'บิ๊กป๊อก'มั่นใจหากมรสุมไม่ซ้ำเติม จัดการน้ำได้ ไม่ซ้ำรอยปี 54 เผยเจ้าหน้าที่ทุกฝ่ายร่วมกันดำเนินการรับมือทุกพื้นที่ 'บิ๊กตู่' สั่งเร่งเยียวยาความเดือดร้อนประชาชน
5 ต.ค.65 -ที่ทำเนียบรัฐบาล พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รมว.มหาดไทย ให้สัมภาษณ์ก่อนการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ถึงสถานการณ์น้ำท่วม ว่า เราคาดว่ามวลน้ำ จะมาถึงจ.อุบลราชธานี วันที่ 8 ตุลาคมนี้ ซึ่งจะเป็นวันที่พีคสุด อย่างไรก็ตามในขณะนี้ระดับแม่น้ำโขงยังต่ำกว่าตลิ่ง ฉะนั้นจะเร่งระบายน้ำเพื่อลดผลกระทบ ของ จ.อุบลราชธานีได้มากที่สุด ส่วนลุ่มน้ำเจ้าพระยา การระบายน้ำของเขื่อนชัยนาทและเขื่อนเจ้าพระยา เมื่อบวกกับแม่น้ำป่าสัก ปริมาณน้ำยังไม่ส่งผลกระทบต่อกรุงเทพมหานคร ถ้าไม่มีฝนเติมเข้ามาอีก
เมื่อถามว่า สถานการณ์น้ำภาพรวมจะไม่ซ้ำรอยกับปี 2554 ใช่หรือไม่ พล.อ.อนุพงษ์ กล่าวว่า ต้องมีสมมุติฐาน ถ้าไม่มีพายุหมุนฤดูร้อนเข้ามาอีก หรือร่องมรสุมพาดผ่าน ซึ่งขณะนี้คาดว่าจะมีร่องมรสุมที่มาจากอิทธิพลความกดอากาศจากประเทศจีน ทำให้ร่องมรสุมต่ำทำให้เกิดฝนทางภาคใต้ของไทย ถ้าเป็นอย่างนั้น ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคเหนือจะได้รับผลกระทบน้อย ส่วนปี 2554 มีพายุหมุนฤดูร้อน 3 ลูก และมีร่องมรสุมพาดผ่านติดต่อกัน 3 ครั้ง จึงทำให้มีฝนมาก และระบายน้ำไม่ทัน แต่ปีนี้จะหนักในบริเวณน้ำไหลผ่าน ถ้าไม่มีมรสุมหรือร่องมรสุมเข้ามาอีก จะสามารถบริหารจัดการน้ำได้
เมื่อถามว่า ทุกพื้นที่มีแผนการรับมือ และแผนการเยียวยาประชาชนไว้พร้อมแล้วใช่หรือไม่ พล.อ.อนุพงษ์ กล่าวว่า เมื่อเรารู้สถานการณ์น้ำก็จะต้องประเมิน สถานการณ์ เมื่อทราบว่ามวลน้ำอยู่ที่ไหนแล้วจะส่งผลกระทบต่อประชาชนในเรื่องที่อยู่อาศัย การดำรงชีวิต และการสัญจร เราต้องเตรียมการ เช่น ที่พักพิงและการจัดเตรียมเจ้าหน้าที่ให้พร้อม ขณะนี้กำลังดำเนินการอยู่ในทุกพื้นที่ เจ้าหน้าที่ทุกฝ่ายร่วมกันดำเนินการ ส่วนเรื่องแผนเยียวยาเรามีระเบียบกระทรวงการคลังอยู่แล้วว่าจะทำอย่างไร โดยนายกรัฐมนตรีได้สั่งการว่า ถ้าเริ่มฟื้นฟูเยียวยาได้ ก็ให้เร่งสำรวจความเสียหายโดยเร็ว ดังนั้นทุกฝ่ายเตรียมการเรื่องข้อมูลในทุกพื้นที่ไว้แล้ว จะเร่งสำรวจและเร่งจ่ายเงินเยียวยาโดยเฉพาะเรื่องที่อยู่ที่อาศัยที่จะเข้าไปซ่อมแซม
