8 ต.ค.2565 - รศ.ดร.เสรี ศุภราทิตย์ รองประธานกรรมการมูลนิธิสภาเตือนภัยพิบัติแห่งชาติ โพสต์ข้อความบนเฟซบุ๊กว่า #คนปลายน้ำอ่วมหนักขึ้นทุกวัน
เมื่อวานนี้ (7 ตุลาคม) ผมได้ไปสำรวจที่อยุธยาอีกครั้งหนึ่ง 3 จุดด้วยกันจุดแรกไปที่วัดสนามชัย อ.บางไทร นั่งเรือไปกับกำนันเจด็จ พบว่าระดับน้ำสูงกว่าปี 2564 (เคยเดินไปหน้าเจดีย์ได้เมื่อปี 2564) และอีกประมาณ 60 cm จะแตะระดับปี 2554 แต่ตอนนี้ท่วมสูง พบพูดคุยกับทีมงาน อบต. สนามชัย กังวลว่าคันดินริมทางที่เป็นดินเหนียวจะเอาไม่อยู่ในไม่ช้านี้ ระดับน้ำก็กำลังเพิ่มขึ้น จุดที่ 2 ที่ อ.เสนา น้ำท่วมเต็มพื้นที่ตลาดตอนบน (วัดกระโดงทอง) แต่ฝั่งตลาดสดยังยันได้ มีการสูบน้ำออกตลอดเวลา ชาวบ้านกังวลเหมือนกัน ระดับน้ำยังต่ำกว่าปี 54 อยู่ประมาณ 40 cm จุดที่ 3 ไปวัดจุฬามณี อ.บางบาลเป็นครั้งที่ 2 ระดับน้ำพอดีคันกั้นน้ำ มีน้ำรั่วซึมตลอดเวลา ในระยะอันใกล้มีความเสี่ยงที่จะล้นคันกั้นน้ำ ฝนตกหนักที่อยุธยาช่วงเดินทางกลับตอนบ่ายถึงค่ำ
การระบายน้ำจากเขื่อนเจ้าพระยา และเขื่อนพระรามหกในวันนี้ประมาณ 2,900 และ 850 cms แม้ว่าจะน้อยกว่าปี 2554 (3,800 และ 1,300 cms) แต่ต้องไม่ลืมว่าปี 54 มีคันแตกหลายจุดโดยเฉพาะประตูน้ำบางโฉมศรี (จ. สิงห์บุรี) แต่ในปี 65 พื้นที่ตอนบนมีการเสริม สร้างคันกั้นน้ำ (ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง และการยกคันถนนริมแม่น้ำป่าสัก) ปริมาณน้ำส่วนใหญ่ในปีนี้ จึงมาตุง หรือเท้อใน ม.เจ้าพระยาเป็นส่วนใหญ่
สำหรับพื้นที่ฝั่งตะวันออกการยกถนนเป็นคัน การบล็อกประตูน้ำทั้งหมด ทำให้ปริมาณน้ำหลากฝั่งตะวันออกมีน้อย ความเสี่ยงน้ำหลากเข้ากรุงเทพฯฝั่งตะวันออกจึงมีน้อย ในขณะที่ปริมาณน้ำส่วนใหญ่ถูกบังคับให้ไปลง ม.เจ้าพระยา ชุมชนตอนล่าง (อยุธยา ปทุมธานี นนทบุรี กทม และสมุทรปราการ) จึงมีความเสี่ยงมากขึ้นจากระดับน้ำที่สูงมากขึ้นจากปัจจุบัน (รวมทั้งอิทธิพลน้ำทะเลหนุน อยู่ระหว่าง 20-50 cm ในช่วงกลาง และปลายเดือนตุลาคมนี้) ดังนั้นการระบายน้ำผ่านเขื่อนเจ้าพระยา และเขื่อนป่าสักจึงต้องมีการประเมินพฤติกรรมน้ำหลากอย่างรอบคอบ
สำหรับพื้นที่ฝั่งตะวันตก ยังคงได้รับผลกระทบที่รุนแรงมากขึ้น จากการระบายน้ำเข้าสู่ ม.ท่าจีน และ ม.น้อยมากขึ้น ระดับน้ำจะสูงขึ้นบริเวณชุมชนเสนา ผักไห่ โผงเผง บางบาล บางไทร (แต่ไม่มากนักประมาณไม่เกิน 30 cm เนื่องจากกำลังมีการผันน้ำเข้าทุ่งรับน้ำ ซึ่งก็ผันได้ไม่มากนัก เนื่องจากมีน้ำค้างทุ่งจากปริมาณฝนตกในพื้นที่) โดยชุมชนเหล่านี้อาจจะต้องอยู่กับน้ำนานขึ้นกว่าปี 2564 น่ะครับ
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ภัยคุกคาม ท่วมหนัก แล้งรุนแรง 'ดร.เสรี' ปลุกร่วมกันทำงานกับทีมกู้วิกฤตน้ำภาคประชาชน
รศ.ดร.เสรี ศุภราทิตย์ ผู้อำนวยการศูนย์การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศและภัยพิบัติ ม.รังสิต และรองประธานมูลนิธิสภาเตือนภัยพิบัติแห่งชาติ โพสต์เฟซบุ๊กว่า
อากาศแปรปรวน! ดร.เสรี เตือน 23-24 ก.ย. ‘เหนือ-อีสานบน’ ฝนหนัก 26 ก.ย. เริ่มร้อน
สภาพอากาศแปรปรวนโดยจะมีมวลอากาศเย็นจากแผ่นดินใหญ่มาปกคลุมภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 23-24 กันยายนนี้
เตือน น่าน เชียงราย พะเยา เฝ้าระวังฝนตกหนัก
รศ.ดร.เสรี ศุภราทิตย์ ผู้อำนวยการศูนย์การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและภัยพิบัติ มหาวิทยาลัยรังสิต และรองประธานฯ ที่มูลนิธิสภาเตือนภัยพิบัติแห่งชาติ
ผู้เชี่ยวชาญ IPCC ไขคำตอบ เฝ้าระวังฝนตกหนักช่วง 20-22 พ.ค.นี้
หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณประเทศเวียดนามตอนบน และในทะเลอันดามัน ทำให้ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้มีกำลังแรงขึ้น
ผู้เชี่ยวชาญ ชี้เราจะผ่านความร้อนแบบเดือดๆ ไปตั้งแต่สัปดาห์ที่ 2 เดือนพ.ค.
ผู้เชี่ยวชาญ IPCC โพสต์เฟซบุ๊กหัวข้อ 'ผ่านร้อนปีนี้จนถึงต้นสัปดาห์หน้าค่อยว่ากันปีหน้าจะเป็นอย่างไร'
อ.เสรี เตือนอากาศแปรปรวน วันนี้ร้อน พรุ่งนี้ ‘เหนือ-อีสาน-กทม.’ ทั้งเย็นทั้งฝนหนัก
มูลนิธิสภาเตือนภัยพิบัติแห่งชาติ โพสต์ข้อความบนเฟซบุ๊กเรื่อง อากาศร้อนจัดวันนี้เริ่มเย็นวันพรุ่งนี้พร้อมฝนตกหนัก