กรมชลฯ เร่งระบายน้ำทุ่งเจ้าพระยาฝั่งตะวันตก

กรมชลประทาน เสริมศักยภาพในการระบายน้ำฝั่งตะวันตกของลุ่มน้ำเจ้าพระยา จับมือประชาชนในพื้นที่และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ตรวจสอบคันกั้นน้ำและเสริมคันคลองให้สูงขึ้น ป้องกันน้ำท่วม 

9 ต.ค. 2565 – นายประพิศ จันทร์มา อธิบดีกรมชลประทาน เปิดเผยว่า  จากปริมาณน้ำเหนือไหลลงสู่ลุ่มน้ำเจ้าพระยาเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ระดับน้ำหน้าเขื่อนเจ้าพระยาสูงขึ้น กรมชลประทาน ได้บริหารจัดการน้ำเข้าระบบชลประทานทั้ง 2 ฝั่งเหนือเขื่อนเจ้าพระยา เพิ่มประสิทธิภาพในการระบายน้ำผ่านระบบชลประทานฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา เพื่อลดผลกระทบพื้นที่ด้านท้ายเขื่อน ซึ่งได้มอบหมายให้สายงานก่อสร้างของกรมชลประทาน ลงพื้นที่ไปดำเนินการเสริมศักยภาพคันดินและแนวป้องกันต่างๆ

 อาทิ เจ้าหน้าที่ชลประทานได้ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องลงพื้นที่ไปตรวจสอบ แนวคลองญี่ปุ่นใต้ ตลอดความยาว 19.50 กิโลเมตร เพื่อเตรียมรับสถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่ มีการขุดลอกคลองและเสริมคันคลองให้สูงขึ้นอีกประมาณ 1.50 เมตร ในช่วงกม.0+000 ถึง กม. 1+500 มีการนำเครื่องจักร เครื่องมือ เข้าไปเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำและป้องกันน้ำท่วมล้นตลิ่ง การจัดเตรียมทรายและกระสอบทรายตลอดแนวคลอง บริเวณ อ.บางเลน จ.นครปฐม ซึ่งได้รับความร่วมมือจากผู้ใหญ่บ้านและชาวบ้านในพื้นที่เป็นอย่างดี ร่วมแรงร่วมใจบรรจุกระสอบทราย เพื่อใช้ป้องกันน้ำท่วมในกรณีฉุกเฉิน 

รวมไปถึงสนับสนุนโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาพระพิมล ดำเนินการขุดลอกเสริมคันคลองบางภาษี ตำบลบางภาษี อำเภอบางเลน ความยาวประมาณ 6 กิโลเมตร พร้อมติดตั้งเครื่องสูบน้ำเพิ่มเติมที่ สถานีสูบน้ำบางภาษี ขนาด 12 นิ้ว จำนวน 2 เครื่อง เพื่อช่วยสูบน้ำในคลองระบายน้ำลงสู่แม่น้ำท่าจีน และเพิ่มโป๊ะพร้อมรถขุดจำนวน 1 ชุด เข้าไปกำจัดสิ่งกีดขวางทางน้ำ ติดตั้งเครื่องสูบน้ำ ขนาด 10 นิ้ว จำนวน 2 เครื่องบริเวณริมคลองตาอิน เร่งระบายน้ำที่ท่วมขังในพื้นที่ลุ่มต่ำ บรรเทาความเดือดร้อนและแก้ไขปัญหาน้ำท่วมขังบ้านเรือนและที่อยู่อาศัยของประชาชน

ทั้งนี้ กรมชลประทาน จะบริหารจัดการน้ำโดยบูรณาการร่วมกับทุกภาคส่วนและประชาชนในพื้นที่ตามแนวทางการมีส่วนร่วม ตลอดจนการประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้และความเข้าใจแก่ประชาชนในพื้นที่เกี่ยวกับแนวทางในการระบายน้ำ และระดับน้ำที่จะเพิ่มขึ้น เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่สามารถเตรียมรับมือได้อย่างทันท่วงทีต่อไป

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เดินตามแนวพระราชดำริ...ช่วยบรรเทาปัญหาน้ำท่วมชุมพร

ในช่วงวันที่ 13-15 ธันวาคม 2567 ที่ผ่านมามรสุมตะวันออกเฉียงเหนือกำลังค่อนข้างแรงได้พัดปก คลุมอ่าวไทยและภาคใต้ ประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณภาคใต้ตอนล่างเคลื่อนลงสู่ทะเลอัน

จับตาการพัฒนาลุ่มน้ำสงคราม “อู่ข้าวอู่น้ำ” ของภาคอีสานตอนบน

ลุ่มน้ำสงคราม สาขาของลุ่มน้ำโขงตะวันออกเฉียงเหนือที่มีขนาดใหญ่รองลงมาจากลุ่มน้ำมูลและลุ่มน้ำชี มีพื้นที่ประมาณ 12,700 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 7.94 ล้านไร่

ประตูระบายน้ำศรีสองรักอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ความยั่งยืนของการพัฒนาลุ่มน้ำเลย

ลุ่มน้ำเลย เป็นลุ่มน้ำสาขาของลุ่มน้ำโขงตะวันออกเฉียงเหนือ มีแม่น้ำเลยเป็นแม่น้ำสายหลัก ที่มีต้นน้ำอมาจากอำเภอภูหลวง ซึ่งเป็นพื้นที่สูงลาดชัน

ตอนบนของประเทศ ฝนลดลง ชป.เดินหน้าเก็บกักน้ำปลายฤดูฝน สำรองไว้ใช้แล้งหน้าให้มากที่สุด

เมื่อวันนี้ 15 ต.ค. 67 ที่ห้องประชุมศูนย์ปฏิบัติการน้ำอัจฉริยะ (swoc) อาคาร 99 ปี หม่อมหลวงชูชาติ กำกู กรมชลประทาน ถนนสามเสน ผศ.ดร.สิตางศ์ พิสัยหล้า ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ดร.ธเนศร์ สมบูรณ์ ผู้อำนวยการสำนักบริหารจัดการน้ำและอุทกวิทยา