เมื่อถามถึงกรณีที่ชาวบ้านเกิดความขัดแย้งให้ระบายน้ำ จะทำความเข้าใจอย่างไร พล.อ.อนุพงษ์ กล่าวว่า ประชาชนบางส่วนไม่อยากให้ปล่อยน้ำไปที่ทุ่ง ต้องสร้างความเข้าใจว่า เราไม่สามารถยั้งน้ำเหนือได้ อย่างไรก็ต้องไหลผ่าน ถ้าไม่เปิดก็อาจจะท่วม และเปิดประตูระบายน้ำ ฉะนั้นต้องปล่อย ในขณะที่ชาวบ้านบางคนขอให้ทยอยปล่อย เพื่อให้น้ำทยอยไป และส่งผลกระทบน้อยลง ถ้าปล่อยมากจะได้รับผลกระทบมาก ฉะนั้นจึงต้องสร้างความเข้าใจต่อประชาชนว่าเราต้องปล่อยเพื่อให้น้ำผ่านไปทัน ไม่ใช่ปล่อยจนกระทบมาก โดยกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) ได้ดูแลเรื่องนี้เพราะน้ำจะเชื่อมต่อกันหมด จึงต้องดูว่าจะเปิดหรือปล่อยน้ำที่ไหน
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'บิ๊กป้อม' มองน้ำท่วมหนัก เพราะรัฐบาลบริหารจัดการน้ำไม่เป็นมืออาชีพ
พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ หัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ กล่าวในที่ประชุมกรรมการบริหารและ สส.พรรคถึงสถานการณ์อุทกภัยในขณะนี้ว่า การบริหารจัดการน้ำถือเป็นเรื่องสำคัญ ซึ่งในอดีต ตนเคยดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี ได้มีการวางแนวทางการบริหารจัดการไว้เป็นอย่างดีแล้ว โดยในปี 2565 ปริมาณน้ำมีมากกว่า ปี 2554
นายกฯ อิ๊งค์ให้ความมั่นใจคนกรุงไม่ซ้ำรอยยุคอาปูแน่นอน
นายกฯ ตรวจบริหารจัดการน้ำ บอกคนกรุงไม่ต้องกลุ้มใจ หลังกรมชลประทาน การันตีปีนี้น้ำไม่ท่วมกรุงเทพฯแน่นอน ยันสถานการณ์น้ำไม่เยอะเท่าปี 54
ตลิ่งแม่น้ำทรุดตัวเพิ่มอีกจุด หลังเขื่อนเจ้าพระยาเร่งระบายน้ำ
แม่น้ำเจ้าพระยา ที่ไหลผ่าน อ เมืองชัยนาท ด้านเหนือเขื่อนเจ้าพระยา ในช่วง 4 วันที่ผ่านมา ที่เพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่องจากปริมาณ 1,309 เพิ่มขึ้นเป็น 2,164 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที และจากการเร่งระบายน้ำท้ายเขื่อนเจ้าพระยา จากอัตรา 1,049 เป็น 1,800 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที
'ดร.ธรณ์' ดึงสติ ไม่ต้องตื่นตระหนกพายุลูกใหญ่ถล่ม หากมาจริงจะแจ้งล่วงหน้า
ผศ.ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ นักวิชาการด้านทะเลและสิ่งแวดล้อม อาจารย์ประจำภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า
นายกฯ ติดตามการบริหารจัดการน้ำบางระกำ จ.พิษณุโลก
นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง หารือประเด็นการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่จังหวัดพิษณุโลก โดยมี นายบุญเหลือ บารมี รองผู้ว่าราชการจังหวัดพิษณุโลก
'บิ๊กตู่' ยิ้มแย้มแจ่มใส ร่วมงานสถาปนาครบรอบ 114 ปี กองทัพภาค 1
'พล.อ.ประยุทธ์' องคมนตรี เป็นประธานงานสถาปนากองทัพภาคที่ 1 ครบ 114 ปี สีหน้าแจ่มใส ทักทายสื่อ บอกสบายดี ขณะที่บิ๊กเหล่าทัพ-อดีตแม่ทัพภาค 1 ร่วมงานคึกคัก