'กสม.' หวั่นกรณีเมียนมาลักลอบเข้าไทยมีปัญหาค้ามนุษย์

กสม.ห่วงกรณีแรงงานเมียนมาลักลอบเข้าไทยมีปัญหาการค้ามนุษย์ เตรียมศึกษาและเสนอแนวทางแก้ไขต่อรัฐบาล

11 พ.ย.2564 - คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) โดย น.ส.ศยามล ไกยูรวงศ์ และนายวสันต์ ภัยหลีกลี้ กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ แถลงข่าวเด่นประจำสัปดาห์ ครั้งที่ 7/2564 โดยมีวาระสำคัญ คือ กสม.ประสานการคุ้มครองกรณีแรงงานชาวเมียนมาจำนวนมากถูกจับจากการลักลอบเข้าไทย ห่วงปัญหาการค้ามนุษย์ เตรียมศึกษาและจัดทำข้อเสนอถึงรัฐบาล โดยที่ปรากฏข่าวกรณีเจ้าหน้าที่สนธิกำลังจับกุมแรงงานชาวเมียนมาที่ลักลอบเข้ามาทางด่านชายแดนอำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี ตั้งแต่ช่วงปลายเดือนตุลาคม – ต้นเดือนพฤศจิกายน จำนวนหลายร้อยราย ซึ่งภาคประชาสังคมโดยสมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชนและมูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนาได้ออกแถลงการณ์เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2564 เรียกร้องให้รัฐบาลไทยยกระดับปฏิบัติการต่อขบวนการค้ามนุษย์ที่ชายแดนไทย-พม่า พร้อมเสนอให้ กสม.ตรวจสอบความเป็นอยู่ของผู้ถูกจับกุม สอบถามปัญหา และหารือกับหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องเพื่อร่วมกันหาทางออกอย่างเป็นรูปธรรม นั้น

กสม.โดยคณะทำงานด้านการประสานการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนในกรณีเร่งด่วน ได้ดำเนินการประสานการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน โดยได้สอบถามและรวบรวมข้อมูลเบื้องต้นจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ เจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมือง เจ้าหน้าที่ตำรวจภูธร และเจ้าหน้าที่กองร้อยตำรวจตระเวนชายแดนในพื้นที่ที่เข้าจับกุม ซึ่งได้รับแจ้งว่าในจำนวนชาวเมียนมาที่ถูกจับกุม ไม่มีเด็กหรือผู้ลี้ภัยปะปนมาด้วยและทั้งหมดเป็นวัยทำงาน โดยเจ้าหน้าที่ได้ดำเนินการกักตัวแรงงานตามมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ขณะที่มูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนาให้ข้อมูลว่า ได้ติดตามสถานการณ์การจับกุมและดำเนินคดีกับแรงงานชาวเมียนมาที่หลบหนีเข้าประเทศมาอย่างต่อเนื่อง พบว่ามีคดีลักลอบเข้าเมืองจำนวนมากซึ่งพนักงานสอบสวนมีความเห็นว่ามีการกระทำความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ด้วย แต่ในชั้นการพิจารณาของพนักงานอัยการมีคำสั่งฟ้องในฐานความผิดตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองเท่านั้น

