19 ก.ย.2565-นายชยันต์ เมืองสง รองเลขาธิการสำนักงานน้ำแห่งชาติ ลงนามประกาศศูนย์บริหารจัดการน้ำส่วนหน้าในพื้นที่เสี่ยงอุทกภัย ภาคตะวันออกเฉียงเหนือกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ฉบับที่ 2/2565 เรื่อง เฝ้าระวังระดับน้ำในลุ่มน้ำชี-มูล ระบุว่า ตามที่ศูนย์บริหารจัดการน้ำส่วนหน้าในพื้นที่เสี่ยงอุทกภัย ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้ประกาศเฝ้าระวังระดับน้ำบริเวณแม่น้ำมูล ในช่วงวันที่ 13 – 18 กันยายน 2565 และติดตามสถานการณ์น้ำบริเวณลุ่มน้ำมูลตอนบน รวมถึงคาดการณ์ของกรมอุตุนิยมวิทยาและสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) ในช่วงวันที่ 18 – 24 กันยายน 2565 บริเวณลุ่มน้ำมูลตอนบนจะมีฝนตกหนัก ประกอบกับพื้นที่น้ำท่วมเอ่อล้นตลิ่งก่อนหน้านี้ขยายพื้นที่เพิ่มมากขึ้น และอ่างเก็บน้ำลำตะคอง ลำพระเพลิง และมูลบน มีปริมาณน้ำสูงกว่าเกณฑ์กักเก็บน้ำสูงสุด
ศูนย์บริหารจัดการน้ำส่วนหน้าฯ ประสานให้กรมชลประทานพิจารณาปรับเพิ่มการระบายน้ำแบบขั้นบันไดเพื่อลดผลกระทบด้านท้ายน้ำ คาดการณ์ว่าจะมีปริมาณน้ำไหลผ่านเขื่อนราษีไศล อยู่ในเกณฑ์ 1,400 – 1,500 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที และมวลน้ำจะไหลไปรวมกับแม่น้ำชีและลำน้ำสาขา ซึ่งจะทำให้มีปริมาณน้ำไหลผ่านอำเภอเมืองอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี อยู่ในเกณฑ์ 2,600 – 2,800 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นประมาณ 0.40 – 0.60 เมตร โดยอาจส่งผลกระทบต่อพื้นที่ลุ่มต่ำอาจเกิดน้ำท่วมขังและล้นตลิ่ง
จึงขอให้เฝ้าระวังพื้นที่เสี่ยง ตั้งแต่วันที่ 21 ก.ย.2565 ดังนี้ 1. ลุ่มน้ำชี 1.1 จังหวัดกาฬสินธุ์ บริเวณอำเภอกมลาไสย กุฉินารายณ์ ฆ้องชัย เมืองกาฬสินธุ์ ยางตลาด และร่องคำ 1.2 จังหวัดขอนแก่น บริเวณอำเภอโคกโพธิ์ไชย ชนบท บ้านแฮด พระยืน มัญจาคีรี แวงน้อย และแวงใหญ่ 1.3 จังหวัดชัยภูมิ บริเวณอำเภอคอนสวรรค์ เนินสง่า และเมืองชัยภูมิ 1.4 จังหวัดนครราชสีมา บริเวณอำเภอแก้งสนามนาง และบ้านเหลื่อม 1.5 จังหวัดมหาสารคาม บริเวณอำเภอกันทรวิชัย โกสุมพิสัย และเมืองมหาสารคาม 1.6 จังหวัดยโสธร บริเวณอำเภอค้อวัง คำเขื่อนแก้ว มหาชนะชัย และเมืองยโสธร 1.7 จังหวัดร้อยเอ็ด บริเวณอำเภอจังหาร เชียงขวัญ ทุ่งเขาหลวง ธวัชบุรี พนมไพร โพธิ์ชัย โพนทอง เมยวดี เมืองสรวง สุวรรณภูมิ เสลภูมิ และอาจสามารถ 1.8 จังหวัดศรีสะเกษ บริเวณอำเภอกันทรารมย์ 1.9 จังหวัดอุบลราชธานี บริเวณอำเภอเขื่องใน และเมืองอุบลราชธานี
2. ลุ่มน้ำมูล 2.1 จังหวัดนครราชสีมา บริเวณอำเภอชุมพวง ลำทะเมนชัย และเมืองยาง 2.2 จังหวัดบุรีรัมย์ บริเวณอำเภอแคนดง และสตึก 2.3 จังหวัดสุรินทร์ บริเวณอำเภอชุมพลบุรี ท่าตูม และรัตนบุรี 2.4 จังหวัดศรีสะเกษ บริเวณอำเภอบึงบูรพ์ ห้วยทับทัน ราษีไศล เมืองศรีสะเกษ และกันทรารมย์ 2.5 จังหวัดอุบลราชธานี บริเวณอำเภอเมืองอุบลราชธานี วารินชำราบ เขื่องใน และสว่างวีระวงศ์
