กรรมการสิทธิฯ ร่อนแถลงการณ์ 3 ข้อ ต่อเหตุการณ์กราดยิงหนองบัวลำภู

6 ต.ค.2565 - คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ออกแถลงการณ์ เรื่อง การละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรง กรณีเหตุกราดยิงในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตำบลอุทัยสวรรค์ อ.นากลาง จ.หนองบัวลำภู มีนื้อหาดังนี้

ตามที่ปรากฏเหตุอดีตตำรวจนายหนึ่งก่อเหตุกราดยิงในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตำบลอุทัยสวรรค์ อำเภอนากลาง จังหวัดหนองบัวลำภู ก่อนปลิดชีพตนเองพร้อมลูกและภรรยา เมื่อช่วงบ่ายของวันนี้ (6 ตุลาคม 2565) เป็นเหตุให้มีเด็ก และผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์จำนวนหลายสิบรายเสียชีวิตและได้รับบาดเจ็บ นั้น

คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ขอประณามการก่อเหตุอันเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรงดังกล่าว และขอแสดงความเสียใจอย่างสุดซึ้งไปยังครอบครัวและญาติมิตรของผู้เสียชีวิตและผู้ได้รับบาดเจ็บ เหตุการณ์นี้ถือเป็นเหตุอุกอาจสะเทือนขวัญที่กระทำด้วยความโหดร้ายทารุณ ไร้มนุษยธรรม และผิดต่อกฎหมาย อันพรากสิทธิในชีวิตและร่างกายของหลายคนไปอย่างไม่ควรเกิดขึ้น โดยเฉพาะเป็นการกระทำที่เกิดขึ้นกับเด็กซึ่งเป็นกลุ่มเปราะบางที่สุดของสังคมซึ่งสมควรต้องได้รับการปกป้องยิ่ง ดังที่หลักการสิทธิมนุษยชนสากลและรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 28 ได้บัญญัติคุ้มครองสิทธิในชีวิตและร่างกายของทุกคนไว้ เช่นเดียวกับอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก (CRC) ที่ประเทศไทยเป็นภาคีซึ่งกำหนดให้รัฐภาคียอมรับว่าเด็กทุกคนมีสิทธิติดตัวที่จะมีชีวิต และประกันอย่างเต็มที่ให้เด็กได้มีชีวิตอยู่รอดและได้รับการพัฒนา

กสม. จึงขอเรียกร้องให้ภาคส่วนต่าง ๆ ปฏิบัติและคำนึงถึงหลักสิทธิมนุษยชนเพื่อช่วยบรรเทาผลกระทบที่เกิดขึ้นจากเหตุสลดครั้งนี้ร่วมกัน ดังต่อไปนี้

1. ขอให้รัฐบาลและหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการให้ความช่วยเหลือ เยียวยาความเสียหาย และฟื้นฟูสภาพจิตใจของผู้ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ดังกล่าวโดยเร็วและทั่วถึง

2. ขอให้หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องเร่งสอบสวนมูลเหตุที่มาของการก่อเหตุ และวางมาตรการป้องกันเพื่อไม่ให้เกิดเหตุสลดอันกระทบต่อความปลอดภัยในชีวิตและร่างกายของประชาชนโดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กซึ่งเป็นกลุ่มเปราะบางเช่นนี้ได้อีก

