รัฐบาล ยันไม่นิ่งนอนใจปัญหาราคาปุ๋ย แจงเดินหน้าช่วยเกษตรกรลดต้นทุนระยะยาวได้จริง

รัฐบาล เดินหน้าแก้ปัญหาราคาปุ๋ยครบวงจร ก.เกษตรดันปุ๋ยสั่งตัด-อินทรีย์-ชีวภาพ ช่วยเกษตรกรลดต้นทุนระยะยาวได้จริง

11 พ.ย.2564 - ที่ทำเนียบรัฐบาล นางสาวรัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า รัฐบาลไม่นิ่งนอนใจในการช่วยเหลือเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากราคาปุ๋ยเคมีที่สูงขึ้น และได้มีการดำเนินการเพื่อแก้ปัญหาทั้งแบบเร่งและแผนระยะยาว โดยตั้งแต่เดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา กระทรวงพาณิชย์ร่วมกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้จัดทำโครงการ “พาณิชย์ลดราคา! ปุ๋ยช่วยเกษตรกร” มีปุ๋ยเคมีเข้าร่วมโครงการ 84 สูตร รวม4.5 ล้านกระสอบ มีการสั่งซื้อจากสถาบันเกษตรกรกว่า 2.2 ล้านกระสอบแล้ว สำหรับแผนระยะยาว คือการส่งเสริมเกษตรกรให้ใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน (ปุ๋ยสั่งตัด) เป็นการผสมแม่ปุ๋ยให้ตรงกับสภาพดินและความต้องการของพืช รวมถึงส่งเสริมให้เกษตรกรใช้ปุ๋ยแบบผสมผสาน ซึ่งจะช่วยลดค่าปุ๋ยเคมีได้มากและทำให้ต้นพืชแข็งแรง

ทั้งนี้ นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรฯ ได้ขับเคลื่อน “โครงการพัฒนาธุรกิจบริการดินและปุ๋ยเพื่อชุมชน (One Stop Service)” มาระยะหนึ่งแล้ว มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุนการผลิตของเกษตรกร ด้วยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมในการวิเคราะห์ดินและใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน หรือที่เกษตรกรเรียกว่า “ปุ๋ยสั่งตัด” โดยรัฐสนับสนุนชุดตรวจวิเคราะห์ดิน แม่ปุ๋ย และเครื่องผสมปุ๋ย ผ่านกลไกการดำเนินงานของศูนย์จัดการดินปุ๋ยชุมชน (ศดปช.) ของกรมส่งเสริมการเกษตร ในพื้นที่ 394 ศูนย์ ใน 63 จังหวัด  ตอนนี้มีเกษตรกรเข้าร่วมโครงการฯแสนกว่าราย คิดเป็นพื้นที่รวม 1.3 ล้านไร่ ใช้ปุ๋ยสั่งตัดจำนวน 6 แสนไร่ ลดปริมาณการใช้ปุ๋ยเคมีลงร้อยละ 45 ลดต้นได้ร้อยละ 37 คิดเป็นมูลค่าเกือบ 600 ล้านบาท และกรมฯกำลังเสนอขอดำเนินงานโครงการฯ  ระยะที่ 2 มีศูนย์จัดการดินปุ๋ยชุมชน แจ้งความประสงค์เข้าร่วมโครงการแล้ว  จำนวน 299 ศูนย์ ใน 58 จังหวัด  เกษตรกร 5.2 หมื่นราย ครอบคลุมพื้นที่ 2.5 แสนไร่ 

