'เสรี ศุภราทิตย์' ชี้เปรี้ยง ฝันร้ายน้ำท่วมใหญ่ปี 54 ไม่กลับมา แต่วิกฤติยืดเยื้อ

6 ต.ค.2565 - รศ.ดร.เสรี ศุภราทิตย์ รองประธานกรรมการมูลนิธิสภาเตือนภัยพิบัติแห่งชาติ โพสต์ข้อความบนเฟซบุ๊กว่า #ฝันร้ายปี54ไม่กลับมาแต่วิกฤติยืดเยื้อ

ผมเคยให้ข้อมูลตั้งแต่ช่วงต้นฤดูฝนปีนี้ว่าจะมีเหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่ปลายปี มีบางท่านกลับต่อว่าจะเกิดขึ้นได้ไง อาจารย์เอาอะไรมาพูด ! แล้วขณะนี้สถานการณ์เป็นอย่างไรครับ ? วิกฤตเกิดขึ้นหรือยัง ? ผมปฏิเสธข้อมูลเชิงวิทยาศาสตร์ไม่ได้ ผมไม่เคยเห็นเหตุการณ์เขื่อนขนาดใหญ่ กลาง เล็กมีปริมาณน้ำมากขนาดนี้ ชุมชนหลายแห่งประสบความเสียหายหนักกว่าปี 2554 ถ้าผมไม่ออกมาให้ข้อมูลจะเสียหายมากกว่านี้ เพราะถ้าเราเริ่มจากความพร้อมของชุมชนผลกระทบย่อมลดลงอย่างแน่นอน

ปริมาณน้ำที่ระบายผ่านเขื่อนเจ้าพระยาได้แตะระดับปี 2564 ส่งนัยความเสียหายเข้าขั้นวิกฤต (แต่ไม่ถึงปี 54 เนื่องจากปริมาณน้ำเหนือปัจจุบันมีน้อยกว่าครึ่งหนึ่ง ยกเว้นบางพื้นที่ระดับน้ำสูงกว่าปี 54 แล้วเช่นที่บางบาล เป็นต้น) และจะยืดเยื้อไปอีกหลายสัปดาห์จากปริมาณน้ำเหนือผ่านนครสวรรค์ยังคงเพิ่มขึ้น และหลายเขื่อนมีน้ำล้น หลายชุมชนในลุ่มน้ำชี ลุ่มน้ำมูลได้รับผลกระทบแบบโดมิโน จากต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ ในขณะที่การคาดการณ์แนวโน้มปริมาณฝนจะเพิ่มขึ้นตั้งแต่กลางจนถึงปลายเดือนเดือนตุลาคมนี้ จากอิทธิพลของพายุจรที่ยังไม่หมด (ลูกแรกน่าจะส่งผลกระทบช่วงกลางเดือนนี้ และจะมีหย่อม Low เกิดขึ้นในอ่าวไทย อิทธิพลของความกดอากาศสูงจากแผ่นดินใหญ่ทำให้ลดความรุนแรงลง จึงต้องติดตามเป็นรายสัปดาห์น่ะครับ)

กรุงเทพฯ และปริมณฑลจะวิกฤติสุด 2 ช่วง (ช่วงแรกกลางเดือน และช่วงที่สองปลายเดือน)บริเวณชุมชนริมน้ำ ลำคลองจากปริมาณฝนที่ยังคงมีต่อไปในเดือนนี้ น้ำเหนือจะเดินทางมาถึงช่วงแรกกลางเดือน และช่วงที่สองปลายเดือน (จากพายุจรหลังกลางเดือนนี้) จังหวะเวลาเดียวกันกับอิทธิพลน้ำหนุนกลางเดือน และปลายเดือนสูงสุด จึงต้องเตรียมพร้อมรับสถานการณ์

