18 ก.ย.2565 – ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจของประชาชน เรื่อง “การแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการ 2565” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 12-14 กันยายน 2565 จากประชาชนที่เป็นข้าราชการ พนักงาน ลูกจ้างของรัฐ และพนักงานรัฐวิสาหกิจ อายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา และรายได้ ทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,310 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับการแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการ และความเป็นธรรมในการแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการ การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่างโดยใช้ความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ “นิด้าโพล” สุ่มตัวอย่างด้วยวิธีแบบง่าย (Simple Random Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่น ร้อยละ 97.0
จากการสำรวจเมื่อถามถึงความคิดเห็นต่อองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดในการพิจารณาการแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการ พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 35.04 ระบุว่า ความสามารถและประสบการณ์ที่เหมาะสมกับตำแหน่งใหม่ รองลงมา ร้อยละ 29.85 ระบุว่า ความสามารถและผลงาน ที่ผ่านมา ร้อยละ 13.36 ระบุว่า ความอาวุโสในตำแหน่ง ร้อยละ 8.47 ระบุว่า วิสัยทัศน์ในการทำงานตำแหน่งใหม่ ร้อยละ 7.94 ระบุว่า ความรู้ (เช่น ระดับการศึกษา การเข้ารับการอบรมในหลักสูตรต่าง ๆ เป็นต้น) ร้อยละ 3.74 ระบุว่า ระเบียบ วินัยและความประพฤติที่ผ่านมา ร้อยละ 1.45 ระบุอื่น ๆ ได้แก่ การใช้ระบบอุปถัมภ์ ระบบเส้นสาย และร้อยละ 0.15 ระบุว่า ไม่มีความเห็น/ไม่แน่ใจ/ไม่สนใจ
ด้านความคิดเห็นต่อความเป็นธรรมในการพิจารณาการแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการ พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 39.85 ระบุว่า ค่อนข้างมีความเป็นธรรม รองลงมา ร้อยละ 34.12 ระบุว่า ไม่ค่อยมีความเป็นธรรม ร้อยละ 12.29 ระบุว่า มีความเป็นธรรมมาก ร้อยละ 11.83 ระบุว่า ไม่มีความเป็นธรรมเลย และร้อยละ 1.91 ระบุว่า ไม่มีความเห็น/ไม่แน่ใจ/ไม่สนใจ
สำหรับความคิดเห็นต่อการใช้ระบบอุปถัมภ์หรือเส้นสายในการพิจารณาการแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการในหน่วยงาน พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 34.58 ระบุว่า มีการใช้ระบบอุปถัมภ์หรือเส้นสายค่อนข้างบ่อย รองลงมา ร้อยละ 25.35 ระบุว่า ไม่มีการใช้ระบบอุปถัมภ์หรือเส้นสายเลย ร้อยละ 23.13 ระบุว่า ไม่ค่อยมีการใช้ระบบอุปถัมภ์หรือเส้นสาย ร้อยละ 15.57 ระบุว่า มีการใช้ระบบอุปถัมภ์หรือเส้นสายอย่างมาก และร้อยละ 1.37 ระบุว่า ไม่มีความเห็น/ไม่แน่ใจ/ไม่สนใจ
เมื่อถามถึงความคิดเห็นต่อการใช้ระบบแลกเปลี่ยนผลประโยชน์ในการพิจารณาการแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการในหน่วยงาน พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 43.21 ระบุว่า ไม่มีการใช้ระบบแลกเปลี่ยนผลประโยชน์เลย รองลงมา ร้อยละ 23.74 ระบุว่า ไม่ค่อยมีการใช้ระบบแลกเปลี่ยนผลประโยชน์ ร้อยละ 19.69 ระบุว่า มีการใช้ระบบแลกเปลี่ยนผลประโยชน์ค่อนข้างบ่อย ร้อยละ 10.08 ระบุว่า มีการใช้ระบบแลกเปลี่ยนผลประโยชน์เป็นประจำ และร้อยละ 3.28 ระบุว่า ไม่มีความเห็น/ไม่แน่ใจ/ไม่สนใจ
