัพย์ ที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรีและโฆษกศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย วาตภัย และดินโคลนถล่ม (ศปช.) เปิดเผยว่า ตามที่ ศปช. ได้เคยประกาศแจ้งเตือนให้ประชาชนในพื้นที่ภาคใต้เฝ้าระวังฝนตกหนักในพื้นที่ระหว่างวันที่ 20-24 พ.ย.ไปแล้วก่อนหน้านี้

'ณฐพร' ซัด 'มหาดไทย' ยุค 'ศรีธนญชัย' ฟันธง 'ที่ดินเขากระโดง' จะถูกโทษเช่นเดียวกับคดีจำนำข้าว

ดร.ณฐพร โตประยูร อดีตที่ปรึกษาประธานผู้ตรวจการแผ่นดิน เผยแพร่ข้อความกรณี กรมที่ดิน กระทรวงมหาดไทย ไม่เพิกถอนเอกสารสิทธิ์ที่ดินเขากระโดง ว่า

'อนุทิน' ยันไม่คิดเอาคืนใคร ปมที่ดินเขากระโดงอย่าโยงการเมือง ไม่อย่างนั้นก็หมดสภาฯ

นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย กล่าวถึงข้อพิพาทพื้นที่เขากระโดงระหว่างการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) และกรมที่ดิน ซึ่งกระทรวงคมนาคมยืนยันสิทธิ์ตามกฎหมาย

“ผู้ประกอบการ ราชบุรี” ชม “อนุทิน” ฟื้นกีฬาวัวลาน ให้แข่งตอนกลางคืน มั่นใจ เป็นงานเฟสติวัลระดับโลก

จากกรณีที่กระทรวงมหาดไทยออกกฎกระทรวง ให้การแข่งขันวัวลานจัดขึ้นในเวลากลางคืน ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2567 โดยล่าสุด นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ได้เดินทางไปเปิดการแข่งขันวัวลานที่