รองโฆษกฯกล่าวว่า มากไปกว่านั้น กระทรวงเกษตรฯ ได้กำหนดแผนบริหารจัดการปุ๋ย ปี 2565 - 2569 การดำเนินงานจะครอบคลุมการส่งเสริมการใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน การใช้ปุ๋ยให้ถูกชนิดและถูกวิธี การใช้ปุ๋ยแบบผสมผสาน การผสมปุ๋ยใช้เองให้ได้คุณภาพ เป็นต้น ตั้งเป้าปี 2565 ให้ศูนย์จัดการดินและปุ๋ยฯ สามารถช่วยเหลือเกษตรกรในการผลิตปุ๋ยสั่งตัด 1.88 แสนตัน ปุ๋ยอินทรีย์ 2.25 ล้านตัน ปุ๋ยชีวภาพ 1.02 ล้านตัน และยอดรวมของแผน 5 ปี (2565-2569) จะผลิตปุ๋ยสั่งตัด 2.42 ล้านตัน ปุ๋ยอินทรีย์ 16.32 ล้านตัน ปุ๋ยชีวภาพ 14.19 ล้านตัน จำนวนเกษตรกร 3.6 ล้านราย ครอบคลุมพื้นที่ 44.01 ล้านไร่  ซึ่งผลลัพธ์คือการเพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุนการผลิตของเกษตรกรได้มาก อีกทั้งลดการนำเข้าปุ๋ยเคมี ส่วนระยะยาวช่วยเพิ่มจำนวนเกษตรกรทีทำการเพาะปลูกในรูปแบบ “เกษตรปลอดภัย” ตามมาตฐานสากล GAP (Good Agricultural Practice) ซึ่งเป็นที่ต้องการทั้งตลาดในประเทศและต่างประเทศ

นางสาวรัชดา กล่าวเพิ่มว่า ยังมีแนวทางอื่นๆทีรัฐบาลอยู่ระหว่างดำเนินการเพื่อแก้ไขปัญหาปุ๋ยเคมีราคาแพง ซึ่งประกอบด้วย การส่งเสริมอุตสาหกรรมการผลิตปุ๋ยโปแตชภายในประเทศ การแลกเปลี่ยนปุ๋ยไนโตรเจนและโปแตชกับประเทศมาเลเซีย การหาแหล่งแม่ปุ๋ยนำเข้าจากประเทศอื่นที่นอกเหนือจากที่เคยนำเข้าเดิม ทั้งนี้ได้จัดตั้งคณะทำงานร่วมระหว่างกระทรวงเกษตรฯ กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงการต่างประเทศ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) และหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง เพื่อดูแลการขับเคลื่อนงานดังกล่าว

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'ภูมิธรรม' ยันยังไม่เลิก 'ไร่ละพัน' แจง 'ปุ๋ยคนละครึ่ง' หวังช่วยชาวนาอีกทาง

'ภูมิธรรม' แจงไม่ได้ยกเลิกไร่ละพัน พร้อมดึงกลับมาใช้ถ้าราคาข้าวตก ย้ำคนละส่วนกับปุ๋ยคนละครึ่ง ชี้ สส. รุมค้าน เหตุไม่เข้าใจถ่องแท้ไปฟังเกษตรกรมา

ครม. เห็นชอบโครงการประกันภัยข้าวนาปี ครอบคลุม 21 ล้านไร่ วงเงิน 2.3 พันล้านบาท

นายชัย วัชรงค์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงผลการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า ครม.มีมติเห็นชอบโครงการประกันภัยข้าวนาปี ปีการผลิต 2567 ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) เสนอ ดังนี้ ให้ความเห็นชอบการดำเนินโครงการประกันภัยข้าวนาปี

รัฐบาลโต้ตัวเลขเปิดโรงงานใหม่ สูงกว่าปิดกิจการถึง 73%

'โฆษกรัฐบาล' แจงข่าวโรงงานปิดกิจการเพิ่มขึ้น ยันตัวเลขเปิดสูงกว่าที่ปิดถึง 73% ย้ำรัฐบาลให้ความสำคัญกับความอยู่รอดของผู้ประกอบการ

ผวากระทบฐานเสียงรัฐบาล! หลังครม.เลิกไ่ร่ละ 1 พัน ดัน 'ปุ๋ยคนละครึ่ง' แทน

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังจาการประชุมครม.ได้หารือวาระต่างๆเสร็จสิ้นแล้ว นายกรัฐมนตรี ได้มีการสอบถามขึ้นมากลางวงประชุม ถึงกรณีโครงการของรัฐบาลที่จะช่วยเหลือชาวนาผ่านโครงการปุ๋ยคน