2 ต.ค. 2565 – ดร.ธเนศร์ สมบูรณ์ ผู้อำนวยการสำนักบริหารจัดการน้ำและอุทกวิทยา กรมชลประทาน ชี้แจงกรณีนี้ว่า สถานการณ์น้ำในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ก่อนที่พายุ “โนรู” จะพัดเข้าสู่ประเทศไทย ได้รับอิทธิพลจากร่องมรสุมกำลังแรง ส่งผลให้มีฝนตกชุกและตกหนักในหลายพื้นที่
กรมชลประทานได้บริหารจัดการน้ำตามแนวทาง 13 มาตรการฤดูฝนของกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) อย่างเคร่งครัด ทั้งนี้ กรมชลประทานได้เร่งพร่องน้ำ เพื่อรองรับปริมาณน้ำที่จะไหลเข้าอ่างฯ ในช่วงพายุ “โนรู” เคลื่อนเข้าไทย
ส่วนปริมาณน้ำในลำน้ำต่างๆ ที่มีปริมาณสูงในบางช่วง อาจส่งผลกระทบในพื้นที่ลุ่มต่ำได้นั้น กรมชลประทานได้สนับสนุนบุคลากร เครื่องจักร เครื่องมือ เข้าไปร่วมปฏิบัติงานอย่างเต็มกำลัง เพื่อเร่งช่วยเหลือพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ ด้านการระบายน้ำในแม่น้ำมูลลงสู่แม่น้ำโขง ยังสามารถระบายได้ดี เนื่องจากระดับน้ำในแม่น้ำโขงยังอยู่ต่ำกว่าแม่น้ำมูลเกือบ 2 เมตร กรมชลประทาน โดยสำนักเครื่องจักรกล และสำนักงานชลประทานที่ 7 ได้ติดตั้งเครื่องผลักดันน้ำเพิ่มเติมบริเวณสะพานโขงเจียม อ.โขงเจียม จ.อุบลราชธานี จากเดิมที่ติดตั้งไว้แล้วก่อนหน้านี้ที่บริเวณสะพานพิบูลมังสาหาร อ.พิบูลมังสาหาร จ.อุบลราชธานี เพื่อเสริมการระบายน้ำในแม่น้ำมูลลงสู่แม่น้ำโขง
สำหรับลุ่มน้ำเจ้าพระยา มีการรับน้ำจากแม่น้ำปิง วัง ยม และน่าน กรมชลประทานได้บริหารจัดการน้ำเหนือ โดยการใช้เขื่อนเจ้าพระยา จ.ชัยนาท ในการควบคุมการระบายน้ำลงสู่พื้นที่ตอนล่าง ให้เหมาะสมและสอดคล้องกับสถานการณ์ เพื่อลดผลกระทบต่อประชาชนให้ได้มากที่สุด
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ประตูระบายน้ำศรีสองรักอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ความยั่งยืนของการพัฒนาลุ่มน้ำเลย
ลุ่มน้ำเลย เป็นลุ่มน้ำสาขาของลุ่มน้ำโขงตะวันออกเฉียงเหนือ มีแม่น้ำเลยเป็นแม่น้ำสายหลัก ที่มีต้นน้ำอมาจากอำเภอภูหลวง ซึ่งเป็นพื้นที่สูงลาดชัน
เอาแล้ว! เขื่อนเจ้าพระยากลับมาเพิ่มการระบายน้ำอีกระลอก
เขื่อนเจ้าพระยากลับมาเพิ่มระบายน้ำขึ้นอีกรอบ หลังฝนตกทำให้แม่น้ำเจ้าพระยา-แม่น้ำสะแกกรัง เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง
ตอนบนของประเทศ ฝนลดลง ชป.เดินหน้าเก็บกักน้ำปลายฤดูฝน สำรองไว้ใช้แล้งหน้าให้มากที่สุด
เมื่อวันนี้ 15 ต.ค. 67 ที่ห้องประชุมศูนย์ปฏิบัติการน้ำอัจฉริยะ (swoc) อาคาร 99 ปี หม่อมหลวงชูชาติ กำกู กรมชลประทาน ถนนสามเสน ผศ.ดร.สิตางศ์ พิสัยหล้า ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ดร.ธเนศร์ สมบูรณ์ ผู้อำนวยการสำนักบริหารจัดการน้ำและอุทกวิทยา
น้ำทะเลหนุน! กรมชลฯ เฝ้าระวังระดับน้ำ 7 พื้นที่เสี่ยงลุ่มเจ้าพระยา
กรมชลประทาน คาดการณ์ระดับน้ำลุ่มเจ้าพระยาตอนล่าง 3 วันล่วงหน้า (13-15 ต.ค. 67)
กรมชลประทานคุมเข้มบริหารจัดการน้ำรับมือฤดูมรสุมภาคใต้
นายวิทยา แก้วมี รองอธิบดีกรมชลประทาน เป็นประธานประชุมเตรียมความพร้อมแนวทางการบริหารจัดการน้ำในช่วงฤดูฝนปี 2567 ณ ห้องประชุมสำนักงานชลประทานที่ 16 เพื่อเตรียมความพร้อมวางแผนรับมือในพื้นที่ภาคใต้ใกล้เข้าสู่ฤดูฝน
'เขื่อนเจ้าพระยา' ลดระบายน้ำต่อเนื่อง พื้นที่ลุ่มต่ำ 4 จ. ท่วมน้อยลง
แม่น้ำเจ้าพระยาที่ไหลผ่าน จ.นครสวรรค์ และแม่น้ำสะแกกรัง จ.อุทัยธานี มีปริมาณลดลงต่อเนื่อง ส่งผลให้ปริมาณน้ำด้านเหนือเขื่อนเจ้าพระยา จ.ชัยนาท