'ประมงพื้นบ้าน' จ่อบุกพบ 'บิ๊กป้อม' ทวงสัญญาผลักดันประกาศห้ามจับสัตว์น้ำเล็ก

ประมงพื้นบ้านเตรียมบุกทำเนียบขอพบ “บิ๊กป้อม” ทวงสัญญาเดินหน้า ม.57 ห้ามจับสัตว์น้ำเล็กกว่ามาตรฐาน เผยถูกประมงพาณิชย์ขวาง หวั่นไทยโดนใบเหลืองอียูอีกรอบ

27 ก.ย.2565 - ตัวแทนประมงพื้นบ้านร่วม 30 คนจากภาคใต้และภาคตะวันตกประกาศบุกทำเนียบรัฐบาล ภายหลังจากเดินทางมารวมตัวกันหน้ากระทรวงเกษตรและสหกรณ์(กษ.)และขอเข้าพบพลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และรักษาราชการแทนนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะกรรมการประมงแห่งชาติ ในวันที่ 28 กันยายนนี้

นายวิโชคศักดิ์ รณรงค์ไพรี นายกสมาคมรักษ์ทะเลไทย เปิดเผยว่า สมาคมรักษ์ทะเลไทยและสมาคมสมาพันธ์ชาวประมงพื้นบ้านแห่งประเทศไทยได้เดินทางเข้ากรุงเทพฯ และจัดกิจกรรมต่อเนื่องเพื่อรอคำตอบจากรัฐบาลตั้งแต่วันที่ 26 กันยายนเพื่อทวงสัญญาที่กระทรวงเกษตรฯซึ่งรับปากไว้ตั้งแต่เดือนมิถุนายนว่าจะผลักดันออกประกาศมาตรา 57 ใน พ.ร.ก.การประมง พ.ศ. 2558 ห้ามมิให้ผู้ใดจับสัตว์น้ำหรือนำสัตว์น้ำที่มีขนาดเล็กกว่าที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดขึ้นเรือประมง

นายวิโชคศักดิ์กล่าวว่า ในวันที่ 30 กันยายนนี้ พลเอกประวิตร มีกำหนดเป็นประธานประชุมคณะกรรมการนโยบายการประมงแห่งชาติ แต่การประชุมครั้งนี้กลับไม่มีวาระเรื่องมาตรา 57 สะท้อนให้เห็นถึงความล่าช้าและไม่จริงจังของรัฐบาลไทยในการเดินหน้าเรื่องนี้

นายวิโชคศักดิ์ กล่าวว่าปี 2558 หลังจากประเทศไทยถูกใบเหลืองจากอียู กรมประมงได้ชำระกฎหมายประมงที่ไม่ทันกับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงในปัจจุบันและได้ระบุถึงการกำหนดรายละเอียดขนาดของสัตว์น้ำที่ห้ามนำขึ้นเรือ (มาตรา 57) ทว่าผ่านมา 7 ปีแล้วยังขาดรายละเอียดและการบังคับใช้ ปีนี้เครือข่ายฯ จึงเรียกร้องให้มีการบังคับใช้อย่างจริงจัง

“ปลายปีนี้ ประเทศไทยจะต้องส่งความคืบหน้าแก้ไขปัญหาด้านประมงกับอียู ถึงวันนี้จะปรับสถานะดีขึ้นจากใบเหลืองเป็นใบเขียวแล้ว แต่ถ้ากฎหมายประมงไทยยังดูแลทะเลได้ไม่ดีพอก็มีสิทธิปรับเป็นใบเหลืองอีกได้” ตัวแทนสมาคมรักษ์ทะเลไทย กล่าว

นายปิยะ เทศน์แย้ม นายกสมาคมสมาพันธ์ประมงพื้นบ้านแห่งประเทศไทยกล่าวว่าล่าสุดเมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม 2565 กรมประมง กระทรวงเกษตรฯเปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นเบื้องต้นมาตรา 57 เพื่อประกอบการพิจารณาการออกร่างประกาศ หลังจากนั้นความคืบหน้ายังเงียบและการรับฟังความคิดเห็นดังกล่าวไม่ทั่วถึงอย่างแท้จริง เนื่องจากสื่อสารกับชาวบ้านไม่ครบถ้วน อีกทั้งยังมีอิทธิพลของประมงพาณิชย์กดดันคัดค้านการออกมาตรการดังกล่าว