ในการนี้ เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมรับมือ ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องโปรดดำเนินการ ดังนี้ 1. ติดตามสภาพอากาศและสภาพน้ำอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะพื้นที่ที่มีฝนตกสะสมมากกว่า 90 มิลลิเมตร ในช่วงเวลา 24 ชั่วโมง และพื้นที่จุดเสี่ยงที่เคยเกิดน้ำท่วมขังอยู่เป็นประจำ 2. ติดตาม ตรวจสอบ ซ่อมแซม แนวคันบริเวณริมแม่น้ำ และเร่งกำจัดสิ่งกีดขวางทางน้ำ พร้อมวางแผนการบริหารจัดการน้ำให้เหมาะสม โดยปรับแผนระบายน้ำจากเขื่อนและประตูระบายน้ำ เพื่อพร่องน้ำและบริหารพื้นที่ลุ่มต่ำให้เป็นแก้มลิงหน่วงน้ำ เร่งระบายน้ำในลำน้ำ แม่น้ำ เพื่อรองรับน้ำหลากจากพื้นที่ตอนบน ลดผลกระทบความรุนแรงของอุทกภัย รวมทั้งจัดจราจรน้ำในแม่น้ำชี และแม่น้ำมูล เพื่อลดผลกระทบจากมวลน้ำที่จะไหลหลากมายังบริเวณแม่น้ำมูล จังหวัดอุบลราชธานี
3. เตรียมแผนรับสถานการณ์น้ำหลาก เตรียมความพร้อมบุคลากร เครื่องจักรเครื่องมือ รวมถึงความพร้อมของระบบสื่อสารสำรอง เพื่อบูรณาการความพร้อมให้ความช่วยเหลือได้ทันที 4. ประชาสัมพันธ์สถานการณ์น้ำ และแจ้งเตือนล่วงหน้า ให้ประชาชนที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบ เตรียมพร้อมในการอพยพได้ทันท่วงทีหากเกิดสถานการณ์
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ประตูระบายน้ำศรีสองรักอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ความยั่งยืนของการพัฒนาลุ่มน้ำเลย
ลุ่มน้ำเลย เป็นลุ่มน้ำสาขาของลุ่มน้ำโขงตะวันออกเฉียงเหนือ มีแม่น้ำเลยเป็นแม่น้ำสายหลัก ที่มีต้นน้ำอมาจากอำเภอภูหลวง ซึ่งเป็นพื้นที่สูงลาดชัน
เอาแล้ว! เขื่อนเจ้าพระยากลับมาเพิ่มการระบายน้ำอีกระลอก
เขื่อนเจ้าพระยากลับมาเพิ่มระบายน้ำขึ้นอีกรอบ หลังฝนตกทำให้แม่น้ำเจ้าพระยา-แม่น้ำสะแกกรัง เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง
ตอนบนของประเทศ ฝนลดลง ชป.เดินหน้าเก็บกักน้ำปลายฤดูฝน สำรองไว้ใช้แล้งหน้าให้มากที่สุด
เมื่อวันนี้ 15 ต.ค. 67 ที่ห้องประชุมศูนย์ปฏิบัติการน้ำอัจฉริยะ (swoc) อาคาร 99 ปี หม่อมหลวงชูชาติ กำกู กรมชลประทาน ถนนสามเสน ผศ.ดร.สิตางศ์ พิสัยหล้า ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ดร.ธเนศร์ สมบูรณ์ ผู้อำนวยการสำนักบริหารจัดการน้ำและอุทกวิทยา
ศปช. อัปเดตสถานการณ์น้ำทั่วไทย ภาคกลางแนวโน้มดี คืบหน้าเยียวยา-ฟื้นฟูพื้นที่อุทกภัย
นายจิรายุ ห่วงทรัพย์ ที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรี และโฆษกศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย วาตภัย และดินโคลนถล่ม หรือ ศปช. และ ศปช. ส่วนหน้าจังหวัดเชียงราย เปิดเผยว่า จากปริมาณฝนที่ยังตกหนักถึงหนักมากในพื้นที่ภาคใต้ในช่วงนี้
น้ำทะเลหนุน! กรมชลฯ เฝ้าระวังระดับน้ำ 7 พื้นที่เสี่ยงลุ่มเจ้าพระยา
กรมชลประทาน คาดการณ์ระดับน้ำลุ่มเจ้าพระยาตอนล่าง 3 วันล่วงหน้า (13-15 ต.ค. 67)