ครบ 8 ปีคณะวิทยาการเรียนรู้ฯ มธ. เปิดตัว 'วารสารวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์'

ครบ 8 ปีคณะวิทยาการเรียนรู้ฯ มธ. “8 ปี การเรียนรู้ไม่สิ้นสุด” เปิดตัว “วารสารวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์” ฉบับแรก พร้อมโชว์ 8 นวัตกรรมการเรียนรู้ บ่มเพาะนวัตกรคนรุ่นใหม่ สร้างสังคมแห่งการเคารพและเรียนรู้ร่วมกัน

คณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์จัดงานวันคล้ายวันสถาปนาคณะฯ 29 กันยายน ครบรอบ 8 ปี ภายใต้ชื่องาน “LSEd - Endless Learning 8 ปี การเรียนรู้ไม่สิ้นสุด” รับฟังการเสวนาหัวข้อ “การเรียนรู้ไม่สิ้นสุดบนโลกแห่งความแตกต่างหลากหลาย” จากดร.นพ.โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์ ผู้อำนวยการศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) พร้อมเปิดตัว วารสารวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ (Journal of Learning Sciences and Education) และชมนิทรรศการ 8 ปี 8 นวัตกรรมการเรียนรู้ ณ ลานวงกลม อาคารสิริวิทยลักษณ์ มธ.

ผศ.ดร.อดิศร จันทรสุข คณบดีคณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เปิดเผยว่า คณะวิทยาการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2557 เพื่อสร้าง “ชุมชนแห่งการเรียนรู้” ที่มี จิตวิญญาณความเป็นธรรมศาสตร์และเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงด้านการเรียนรู้ ทั้ง ชุมชนครู อาจารย์และบุคลากรทางการศึกษา ชุมชนนักเรียน นักศึกษา ชุมชนเครือข่ายในนิเวศการเรียนรู้รอบด้าน ทั้งผู้ปกครอง นักการศึกษา องค์กรภาคส่วนต่างๆ และประชาชนผู้ใช้ประโยชน์ ร่วมเป็นเสาหลักประกอบสร้างสถาบันทางการศึกษาที่มีค่านิยม “สร้างสังคมแห่งการเคารพและเรียนรู้ร่วมกัน” มุ่งสู่วิสัยทัศน์  สถาบันการศึกษาชั้นนำที่ขับเคลื่อนสังคมด้วยการเรียนรู้

ผศ.ดร.อดิศร กล่าวอีกว่า คณะวิทยาการเรียนรู้และ ศึกษาศาสตร์ และโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ตั้งมั่นอยู่บนแก่นแท้ของการศึกษาที่เชื่อว่าการศึกษาเป็นกระบวนการพัฒนามนุษย์อย่างเป็นองค์รวมให้เต็มตามศักยภาพของตัวเอง มีวิถีใหม่ของกระบวนการเรียนรู้ 3 ด้าน คือ 1.วิถีการเรียนรู้ด้วยหัวใจ 2.ปฏิบัติด้วยปัญญา และ3.สร้างนวัตกรรมขับเคลื่อนสังคม โดยคณะฯ เป็น ชุมชนการเรียนรู้ “สหวิทยาการ” เชื่อมโยงบูรณาการศาสตร์เพื่อสร้างนวัตกรรมการเรียนรู้ โดยนำมุมมองศาสตร์และศิลป์ที่หลากหลายมาพัฒนาการเรียนรู้ของมนุษย์ และก้าวข้ามข้อจำกัดมายาคติของศาสตร์ด้านการศึกษา เข้าสู่แก่นแท้เชิงปรัชญาของการพัฒนามนุษย์