“พวกเรายืนยันว่าการมีมาตรา 57 ในกฎหมายประมงเป็นเรื่องสำคัญเพราะจะรักษาความมั่นคงทางอาหารของคนไทย ตัวอย่างที่ชัดเจนคือเมนูน้ำพริกปลาทูซึ่งเป็นอาหารพื้นบ้าน แหล่งโปรตีนราคาถูกของคนทุกเพศทุกวัย ในอดีตประเทศไทยจับปลาทูได้มหาศาล แต่เพราะการจับลูกปลาทูก่อนวัยอันควรปะปนกับปลาขนาดเล็กสายพันธุ์อื่น ๆ ด้วยเครื่องมือประมงทำลายล้างสูง ทำให้ปลาทูไทยเสี่ยงสูญพันธุ์ ปัจจุบันปลาทูไทยมีจำนวนน้อยลงเฉลี่ยร้อยละ 20 ต่อปี”นายปิยะ กล่าว

ทั้งนี้ มิถุนายนที่ผ่านมาภาคีน้ำพริกปลาทูได้ระดมพลชาวประมงพื้นบ้านจากหลายสิบชุมชนล่องเรือจากอ่าวปัตตานีถึงกรุงเทพฯ ร่วมพันกิโลเมตร บุกรัฐสภาเพื่อยื่นหนังสือกับตัวแทนรัฐบาล โดยให้เวลา 30 วันเพื่อตอบรับ ถัดจากนั้นเครือข่าย ฯ ได้ประกาศขยายเวลาเพิ่มเป็น 60 วัน เพื่อให้รัฐบาลสามารถดำเนินการกำหนดมาตรการควบคุมการจับสัตว์น้ำขนาดเล็กตามมาตรา 57 แต่ทว่าผ่านมากว่า 90 วันแล้ว รัฐบาลยังเงียบหายไปและขาดความชัดเจน วันนี้เครือข่าย ฯ จึงได้เดินทางมาทวงสัญญา

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

นายกฯ ลั่นหวังว่าจะไม่เกิดขึ้นอีก ขอตรวจสอบปมซื้อขายบัตรผู้ติดตามในทำเนียบฯ

นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีการซื้อขายตำแหน่งคณะผู้ติดตามภายในทำเนียบรัฐบาล ว่า ไม่เคยได้รับทราบข่าวนี้เลย เมื่อถามอีกว่าตรงนี้นายกฯจะมีการกำชับอย่างไร นายกฯ กล่าวว่า อันนี้มันเป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้องอยู่แล้ว

'บิ๊กป้อม' เปิดบ้านป่ารอยต่อ คุย สส.พปชร. ย้ำทำหน้าที่ กมธ.งบ 68 อย่างรอบคอบ

พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ หัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) พร้อมด้วยแกนนำคนสำคัญ อาทิ นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รองหัวหน้าพรรค, นายไพบูลย์ นิติตะวัน รองหัวหน้าพรรค

แล้วกัน! พรรคร่วมยังไม่คอนเฟิร์ม ร่วมโต๊ะดินเนอร์ พปชร. เป็นเจ้าภาพ

ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในฐานะเลขาธิการพรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) ให้สัมภาษณ์ถึงกรณี

สะดุ้ง 'เศรษฐา' ไม่เดินเข้าป่า!บอกให้รอดูต่อไปเขี่ย พปชร. พ้นรัฐบาลหรือไม่

นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ถึงกระแสข่าวการปรับพรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) ออกจากพรรคร่วมรัฐบาล

ปภ.ตรังเตือนฝนกระหน่ำ น้ำท่วมฉับพลัน

สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดตรัง เตือนประชาชนและชาวเรือประมงให้เฝ้าระวังช่วงนี้มีมรสุมพัดผ่าน  พร้อมประสานหน่วยงานทหารในพื้นที่เข้าช่วยเหลือประชาชน หากได้รับความเดือดร้อนจากภัยธรรมชาติ