23 ก.ย. 2565 – เมื่อเวลา 10.15 น. ที่ศาลภาษีอากร ศูนย์ราชการ ถนนเเจ้งวัฒนะ องค์คณะผู้พิพากษาศาลฎีกาแผนกคดีภาษีอากร อ่านคำพิพากษาศาลฎีกา โดยวิธีถ่ายทอดภาพและเสียงผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ไปยังศาลภาษีอากรกลางในคดีที่ บริษัทอีซูซุมอเตอร์ (ประเทศไทย) จำกัดเป็นโจทก์ยื่นฟ้อง กรมศุลกากร และกรมสรรพากร เป็นจำเลยที่ 1 – 2 รวม 4 คดี คิดเป็นทุนทรัพย์รวม 1.8 พันล้านบาทเศษ
คดีทั้งสี่เรื่องโจทก์ฟ้องว่า ระหว่าง ปี 2542 – 2545 โจทก์นำเข้าเข้าชุดเกียร์รถยนต์จากประเทศฟิลิปปินส์ โดยใช้สิทธิลดอัตราอากร เหลือร้อยละ 5 ตามประกาศกระทรวงการคลังที่ ศก. 17/2541(ครอ.1) และตามความตกลงพื้นฐานว่า ด้วยโครงการความร่วมมือทางอุตสาหกรรมของอาเซียน (AICO) แต่เจ้าพนักงานประเมินและ คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์เห็นว่า โจทก์นำชุดเกียร์รถยนต์ไปผลิตหรือประกอบเป็นรถบรรทุกเล็ก ไม่ตรงกับรุ่นของรถยนต์ตามที่ระบุไว้ในใบรับรองผลิตภัณฑ์ จึงไม่ได้รับสิทธิลดอัตราอากรตามโครงการ AICO และต้องเสียอัตราอากรร้อยละ 42 โจทก์ขอให้เพิกถอนการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์
จำเลยทั้งสองให้การว่า การประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ชอบด้วยกฎหมายแล้ว
ศาลภาษีอากรกลางพิพากษาให้เพิกถอนการประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษพิพากษายืน
โจทก์และจำเลยทั้งสองฎีกาโดยได้รับอนุญาตจากศาลฎีกา
ศาลฎีกาแผนกคดีภาษีอากร เห็นว่า ผลิตภัณฑ์ของโจทก์ที่ได้รับสิทธิประโยชน์ตามโครงการ AICO ตามใบรับรองผลิตภัณฑ์ คือ ชุดเกียร์รถยนต์ ซึ่งหมายถึง ชื่อของชุดเกียร์ หมายเลขของชุดเกียร์ ยี่ห้อของ ชุดเกียร์ และรุ่นของชุดเกียร์ ส่วนรุ่นของรถยนต์ที่ระบุไว้ในใบรับรองผลิตภัณฑ์เป็นเพียงรหัสรุ่นของ รถยนต์ที่จะนำชุดเกียร์ไปประกอบ ซึ่งไม่ใช่สาระสำคัญในการได้รับสิทธิลดอัตราอากรตามประกาศ กระทรวงการคลังที่ ศก.17/2551(ครอ.1) โจทก์จึงได้รับสิทธิลดอัตราอากรเหลือร้อยละ 5 ภายใต้ โครงการ AICO และประกาศกระทรวงการคลังดังกล่าว
ส่วนที่จำเลยทั้งสองฎีกาว่า โจทก์นำเข้าชุดเกียร์ น้อยกว่าที่ได้รับอนุมัติ บริษัทอีซูซุ เอ็นยิ่น แมนูแฟคเจอริ่ง (ประเทศไทย) จำกัด ไม่ส่งออกเครื่องยนต์ตาม ข้อตกลงที่ได้รับอนุมัติให้เข้าร่วมโครงการ AICO และโจทก์ขาดคุณสมบัติเข้าร่วมโครงการ AICO เป็นการเพิ่มเติมประเด็นอื่นขึ้นใหม่ในชั้นศาล ซึ่งเป็นข้อเท็จจริงที่เพิ่งยกขึ้นมาใหม่นอกเหนือจากที่ เจ้าพนักงานประเมินได้ประเมินไว้เพื่อให้โจทก์ต้องรับผิด เท่ากับเป็นการขยายระยะเวลาการประเมิน และประเด็นการประเมินโดยไม่มีที่สิ้นสุดและไม่แน่นอน ไม่เป็นธรรมกับผู้ต้องเสียภาษีอากร และไม่ชอบด้วยหลักการประเมินและการอุทธรณ์การประเมิน ศาลไม่รับวินิจฉัย เมื่ออากรขาเข้าลดลงภาษีมูลค่าเพิ่มที่ โจทก์ต้องรับผิดตามการประเมินก็ต้องลดลงไปโดยผลของกฎหมายด้วย โจทก์จึงไม่ต้องรับผิดชำระค่าภาษีอากรตามการประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ พิพากษายืน.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
อีซูซุ เปิดตัวขุมพลังใหม่ 2.2 Ddi MAXFORCE พลังใหม่…กำหนดโลก
อีซูซุ กระตุ้นตลาดส่งท้ายปี 2567 ด้วยการเปิดตัวเครื่องยนต์ดีเซลแห่งอนาคต ใหม่! 2.2 Ddi MAXFORCE…The FORCE of FUTURE พลังใหม่…กำหนดโลก
อีซูซุ ร่วมกับ กรมการขนส่งทางบกจัด “โครงการสร้างนักขับรถมืออาชีพ ปีที่ 2”
อีซูซุ ในฐานะผู้นำวงการรถบรรทุกยอดขายอันดับ 1 ของเมืองไทย ตอกย้ำการเป็นเจ้าตลาดรถบรรทุกเพื่อการพาณิชย์ โดย บริษัท ตรีเพชรอีซูซุเซลส์ จำกัด
อีซูซุส่ง Isuzu King of Trucks Euro5 Max นำทัพค้นหา “อีซูซุยอดนักขับมือทอง”
บริษัท ตรีเพชรอีซูซุเซลส์ จำกัด โดยการสนับสนุนอย่างเป็นทางการจาก กรมการขนส่งทางบก จัดการแข่งขัน “อีซูซุยอดนักขับมือทอง”
มูลนิธิกลุ่มอีซูซุมอบเงินสนับสนุนกว่า 2 ล้านบาท สานต่อกิจกรรมเพื่อสาธารณประโยชน์
มร. ทาคาชิ ฮาตะ ประธานกรรมการมูลนิธิกลุ่มอีซูซุ และกรรมการผู้จัดการ บริษัท ตรีเพชรอีซูซุเซลส์ จำกัด ยึดมั่นในวิสัยทัศน์องค์กร คือ
กิจกรรมกีฬาสามัคคีอีซูซุ - สื่อมวลชน ประจำปี 2567
บรรยากาศสุดคึกคักกับกิจกรรม Isuzu – Press Sports Day 2024 จัดโดย บริษัท ตรีเพชรอีซูซุเซลส์ จำกัด ในธีม “The Next Peak Match”
MU-X “THE NEXT PEAK” Press Trip แอ่วเหนือสุดพีค เส้นทางเชียงใหม่-เชียงราย
อีซูซุจัดทริปพาสื่อมวลชนแอ่วเหนือบนเส้นทางเชียงใหม่ - เชียงราย ไปกับรถมิว-เอ็กซ์ “เดอะ เน็คซ์พีค” รถยนต์อเนกประสงค์ระดับหรูรุ่นใหม่ล่าสุด