3. ขอความร่วมมือสื่อมวลชน และประชาชนทั่วไปผู้ใช้สื่อสังคมออนไลน์ ใช้ความระมัดระวังเป็นอย่างยิ่งในการนำเสนอข่าว เผยแพร่ หรือส่งต่อภาพ/คลิปวิดีโอความโหดร้ายและรุนแรงของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เพื่อไม่ให้เป็นการซ้ำเติมความรุนแรงหรือความเศร้าสลดอันส่งผลกระทบกระเทือนต่อจิตใจของญาติผู้เสียชีวิตและได้รับบาดเจ็บ และทำให้บุคคลทั่วไปสามารถล่วงรู้ถึงตัวตนของบุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายผู้เสียหายหรือครอบครัวของผู้กระทำผิดที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการก่อเหตุได้ ทั้งนี้ โดยคำนึงถึงสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัวและสิทธิในชื่อเสียงเกียรติยศของบุคคลตามที่ได้รับการรับรองไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 32 รวมทั้งแนวปฏิบัติการได้มาและการนำเสนอข่าวและภาพข่าวของสื่อมวลชนโดยไม่ละเมิดสิทธิส่วนบุคคลและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของผู้ตกเป็นข่าว ที่ร่วมกันกำหนดโดยสภาวิชาชีพสื่อมวลชน

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'ปลาหมอคางดำ'ต้องเป็นศูนย์ ก่อนนิเวศย่อยยับ

จากสถานการณ์ปลาหมอคางดำที่กำลังระบาดไปในแหล่งน้ำธรรมชาติและพื้นที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในประเทศไทย   ซึ่งปลาหมอคางดำมีต้นกำเนิดอยู่ในทวีปแอฟริกา ประเทศไทยเองมีบริษัทเอกชนนำเข้ามาเมื่อปี 2553  ซึ่งวงจรปลาหมอคางดำขยายพันธุ์รวดเร็ว ทุกๆ 22 วัน

ส่อง'กฎหมายโลกร้อน' ควบคุม-เบิกทางปล่อยก๊าซ?

การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศสร้างผลกระทบทั่วโลก ไทยเจออากาศร้อนต่อเนื่องยาวนาน  น้ำทะเลอุ่นจนปะการังฟอกขาวทั้งอ่าวไทยและอันดามัน  สภาพอากาศร้อนและแล้ง ฤดูฝนล่าช้า ส่งผลพืชผักเสียหาย กระทบภาคเกษตร  ปัญหาเหล่านี้ย้ำเตือนถึงผลกระทบจากภาวะโลกร้อนที่รุนแรงเพิ่มขึ้น  

กสม. สอบปมตำรวจเรียกรับเงิน-กระทำชำเราผู้ต้องหา

น.ส.สุภัทรา นาคะผิว กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.)​ เปิดเผยว่ากสม. ได้รับเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับสิทธิในกระบวนการยุติธรรม และสิทธิและเสรีภาพในชีวิตและร่างกายอันเข้าข่ายการกระทำความ

กสม. เผยผลการตรวจสอบศูนย์บำบัดยาเสพติดจ.ปัตตานี ถูกร้องเรียนละเมิดสิทธิฯ

กสม. ตรวจสอบกรณีศูนย์บำบัดยาเสพติดใน จ.ปัตตานี ถูกร้องเรียนว่ามีการละเมิดสิทธิฯ แนะหน่วยงานสนับสนุนจัดตั้งเป็นสถานฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดตามกฎหมายเพื่อกำกับดูแลอย่างเหมาะสม

กสม.ชี้นายทะเบียนปฏิเสธจัดทำทะเบียน 'กลุ่มคนไร้รากเหง้า' เป็นการละเมิดสิทธิฯ

กสม. ชี้กรณีนายทะเบียนอำเภอเมืองตราดปฏิเสธการจัดทำทะเบียนประวัติบุคคลไม่มีสถานะทางทะเบียน เป็นการละเมิดสิทธิฯ แนะกรมการปกครองแก้ไขและทำความเข้าใจกับเจ้าหน้าที่

กสม. ทำข้อเสนอแนะเรื่อง 'ทรงผมนักเรียน' ชี้ต้องรับฟังความเห็นและเน้นการมีส่วนร่วม

กสม. ทำข้อเสนอแนะเรื่องทรงผมนักเรียน ชี้การกำหนดระเบียบทรงผมต้องรับฟังความเห็นและเน้นการมีส่วนร่วมของเด็ก