เปิด 2 วิกฤตปัญหารุมเร้า ทำคนไทยเสียศูนย์ควบคุมอารมณ์ไม่ได้

25 ก.ย.2565 – สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ได้สำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 1,138 คน ระหว่างวันที่ 17-22 กันยายน 2565   คนไทยกับการควบคุมอารมณ์ พบว่า เมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงและต้องเผชิญกับปัญหาต่าง ๆ ประชาชนมักจะทำใจยอมรับ ร้อยละ 51.00 เมื่อมีปัญหาเข้ามารุมเร้า ประชาชนควบคุมอารมณ์ได้บ้าง ร้อยละ 59.91  เรื่องที่มักทำให้ควบคุมอารมณ์ไม่ได้ คือ การมีปัญหาสุขภาพ โรคภัยไข้เจ็บ ไม่สบาย ร้อยละ 51.62 รองลงมา คือ ปัญหาเรื่องเงิน ร้อยละ 43.14

เวลาที่เครียด โกรธ โมโห สิ่งที่จะทำ คือ ตั้งสติ ร้อยละ 51.58 รองลงมาคือ ยอมรับและเผชิญกับความเป็นจริง ร้อยละ 48.42 จากข่าวความรุนแรงในสังคมปัจจุบัน ประชาชนมองว่าน่าจะเกิดจากการถูกกดดัน เครียด ขาดสติ  ไม่สามารถควบคุมอารมณ์ตนเองได้ ร้อยละ 41.97 รองลงมาคือมองว่าสุขภาพจิตของคนในสังคมแย่ลง ร้อยละ 22.58 และจากปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในปัจจุบันมองว่าตนเองยังทนได้ ร้อยละ 73.37   

น.ส.พรพรรณ บัวทอง นักวิจัย สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต กล่าวว่า โควิด-19 ที่กินเวลายาวนานกระทบกับชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน ปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นส่งผลทั้งสุขภาพกายและสุขภาพใจของคนไทย โดยจากผลโพล พบว่าเมื่อมีปัญหาคนส่วนใหญ่จะ “ทำใจยอมรับ” และยังอยู่ในสภาพที่ “ทนได้” เมื่อเครียด   ก็พยายาม “ตั้งสติ” และจะควบคุมอารมณ์ตนเองให้ได้ แต่ก็มีกลุ่มที่บอกว่าตนเองนั้น “ควบคุมอารมณ์ไม่ได้” สอดคล้องกับข่าวความรุนแรงที่พบเห็นกันมากขึ้น ส่วนหนึ่งอาจมาจากการที่ต้องทนอยู่กับปัญหา กดดัน เครียด และขาดสติ ดังนั้นการดูแลสุขภาพใจจึงเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ต้องให้ความสำคัญ ช่วยกันดูแล และสร้างภูมิคุ้มกันทางใจให้แก่ตนเองและคนใกล้ตัวในช่วงวิกฤติเช่นนี้

ด้านผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณัชนก นุกิจ รองคณบดีโรงเรียนการเรือน มหาวิทยาลัยสวนดุสิต กล่าวว่า จากผลการจัดสนทนากลุ่ม (Focus Group) พบว่า จากสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วส่งผลให้คนไทยต้องพบกับความเครียด ปัญหาสุขภาพจิตและการฆ่าตัวตาย ซึ่งมีสาเหตุมาจากการเจ็บป่วย ปัญหาสุขภาพ การเงิน   การจัดการเวลาและสัมพันธภาพ ซึ่งทักษะชีวิต (Life Skill) ที่สำคัญและควรมีเพื่อความอยู่รอด ไม่ว่าคนเจเนอเรชั่นไหน อายุเท่าไหร่ ก็จำเป็นต้องเรียนรู้และฝึกฝน คือ 1) EQ (Emotional Quotient) ความฉลาดทางด้านอารมณ์ 2) AQ (Adversity Quotient) ความฉลาดในการรับมือกับปัญหา 3) RQ (Resilience Quotient) ความสามารถทางอารมณ์และจิตใจในการปรับตัวและฟื้นตัวกลับสู่ภาวะปกติภายหลังที่พบกับวิกฤติ

“นอกจากนี้ในปัจจุบันการเจริญสติ (Mindfulness) เป็นจิตวิทยากระแสใหม่ซึ่งอาศัยหลักการพักด้วยการฝึกสมาธิ ทำงานด้วยการฝึกสติ มีการนำมาใช้อย่างแพร่หลายในด้านจิตบำบัด  การพัฒนาคน การสร้างสุขด้วยสติในองค์กร ซึ่งหากเราได้รับการพัฒนาสติและสมาธิแล้วก็จะตั้งรับกับปัญหาและสามารถแก้ไขปัญหาที่เผชิญได้อย่างมีประสิทธิภาพซึ่งเป็นแนวทางหนึ่งในการเอาตัวรอดจากวิกฤติที่เกิดขึ้น” ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณัชนก ระบุ.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ศาลรธน.มติ 6 ต่อ 3 ชี้โทษอาญา ตาม พ.ร.บ.เช็คไม่ขัดรัฐธรรมนูญ

ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญมีมติเสียงข้างมาก 6 ต่อ 3 วินิจฉัย ว่าพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คปี 2534 มาตรา 4 วรรคสอง เฉพาะในส่วนโทษทางอาญา ไม่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ

ดัชนีการเมืองไทยร่วง! ปากท้องฉุดเรตติ้งรัฐบาล 'เศรษฐา' ตามหลัง 'พิธา'

วนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นประชาชนทั่วประเทศ เรื่อง “ดัชนีการเมืองไทย ประจำเดือนมิถุนายน 2567” กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 2,367 คน

'ดุสิตโพล' เผยคนไทยเบื่อความขัดแย้งในสตช.

สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นประชาชนทั่วประเทศ เรื่อง “หัวอกของคนเสพข่าวความขัดแย้งในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ” กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 1,040 คน (สำรวจทางออนไลน์และภาคสนาม) ระหว่างวันที่ 25-28 มิถุนายน 2567