เมื่อพิจารณารวมไปถึงการที่ประเทศไทยถูกลดอันดับให้อยู่ในกลุ่ม 2 บัญชีรายชื่อประเทศที่ต้องจับตามอง (Tier 2 Watch List) ตามรายงานสถานการณ์การค้ามนุษย์ ประจำปี 2564 (2021 TIP Report) ของกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา เห็นว่า สถานการณ์ดังกล่าวน่าห่วงกังวลเป็นอย่างยิ่งทั้งในมิติด้านแรงงาน การค้ามนุษย์ และสุขภาพ กล่าวคือ การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ระลอกสองเมื่อปลายปี 2563 สาเหตุส่วนหนึ่งมาจากการลักลอบนำเข้าแรงงานจากประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งแรงงานเข้ามาเป็นกลุ่มใหญ่และต้องอยู่กันอย่างแออัด นอกจากนี้ กรณีการจับกุมแรงงานชาวเมียนมาที่หลบหนีเข้าประเทศในช่วงที่ผ่านมานี้ อาจมีประเด็นปัญหาการกระทำความผิดเกี่ยวกับการค้ามนุษย์นอกเหนือไปจากการกระทำความผิดตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง ซึ่ง กสม.เคยมีข้อเสนอแนะ (เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2564) ในประเด็นการป้องกันและปราบปรามการทุจริตกรณีการลักลอบนำแรงงานเข้าเมืองผิดกฎหมายในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 แล้ว แต่ไม่ปรากฏผลการดำเนินงานที่ชัดเจน

ด้วยเหตุนี้ กสม. ในคราวประชุมด้านการคุ้มครองและมาตรฐานการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2564 จึงมีมติเห็นควรให้มีการศึกษาเพื่อมีข้อเสนอแนะในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนในประเด็นการค้ามนุษย์เป็นการเฉพาะเพื่อเสนอแนวทางป้องกันและแก้ไขปัญหาไปยังรัฐบาลต่อไป ทั้งนี้ เพื่อให้สอดคล้องกับกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (ICCPR) ที่ประเทศไทยเป็นภาคีและมีพันธกรณีต้องปฏิบัติตาม ข้อ 8 ห้ามบุคคลมิให้ตกอยู่ในภาวะเยี่ยงทาส บุคคลจะถูกเกณฑ์แรงงานหรือบังคับใช้แรงงานมิได้

 

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

กสม. ประณาม 'ทักษิณ' ปราศรัยเหยียดเชื้อชาติคนแอฟริกัน ย้ำไทยอยู่ภายใต้ CERD

กสม.ซัด 'ทักษิณ' จ้อเหยียดเชื้อชาติคนแอฟริกัน อบรมคนมีอิทธิพลทางสังคมไม่ควรทำ หวั่นโดนขยายความรุนแรง ซ้ำรอยความสูญเสียในอดีต

เผยผลการตรวจสอบโครงการอุตสาหกรรมจะนะ ขาดการมีส่วนร่วม แนะศอ.บต. แก้ไข

กสม. เผยผลการตรวจสอบโครงการเมืองต้นแบบอุตสาหกรรมก้าวหน้าแห่งอนาคต อ.จะนะ จ.สงขลา ระบุขาดการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่าย แนะศอ.บต. แก้ไข

กสม.แนะแก้ไขปัญหาสิทธิในที่ดินปชช. ที่ได้รับผลกระทบจากโครงการขยายเหมืองแม่เมาะ

กสม. แนะกระทรวงพลังงานเร่งเสนอ ครม. แก้ไขปัญหาสิทธิในที่ดินให้กับประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากโครงการขยายเหมืองแม่เมาะ จังหวัดลำปาง

กสม.ชงนายกฯทบทวนโครงการอนุรักษ์ทรัพยากรภายในเขตอุทยานฯหวั่นกระทบสิทธิปชช.

กสม. เสนอแนะนายกรัฐมนตรี ขอให้ทบทวนและชะลอพระราชกฤษฎีกาที่เกี่ยวกับโครงการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติภายในเขตอุทยานแห่งชาติ หวั่นกระทบสิทธิของประชาชนในวงกว้าง

กสม.แนะตร.แก้ปัญหาความล่าช้าในกระบวนการยุติธรรม กรณีผู้ต้องขังถูกอายัดตัวกว่า 10 ปี

กสม. แนะ ตร. แก้ปัญหาความล่าช้าในกระบวนการยุติธรรม กรณีพนักงานสอบสวนไม่ดำเนินคดีอาญาผู้ต้องขังที่ถูกอายัดตัวนานกว่า 10 ปี เสนอเรือนจำงดเว้นการร้องทุกข์ในคดีลหุโทษ