กรมอุตุฯ เผยมวลอากาศเย็นจากจีนยังแผ่ปกคลุมภาคเหนือและอีสาน ในขณะที่ลมตะวันวันออกเฉียงใต้พัดความชื้นเข้าปกคลุมภาคกลาง ทำให้ กทม.และปริมณฑล ภาคตะวันออก ภาคใต้ฝนยังตกหนัก
06 ต.ค.2565 - กรมอุตุนิยมวิทยาได้พยากรณ์ลักษณะอากาศทั่วไปใน 24 ชั่วโมงข้างหน้า ว่าบริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นจากประเทศจีนแผ่ลงมาปกคลุมบริเวณภาคเหนือตอนบน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน และทะเลจีนใต้ ทำให้ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีฝนลดลง ในขณะที่ลมตะวันออกเฉียงใต้พัดนำความชื้นเข้าปกคลุมภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออก ภาคใต้ และอ่าวไทย ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณดังกล่าวยังคงมีฝนตกหนักบางแห่ง ขอให้ประชาชนระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่มในระยะนี้ไว้ด้วย
พยากรณ์อากาศสำหรับประเทศไทยตั้งแต่เวลา 06:00 วันนี้ ถึง 06:00 วันพรุ่งนี้.
ภาคเหนือ มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดเชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง ตาก
กำแพงเพชร พิจิตร พิษณุโลก และเพชรบูรณ์ อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10-20 กม./ชม.
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดเลย หนองบัวลำภู ชัยภูมิ ขอนแก่น มหาสารคาม ร้อยเอ็ด นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-33 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม.
ภาคกลาง มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง บริเวณจังหวัดกาญจนบุรี ราชบุรี พระนครศรีอยุธยา สระบุรี นครปฐม สมุทรสาคร และสมุทรสงคราม อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิสูงสุด 31-33 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม.
ภาคตะวันออก มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง บริเวณจังหวัดฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร
ภาคใต้ฝั่งตะวันออก มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง บริเวณจังหวัดเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา และปัตตานี อุณหภูมิต่ำสุด 23-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร
ภาคใต้ฝั่งตะวันตก มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง บริเวณจังหวัดกระบี่ ตรัง และสตูล อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-33 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร
กรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 25-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-33 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
กรมอุตุฯ ประกาศพายุดีเปรสชันฉบับ 3 เตือนฝนตก 25-26 ธ.ค.
นางสาวสุกันยาณี ยะวิญชาญ อธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา ออกประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา เรื่อง พายุดีเปรสชัน บริเวณทะเลจีนใต้ตอนล่าง ฉบับที่ 3 โดยมีใจความว่า
อุตุฯ เตือนอากาศเย็นถึงหนาว อุณหภูมิสูงขึ้น 1-2 องศา ใต้ฝนฟ้าคะนอง 10-20%
กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้าว่า บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นที่ปกคลุมประเทศไทยตอนบน และภาคใต้ตอนบนเริ่มมีกำลังอ่อนลง
รับมือด่วน! ‘กรมอุตุฯ’ ประกาศ ฉ.1 เตือนพายุดีเปรสชันบริเวณทะเลจีนใต้ตอนล่าง
กรมอุตุนิยมวิทยา ออกประกาศฉบับที่ 1 เรื่อง พายุดีเปรสชัน บริเวณทะเลจีนใต้ตอนล่าง
หนาวสะท้าน! ยอดดอย ’เลย-เชียงใหม่’ 7 องศาฯ อ.คลองหลวง ปทุมธานี 18.5 องศาฯ
กรมอุตุนิยมวิทยา รายงานอุณหภูมิต่ำสุดบริเวณประเทศไทย เช้าวันนี้ (22 ธ.ค. 67) วัดได้ 11.0 องศาเซลเซียส บริเวณภาคเหนือ ที่ อ.อุ้มผาง จ.ตาก และบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่ อ.เมืองเลย จ.เลย
ลมหนาวมาอีกระลอก อุตุฯชี้อุณหภูมิจะลดลงอีก 1 - 2 องศา
กรมอุตุนิยมวิทยา รายงานว่า พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้า บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางอีกระลอกหนึ่งจะแผ่เสริมลงมาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือแล้ว คาดว่าจะแผ่ลงมาปกคลุมภาคเหนือ ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และภาคตะวันออกในระยะต่อไป
กรมอุตุฯ จับตาพายุในทะเลจีนใต้ ทำหลายพื้นที่มีฝนตก อากาศแปรปรวนช่วงสิ้นปี
กรมอุตุนิยมวิทยา อัพเดทผลการพยากรณ์ฝนสะสมรายวัน 15 วันล่วงหน้า ระหว่าง 21 ธ.ค.67 - 4 ม.ค.68 init. 20241212012 จากศูนย์พยากรณ์อากาศระยะกลางยุโรป (ECMWF) วิเคราะห์ตามผลจากแบบจำลองฯ เฉดสีแดงหมายถึงฝนหนัก