'ชัชชาติ' เผยนั่งอยู่ในออฟฟิศไม่เห็นน้ำท่วมซอยย่อย ต้องลงพื้นที่เห็นปัญหามากขึ้น

23 ก.ย.2565 - ที่เขตบางรัก นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าฯกทม. ให้สัมภาษณ์กรณีกรมอุทกศาสตร์ มีการแจ้งเตือนเรื่องน้ำทะเลหนุนสูงช่วงวันที่ 22-26 ก.ย. ทางกทม.มีการเตรียมพร้อมรับมืออย่างไรว่า จริงๆแล้วเรื่องน้ำทะเลหนุนเป็นตัวประกอบกับน้ำเหนือที่ปล่อยมา และจะทำให้ระดับน้ำของแม่น้ำเจ้าพระยาสูงขึ้น เพราะฉะนั้นจุดอ่อนสำคัญที่สุดคือ เขื่อนริมน้ำ และจุดฟันหลอต่างๆ แต่ได้มีการมอนิเตอร์อยู่ตลอด ซึ่งจะต้องดูฐานน้ำคือน้ำทะเลหนุนและน้ำเหนือที่ปล่อยออกมา
 
ทั้งนี้ น้ำเหนือที่ปล่อยมาที่บางไทรยังไม่ได้วิกฤต คงต้องดู 2-3 วัน  ช่วงใกล้ๆปลายเดือน แต่ต้องรอดูตลอด และยืนยันว่าตัวฟันหลอคือจุดอ่อน ซึ่งต้องกำชับอีกครั้งหนึ่ง แต่ผอ.เขตทุกคนรู้แล้วว่าจุดอ่อนอยู่ที่ตรงไหน จะแก้ตรงไหน แต่สิ่งหนึ่งที่อาจจะมีปัญหาคือ น้ำขึ้นสูงทำให้การสูบน้ำออกอาจจะทำให้ช้าและยากเล็กน้อยเพราะหัวจุ่มอยู่ใต้น้ำ เมื่อมีน้ำเป็นแรงดันจะทำให้สูบยากขึ้น จึงต้องเตรียมตัวปั๊มน้ำสูบเพิ่มตามสถานี เช่น สถานีสูบน้ำพระโขนง ที่เป็นสถานีหลัก 
 
นายชัชชาติ กล่าวว่า เมื่อวันที่ 22 ก.ย. ฝนตกในเขตกรุงเทพฯชั้นใน ซึ่งรวมปริมาณน้ำฝน 24 ชั่วโมง ราว 100 มิลลิเมตร ก็มีการระบายได้เร็วหมด ซึ่งเมื่อช่วงเช้าที่ผ่านมา ได้มีการวิ่งตรวจแถวราชเทวี โดยส่วนใหญ่ยังอยู่ในภาพที่ไม่น่ากลัว และระดับน้ำในคลองเราก็ได้พร่องออกหมด แต่ที่เป็นห่วงคือด้านฝั่งธนบุรี ซึ่งได้ไปดูที่คลองราชมนตรีก็ได้มีการพร่องน้ำเร็วเพราะอยู่ติดทะเล แต่ก็ยังมีพื้นที่ย่อยๆเช่น ซอยเทียนทะเล 26 ซึ่งเป็นที่ต่ำจริงๆ ต้องช่วยในการดูดน้ำออก ฉะนั้นเราพร้อมเต็มที่และต้องรอดูสถานการณ์
 
“มีข้อดีอยู่อย่างคือที่ผ่านมาจะทำให้เราเห็นปัญหาจุดต่างๆ เพราะฉะนั้นจะมีการแก้ปัญหาและมีการจัดลำดับความสำคัญได้เร็วขึ้น โดยข้อมูลพวกนี้บางครั้งอยู่ที่ส่วนกลางจะไม่เห็น นั่งอยู่ในออฟฟิศไม่เห็นหรอกว่าน้ำท่วมที่ซอยย่อย เพราะเรามีเซนเซอร์เฉพาะที่ถนนหลัก ซึ่งการลงพื้นที่จะทำให้เราเห็นปัญหามากขึ้น ” นายชัชชาติ กล่าว
 

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

โฆษกศปช. เผยกรณี 'น้ำผุด' อ.เชียงดาว มอบหน่วยงานลงพื้นที่ศึกษาแนวทางใช้ประโยชน์

นายจิรายุ ห่วงทรัพย์ ที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรีและโฆษกศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย วาตภัย และดินโคลนถล่ม (ศปช.) เปิดเผยว่า ตามที่ ศปช. ได้เคยประกาศแจ้งเตือนให้ประชาชนในพื้นที่ภาคใต้เฝ้าระวังฝนตกหนักในพื้นที่ระหว่างวันที่ 20-24 พ.ย.ไปแล้วก่อนหน้านี้

อากาศเปลี่ยนแปลง ‘กทม.’ อุณหภูมิลดลง ‘เหนือ-อีสาน’ หนาวเย็น ‘ภาคใต้’ ฝนตก

พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้า บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางจากประเทศจีนแผ่ปกคลุมประเทศไทยตอนบน และทะเลจีนใต้แล้ว

พยากรณ์ 10 วันล่วงหน้า ตั้งแต่ 18 พ.ย. อากาศเริ่มเย็นลงอีกครั้ง

กรมอุตุนิยมวิทยา อัปเดตผลการพยากรณ์ฝนสะสมรายวัน (ทุกๆ 24 ชม. : (นับตั้งแต่ 07.00 น. ถึง 07.00 น.วันรุ่งขึ้น) และลมที่ระดับ 925hPa (750 ม.) 10 วันล่วงหน้า ระหว่าง 15 -24 พ.ย. 67