ท้ายที่สุดเมื่อถามถึงความคิดเห็นต่อการดำเนินการหากไม่ได้รับความเป็นธรรมในการพิจารณาการแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการ พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 54.35 ระบุว่า จะใช้วิธีการอุทธรณ์ร้องไปตามขั้นตอนของระเบียบข้าราชการ รองลงมา ร้อยละ 26.34 ระบุว่า ไม่ทำอะไรเลย เพราะ ผู้บังคับบัญชาได้พิจารณามาแล้ว ไม่ได้คาดหวังเรื่องตำแหน่ง ยอมรับการเปลี่ยนแปลง ขณะที่บางส่วนระบุว่า ใกล้จะเกษียณอายุ ร้อยละ 6.72 ระบุว่า ฟ้องศาลปกครองทันที ร้อยละ 4.27 ระบุว่า ลาออก ร้อยละ 3.44 ระบุว่า ใช้ Social Network เป็นเครื่องมือในการเรียกร้อง ขอความเป็นธรรม ร้อยละ 2.06 ระบุว่า พยายามหาเส้นสายที่ใหญ่กว่าไปกดดันให้มีการเปลี่ยนแปลง ร้อยละ 1.75 ระบุว่า ฟ้องสื่อมวลชน ร้อยละ 0.31 ระบุว่าอื่น ๆ ได้แก่ ร้องเรียนต่อศูนย์ดำรงธรรม และขอโอนย้ายสถานที่ทำงาน และร้อยละ 0.76 ระบุว่า ไม่มีความเห็น/ไม่แน่ใจ/ไม่สนใจ
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
โพลชี้ ปี 67 คนเหนื่อยหน่าย ‘รายได้ต่ำ-เศรษฐกิจตก’
ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ หรือ นิด้า เปิดเผยผลการสำรวจ ของประชาชน เรื่อง “เหนื่อยหน่ายกับอะไรบ้าง ในปี 2567 ที่ผ่านมา”
คน กทม. เกินครึ่งไม่เห็นด้วยมาตรการเก็บค่าธรรมเนียมรถติด
นย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลการสำรวจ ของประชาชน เรื่อง “สองมาตรการใหม่ คน กทม. จะเอาไง” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 27-29 พฤศจิกายน 2567 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร กระจายระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ รวมจำนวนทั้งสิ้น 1,310 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับความคิดเห็นของคนกรุงเทพมหานคร หากมีการใช้มาตรการจัดเก็บค่าธรรมเนียมการเก็บขยะและค่าธรรมเนียมรถติด
ผลโพลสูสี คนอยากแก้ กับ ไม่อยากแก้ 'รธน.' มีใกล้เคียงกัน
ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลการสำรวจของประชาชน เรื่อง “ประชามติและการแก้ไขรัฐธรรมนูญ” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 2-3 ธันวาคม 2567 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ ทั่วประเทศ
‘เทพไท’ สะท้อนประสบการณ์ตรง ‘ยุบพรรค-ตัดสิทธิ์การเมือง’ ทำได้แค่ไหน
ในฐานะผู้มีประสบการณ์ตรง และถูกศาลอาญาพิพากษาตัดสิทธิ์ทางการเมือง 10 ปี จนถูกคณะกรรมการเลือกตั้ง(กกต.) ห้ามใช้สิทธิ์ลงคะแนนเลือกตั้งในทุกกรณี
เจอคุก! เตือนขายข้อมูลให้ 'คนจีน' เปิดร้านค้าออนไลน์
ตำรวจไซเบอร์ร่วม กสทช. ลุยค้นบ้านเช่าคนจีนย่านปากเกร็ดซื้อข้อมูลคนไทยสมัครทำร้านค้าออนไลน์ ฟันกำไรหลักแสน
'นิด้าโพล' ชี้ประชาชน กว่า 61% ไม่เห็นด้วยกับโทษยุบพรรค ในคดีล้มล้างการปกครอง
ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลการสำรวจของประชาชน เรื่อง “ยุบพรรค ตัดสิทธิทางการเมือง” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 25-26 พฤศจิกายน 2567 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ ทั่วประเทศ