ช่วงเฝ้าระวังสูงสุด (จากนี้จนถึงปลายเดือนตุลาคม) ผมจึงได้ออกสำรวจรอบๆบริเวณคลองด่านหน้า กทม. ฝั่งตะวันออก (คลองรังสิต) ซึ่งเคยเกิดเหตุการณ์น้ำล้นคลองมาแล้ว (ต้นเดือนกันยายน) และเพิ่งจะล้นครั้งที่ 2 (เมื่อวันที่ 2-3 ตุลาคม) มีน้ำท่วมถนนเรียบคลองข้างเมืองเอก ระดับน้ำในคลองรังสิตอยู่สูงกว่าระดับถนนในหมู่บ้านประมาณ 1.0-1.4 m (แต่ยังต่ำกว่าระดับคันกั้นน้ำประมาณ 0.80-1.0 m) และต่ำกว่าระดับถนนซ่อมสร้าง 0.30 m เทศบาลหลักหกได้นำกระสอบทราย และกรมชลประทานเร่งสูบน้ำ (ปัจจุบันความสามารถเครื่องสูบน้ำทั้ง 2 ประตู คือประตูน้ำจุฬาฯ และประตูน้ำปลายคลองมีประมาณ 120 cms) ซึ่งทำหน้าที่แบ่งน้ำลงเจ้าพระยาตั้งแต่คลอง 1-13 และแบ่งน้ำลงแม่น้ำนครนายกตั้งแต่คลอง 13 เป็นต้นไป ในขณะเดียวกันระดับน้ำในคลองเปรมประชากรยังคงต่ำกว่าถนนเรียบคลองประมาณ 0.30-0.50 m (มีการสูบน้ำย้อนกลับจากคลองเปรมใต้สู่คลองรังสิต) การประเมินเบื้องต้นปริมาณน้ำหลากจากพื้นที่เหนือคลองรังสิตกว่า 200,000 ไร่ มีปริมาณ 200 cms ต่อปริมาณฝนตก 100 mm ดังนั้นความสามารถเครื่องสูบน้ำจึงยังคงไม่เพียงพอ แต่ก็สามารถบรรเทาได้ขึ้นกับปริมาณฝนตก โดยในการปฏิบัติงานจริงต้องมีการสำรองเครื่องไว้จำนวนหนึ่ง จึงต้องติดตามสถานการณ์ต่อไป

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

โฆษกศปช. เผยกรณี 'น้ำผุด' อ.เชียงดาว มอบหน่วยงานลงพื้นที่ศึกษาแนวทางใช้ประโยชน์

นายจิรายุ ห่วงทรัพย์ ที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรีและโฆษกศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย วาตภัย และดินโคลนถล่ม (ศปช.) เปิดเผยว่า ตามที่ ศปช. ได้เคยประกาศแจ้งเตือนให้ประชาชนในพื้นที่ภาคใต้เฝ้าระวังฝนตกหนักในพื้นที่ระหว่างวันที่ 20-24 พ.ย.ไปแล้วก่อนหน้านี้

พยากรณ์ 10 วันล่วงหน้า ตั้งแต่ 18 พ.ย. อากาศเริ่มเย็นลงอีกครั้ง

กรมอุตุนิยมวิทยา อัปเดตผลการพยากรณ์ฝนสะสมรายวัน (ทุกๆ 24 ชม. : (นับตั้งแต่ 07.00 น. ถึง 07.00 น.วันรุ่งขึ้น) และลมที่ระดับ 925hPa (750 ม.) 10 วันล่วงหน้า ระหว่าง 15 -24 พ.ย. 67

กรมอุตฯ ประกาศเตือนพายุ 'โทราจี' ฉบับสุดท้าย

นางสาวสุกันยาณี ยะวิญชาญ ผู้ตรวจราชการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม รักษาราชการแทนอธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา ออกประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา เรื่อง พายุ “โทราจี” ฉบับที่ 10 โดยมีใจความว่า

อุตุฯ เตือนฝนฟ้าคะนอง 31 จังหวัด 'เหนือ-อีสาน' อุณหภูมิสูงขึ้น

กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้าว่า ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออก ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และภาคใต้ตอนบนมีฝน/ฝนฟ้าคะนอง