องค์กรพิทักษ์สัตว์ จับมือ เถื่อนChannel เปิดมิติ..สวัสดิภาพสัตว์ถูกขุนในฟาร์ม

12 พ.ย. 2564 ปัจจุบันทั่วโลกมีการตระหนักรู้เกี่ยวกับผลกระทบของอุตสาหกรรมการผลิตเนื้อสัตว์เพิ่มมากขึ้น ทำให้หลายคนหันมาลดการบริโภคเนื้อสัตว์ และหันไปรับประทานผักหรืออาหารทางเลือกที่ได้สารอาหารเหมือนกับเนื้อสัตว์แทน อย่างไรก็ตาม ความต้องการของผู้บริโภคเนื้อสัตว์ยังคงเพิ่มขึ้นในทุกๆ ปี ส่งผลให้อุตสาหกรรมการเลี้ยงสัตว์สร้างผลกระทบไว้มากยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ภัยด้านสุขภาพของผู้บริโภค ตลอดจนสวัสดิภาพของสัตว์ 

องค์กรพิทักษ์สัตว์แห่งโลก (World Animal Protection) จึงได้ร่วมกับ เถื่อนChannel เปิดประเด็นเสวนาออนไลน์ในหัวข้อ “ตกลงเราควรจะเลิกกินเนื้อกันใช่ไหม?” เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และเป็นแนวทางในการปรับเปลี่ยนระบบเพื่อรับมือกับความท้าทายเหล่านี้ 

นายโชคดี สมิทธิ์กิตติผล ผู้จัดการแคมเปญ องค์กรพิทักษ์สัตว์แห่งโลก เล่าว่า “ความต้องการในการบริโภคเนื้อสัตว์ของคนเราเพิ่มขึ้นอย่างทวีคูณ ในช่วงเวลา 50 ปีที่ผ่านมาปริมาณการบริโภคเนื้อสัตว์เพิ่มขึ้นมากกว่า 6 เท่าตัว สัตว์หลายล้านตัวต้องถูกเลี้ยงและถูกฆ่าเพื่อตอบสนองความต้องการบริโภคเนื้อสัตว์จำนวนมหาศาล วิธีการปฏิบัติต่อสัตว์ในฟาร์ม ดังนั้นมิติทางจริยธรรมจึงเป็นปัจจัยสำคัญที่ต้องได้รับการนำมาพิจารณา แต่นอกจากประเด็นทางจริยธรรมที่เราต้องควรนำมาพิจารณา ยังมีมิติด้านสุขภาพของผู้บริโภคที่ควรถูกให้ความสำคัญมากเช่นเดียวกัน เนื่องจากการเลี้ยงสัตว์แบบอุตสาหกรรมนี้ มีการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างมหาศาลกับสัตว์เพื่อป้องกันโรคที่จะเกิดขึ้นจากการอยู่ในภาวะที่ทรมานและไม่เอื้อต่อการแสดงออกพฤติกรรมตามธรรมชาติได้ และนี่ก็เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดเชื้อดื้อยาขึ้นในฟาร์มอุตสาหกรรมและแพร่กระจ่ายสู่ภายนอกโดนช่องทางต่างๆ และถือเป็นวิกฤติด้านสุขภาพที่น่ากังวลเป็นอย่างยิ่ง 

นอกจากนั้นเรายังพบว่าการขยายตัวของฟาร์มอุตสาหกรรม ยังทำให้เกิดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมอย่างรุนแรง ไม่ว่าจะเป็นการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากตัวสัตว์เอง การบุกรุกพื้นที่ป่าเพื่อมาทำฟาร์ม หรือแม้แต่การปลูกพืชเชิงเดี่ยวและเผาซากพืชเพื่อนำไปเป็นอาหารสัตว์ เหล่านี้ล้วนเป็นตัวผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ดังนั้นถ้าเราเปลี่ยนแปลงโครงสร้างระบบอาหารของเราใหม่ให้มีความเมตตาและเป็นวิถีที่ยั่งยืนขึ้น เราจะหลีกเลี่ยงหายนะจากวิกฤติด้านของสุขภาพของมนุษย์จากเชื้อดื้อยา และโอกาสในการอุบัติใหม่ของโรคระบาดที่เกิดจากสัตว์ ตลอดจนลดปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการทำลายธรรมชาติได้เช่นกัน”