ทั้งนี้ภายในงานฯ มีการนำเสนอเส้นทางของการสร้างนวัตกรรมการเรียนรู้ ตลอดจนคณะฯได้จัดทำ วารสารวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ (Journal of Learning Sciences and Education) ซึ่งเป็นฉบับปฐมฤกษ์ เปิดตัวครั้งแรกในวันสถาปนาครบรอบ 8 ปีของคณะฯ พิเศษกับนิทรรศการ 8 ผลงานนวัตกรรมการเรียนรู้ไม่สิ้นสุด ดังนี้ 1.นวัตกรรมการจัดการเรียนการสอน หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการเรียนรู้  2.การเรียนรู้ส่วนบุคคล (personalized learning) รร.สาธิตแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 3. นิเวศการเรียนรู้ รร.สาธิตแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 4.วิจัยมายาคติทางการศึกษา  5.ก่อการครู: ครูบันดาลใจจุดไฟการเรียนรู้ 6. นวัตกรรมออกแบบเกม ออกแบบสังคม 7. นวัตกรรมการศึกษาขับเคลื่อนชุมชน สังคม และ 8. ความเท่าเทียม และความแตกต่างหลากหลาย นอกจากนี้จะได้รับฟังการเสวนาหัวข้อ “การเรียนรู้ไม่สิ้นสุดบนโลกแห่งความแตกต่างหลากหลาย” โดย ดร.นพ.โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์ผู้อำนวยการศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) อีกด้วย

ผศ.ดร.ไอยเรศ บุญฤทธิ์ รองคณบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ กล่าวถึง วารสารวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ ว่า วารสารวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 ฉบับนี้ ถือเป็นฉบับปฐมฤกษ์ที่จะเป็นพื้นที่ทางวิชาการ แหล่งรวมของสรรพศาสตร์หลากหลายแขนง โดยมุ่งมั่นที่จะพัฒนาองค์ความรู้ด้านวิทยาการเรียนรู้และการศึกษาศาสตร์ พื้นที่แห่งนี้จึงถือเป็นแหล่งสมาทานของผู้ใช้ศาสตร์และศิลป์ในการบูรณาการองค์ความรู้สู่การพัฒนามนุษย์เพื่อสร้างสังคมสันติสุขและยั่งยืน

ผศ.ดร.ไอยเรศ กล่าวต่อว่า เป้าหมายและแนวทางของการจัดทำวารสารวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่งานวิชาการของบุคลากรทั้งภายในและภายนอก สนับสนุนการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ การถกเถียงทางวิชาการและวิชาชีพ อีกทั้ง มุ่งส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพทางการวิจัยด้านวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ และศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง นอกจากนี้ยังตั้งเป้าหมายเพื่อให้วารสารฉบับนี้ได้ก่อเกิดเป็นพื้นที่สำหรับการพัฒนาผลงานของนักปฏิบัติผู้ขับเคลื่อนชุมชนหรือสังคมด้วยการเรียนรู้ในทุกระดับให้เกิดเป็นงานวิจัย-วิชาการที่มีคุณภาพ สามารถเผยแพร่ให้เป็นที่รับรู้ยอมรับในแวดวงวิชาการ และนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อไป

วารสารฉบับปฐมฤกษ์ฉบับนี้จะนำเสนอมิติด้าน “พื้นที่การเรียนรู้ (Learning Space)” ซึ่งสอดคล้องกับแนวทางการจัดทำวารสาร อีกทั้งต้องการชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของการเรียนรู้ที่สามารถเกิดได้ทุกพื้นที่ ทุกหน ทุกแห่ง ดังนั้น บทความภายในวารสาร จึงประกอบด้วยเรื่องราวที่สะท้อนถึงพื้นที่การเรียนรู้หลากหลายมิติ หลากหลายมุมมอง อาทิ พื้นที่การเรียนรู้ในเชิงแนวคิด  (concept) ที่ได้รับการอธิบายเชื่อมโยงอย่างมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างพื้นที่ทางกายภาพกับบริบท ในขณะเดียวกัน พื้นที่ภายใต้มโนสำนึกของตัวเรา ก็ถือเป็นพื้นที่หนึ่งที่สามารถขัดเกลาเพื่อธำรงตนให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ได้เช่นกัน