ด้าน ดร. วัชระ พุ่มประดิษฐ์ ผู้อำนวยการบริหารคะตะลิสต์ ได้อธิบายเสริมว่า “ในปี 2015 องค์การอนามัยโลกได้จัดให้การบริโภคเนื้อสัตว์แปรรูป มีโอกาสทำให้เกิดโรคมะเร็งในอันดับที่หนึ่งเทียบเท่ากับพิษของบุหรี่ นอกจากนี้ในอุตสาหกรรมผลิตเนื้อสัตว์มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูงสุดเมื่อเทียบกับการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้งหมด หากเทียบกับการขับรถ 100 กิโลเมตร จะเท่ากับการกินเบอร์เกอร์หนึ่งชิ้น ซึ่งสุดท้ายแล้วปลายทางของผลกระทบจากอุตสาหกรรมปศุสัตว์ จะปล่อยของเสียลงไปในดิน ไปสู่น้ำจืด และลงไปยังมหาสมุทร ซึ่งทำให้บริเวณนั้นมีอัตราออกซิเจนต่ำ สัตว์น้ำจึงได้รับผลกระทบอย่างมหาศาล เหล่านี้ทำให้เราเห็นว่าการการบริโภคเนื้อสัตว์ได้ส่งผลกระทบอย่างมากมายมหาศาล หลายประเทศต้องหันมารณรงค์ปรับวิธีการกินอาหารกันแบบจริงจัง เช่น เน้นประชาสัมพันธ์ถึงประโยชน์ด้านสิ่งแวดล้อมว่าการบริโภคอาหารจากพืชจะมีส่วนช่วยลดภาวะโลกร้อนที่เกิดจากการปศุสัตว์ได้อย่างไร รวมถึงประโยชน์ที่จะได้รับในด้านสุขภาพของผู้บริโภคเอง เพราะปัจจุบันก็มีคนเป็นจำนวนมากที่หันมาเลิกกินเนื้อสัตว์ แม้กระทั่งนักกีฬาชั้นนำระดับโลก ดังนั้นหากเรามีความตระหนักและใส่ใจกับปัญหาดังกล่าว เราก็สามารถช่วยกันเลิกหรือลดกันบริโภคเนื้อสัตว์ โดยหันมารับประทานพืชผักและโปรตีนอื่นทดแทน สัปดาห์ละหนึ่งวัน หรืออย่างน้อย สัปดาห์ละหนึ่งมื้อ ก็จะสามารถช่วยได้มาก”

Animal feed and many pill capsules, antibiotics in livestock feed concept.

นายวรรณสิงห์ ประเสริฐกุล ในฐานะผู้ดำเนินรายการ เปิดประเด็นว่า “เรากำลังอยู่ในยุคของการเปลี่ยนผ่านจากการบริโภคเนื้อสัตว์แบบเดิม ไปสู่การการบริโภคเนื้อสัตว์ให้น้อยลง เวลาที่นึกถึงการเคลื่อนไหวทางสังคมที่เปลี่ยนความสัมพันธ์ของเรากับการกินเนื้อสัตว์ เราจะนึกถึงกลุ่มสองกลุ่มคือ วีแกน และ มังสวิรัติ แต่ทุกวันนี้ กลุ่มใหม่ๆ กำลังรวมตัวกันเคลื่อนไหวในระดับโลก เพื่อวิถีการกินที่ดีและมีมนุษยธรรมมากขึ้น กลุ่มที่กำลังเติบโตอย่างรวดเร็วและแพร่หลาย เช่น กลุ่ม Flexitarians (ยืดหยุ่น กินเนื้อสัตว์ ได้บ้าง) และกลุ่ม Plant-Based (อาหารที่ทำมาจากพืช)”

ด้าน น.ส.มารีญา พูลเลิศลาภ ในฐานะผู้ใส่ใจในประเด็นด้านสวัสดิภาพสัตว์และสิ่งแวดล้อม ได้เล่าเสริมต่อว่า “หลังจากมีปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพของร่างกาย ตลอดจนได้รับชมสารคดี และทบทวนกระบวนการการได้มาซึ่งเนื้อสัตว์ที่มีทั้งการทารุณกรรม การใช้ยาปฏิชีวนะ หรือการเลี้ยงดูแบบผิดธรรมชาติ ตอนนี้ได้เปลี่ยนแปลงตัวเองมากินแบบ Plant-Based ซึ่งกลุ่มนี้ยังมีแนวโน้มที่น่าจับตามอง เป็นการเปลี่ยนแปลงของอาหารที่ดีต่อสุขภาพและการสร้างความยั่งยืน โดยเฉพาะเทรนด์การบริโภคอาหารที่เน้นพืชเป็นหลัก อาจเข้ามาเปลี่ยนทิศทางของธุรกิจอาหารแห่งอนาคต เห็นได้จากเมนูแนะนำใหม่ของร้านแบรนด์ดังระดับโลกมากมายในขณะนี้”

ผู้สนใจสามารถรับชมเสวนาพร้อมร่วมเรียนรู้ในมุมมองที่น่าสนใจทั้งจากผู้ร่วมเสวนาและความเห็นจากผู้ชมรายการ / ชมย้อนหลัง “ตกลงเราควรจะเลิกกินเนื้อกันใช่ไหม?” ได้ที่ Facebook: wannasingh และ เถื่อนChannel, YouTube: เถื่อนChannel 

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'ภูมิใจไทย' ยื่นร่าง พ.ร.บ.การศึกษาเท่าเทียม-อสม. เข้าสภาฯ

พรรคภูมิใจไทย นำโดย นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ในฐานะหัวหน้าพรรคภูมิใจไทย พร้อมด้วย สส.ของพรรคภูมิใจไทย ร่วมยื่นร่างพระราชบัญญัติการศึกษาเท่าเทียม และ ร่าง (พ.ร.บ.)

รัฐบาลเตือนผู้กู้ยืม กยศ.อย่าเบี้ยวหนี้

รัฐบาลเตือนผู้กู้ยืม กยศ.หากไม่ชำระเงินคืนตามกำหนดจะทำให้เกิดภาระดอกเบี้ยและเสียเบี้ยปรับจากการผิดนัดชำระหนี้ รวมถึงถูกฟ้องร้องบังคับคดีตามกฎหมาย ย้ำผู้กู้ยืมต้องมีคุณธรรมมีความรับผิดชอบ