โดยจะแบ่งเป็น 5 บทความ ได้แก่ 1.บทความวิชาการเรื่อง “THE THIRD WORLD WAR”: VISION OF A CONTEMPORARY THAI POET" ของศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร. เจตนา นาควัชระ 2.บทความวิชาการเรื่อง “"พิพิธภัณฑ์สิรินธร พื้นที่เพื่อนักเรียนรู้ด้านซากดึกดำบรรพ์" ของ ดร. วราวุธ สุธีธร 3.บทความวิชาการเรื่อง “เมืองแห่งการเรียนรู้: concept, methods, and factors of implementation ของ พีรพล ทุมมาพันธ์ สรียา โชติธรรม และกัญญ์ฐิตา ศรีภา 4.บทความวิจัยเรื่อง "การศึกษารูปแบบการจัดกระบวนการเรียนรู้และปัจจัยที่ส่งผลการจัดการเรียนรู้ในพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล" ของ ชลิดา จูงพันธ์ และ 5.บทความเรื่อง "Intergenerational Ethics Development and Learning in Community: Lanna Wisdom School in Thailand" ของ ฐิติกาญจน์ อัศตรกุล และ ลินดา เยห์

ทั้งนี้หวังว่าด้วยความร่วมมือของทุกท่านจะช่วยให้วารสารวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ ได้รับการพัฒนาให้มีคุณภาพและมีมาตรฐาน ตลอดจนเป็นที่ยอมรับในวงวิชาการบนฐานของการสร้างสังคมแห่งการเคารพและเรียนรู้ด้วยกัน อันจะเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างสรรค์องค์ความรู้สู่สังคมไทยต่อไป.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

90 ปี สถาปนาธรรมศาสตร์ ก้าวสู่ 'มหาวิทยาลัยสมบูรณ์แบบชั้นนำเพื่อสังคมแห่งอนาคต'

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จัดงานสถาปนามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ครบรอบปีที่ 90 พร้อมมอบรางวัลเข็มเกียรติยศ ให้แก่ “อาคม เติมพิทยาไพสิฐ” อดีต รมว.คลัง และ อดีต รมว.คมนาคม ในฐานะผู้ประกอบคุณงามความดีต่อสังคมและประเทศชาติ ขณะที่

นักวิชาการธรรมศาสตร์ ระบุ สว. ชุดใหม่ คือผู้กำหนดภูมิทัศน์การเมืองไทยไปอีก 5 ปี

อาจารรัฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์ ระบุ สว. ชุดใหม่ ยังมีอำนาจมากเกินไป และจะเป็นผู้กำหนดภูมิทัศน์การเมืองประเทศในอีก 5 ปีข้างหน้า

'ธรรมศาสตร์' เตือน! อย่าตกเป็นเหยื่อมิจฉาชีพ

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) แจ้งเตือนบุคลากร นักศึกษา ศิษย์เก่า ประชาคมธรรมศาสตร์ และประชาชน ระวังตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพ ขณะนี้พบพฤติกรรมของมิจฉาชีพแอบอ้างว่าเป็น “เจ้าหน้าที่กอง

เสวนา ‘วันปรีดีฯ 2567’ ตัดเกรด สว. รักษาอำนาจเก่า ‘เต็มสิบ’ ส่งเสริมประชาธิปไตย ‘ให้ศูนย์’

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จัดงาน “วันปรีดี พนมยงค์” ประจำปี 2567 พร้อมวงเสวนาว่าด้วยอำนาจหน้าที่ “วุฒิสภา” วงถกตอกย้ำคำถาม สว. มีไว้ทำไม เผยให้คะแนน “เต็มสิบ” ในแง่ของการพิทักษ์รักษาอำนาจเก่า แต่ให้ “ศูนย์” ในแง่ส่งเสริมประชาธิปไตย-ทำหน้าที่ตรวจสอบถ่วงดุล ระบุใช้อำนาจแทรกแซงเลือกนายกฯ-ตั้งองค์กรอิสระ-ยับยั้งการแก้รัฐธรรมนูญ ชี้เป็นเครื่องเตือนใจให้สังคมตั้งคำถามสู่การเดินหน้าเป็นสภาเดี่ยว

สำรวจบาดแผล 'เด็ก' ในยุคที่กลายมาเป็น 'คอนเทนต์' ของผู้ใหญ่

นักวิชาการธรรมศาสตร์ ชวนสำรวจบาดแผล ‘เด็ก’ ในยุคที่ต้องกลายมาเป็น ‘คอนเทนต์’ เพราะความเปราะบางของเนื้อหาจะทิ้งร่องรอยความบอบช้ำไว้เสมอ